A

 

A (เอ) ชื่อระดับเสียง เสียง A (ลา) ที่อยู่เหนือ C กลาง (โด) ซึ่งมีความถี่ 440 รอบต่อวินาที คือเสียงมาตรฐานสำหรับดนตรีและเครื่องดนตรี

A battuta (It. อะบาตูตา)
ในจังหวะคงที่แน่นอน ให้กลับมาปฏิบัติในจังหวะคงที่

A ber (Gr. อะแบร์)
แต่

A cappella (It. อะคาเปลลา)
เดิมหมายถึงเพลงโบสถ์ขับร้องหมู่สมัยโบราณซึ่งไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอ ปัจจุบันหมายถึง เพลงขับร้องหมู่ที่ไม่ใช้เครื่องดนตรีคลอ เช่นเดียวกันโดยไม่จำกัดว่าจะเป็นเพลงโบสถ์หรือไม่ มาจากคำภาษาอิตาเลี่ยนมีความหมายว่า chapel (หมายถึง โบสถ์)

A capricio (It. อะ คาปริโซ)
ให้เล่นอย่างอิสระ อย่างเพ้อฝัน อย่างลวดลายซับซ้อน

A tempo (It. อะ เทมโป)
ตามความเร็วเดิม ให้กลับไปที่อัตราความเร็วจังหวะปกติของเพลงนั้นหรือความเร็วเดิม

A volonta (It. อะโวโลนตา)
ไม่เคร่งครัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล่น

A volonte (Fr. อะโวลงเต้)
ไม่เคร่งครัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล่น

Accompaniment (แอ็คคอมปานิเม้นท์)
คือดนตรีคลอไปกับแนวทำนองที่เล่นโดยนักดนตรี หรือ ร้องโดยนักร้อง ดนตรีที่คลอนี้อาจใช้เปียโนหรือวง ออร์เคสตร้าหรือวงดนตรีประเภทอื่น ๆ ก็ได้ นอกจากนี้ยังหมายถึงดนตรีที่นักเปียโนใช้เล่นด้วยมือซ้าย (ตามปกติ) คลอประกอบทำนองที่เล่นด้วยมือขวา

Absolute music (แอ็บสลูท มิวสิก)
ดนตรีที่แต่งขึ้นเพื่อลักษณะทางดนตรีอย่างเดียว โดยไม่ได้เล่าเรื่องราว รายการต่าง ๆ ฯลฯ เป็นคำตรงข้ามกับคำว่าโปรแกรมมิวสิก (program music)


Abstract music (แอ็บแทร็คมิวสิก)
ความหมายคล้ายกับแอ็บสลูท มิวสิก

Accelerando (It. อัดเซเลรานโด)
เร็วขึ้น การเร่งหรือเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อย ๆ คำย่อคือ accel.

Accent (แอ็คเซ็นท)
การเน้นเสียง การย้ำ

Acciaccatura (It. อัดชะคะตูรา)
การประดับประดาทางดนตรี เป็นโน้ตที่ปฏิบัติอย่างรวดเร็วก่อนหน้าโน้ตตัวหลักแต่ไม่นับค่าอัตราของตัวโน้ตนี้มักเล่นไปด้วยกันกับโน้ตตัวหลักดังกล่าวอัดชะคะตูรามาจากคำอิตาเลียนมีความหมายว่า บด กระแทก

Accidental (แอ็กซิเดนทัล)
การเปลี่ยนแปลงในลักษณะครึ่งเสียงโครมาติก (chromatic) ที่ไม่พบ ในเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง

Accordion (แอ็กคอเดียน)
เครื่องดนตรีที่พกพาไปไหนมาไหนได้ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุง (bellows) สำหรับปั้มลมผ่านลิ้น (reeds) มีแผงคีย์บอร์ดตามลักษณะของเปียโน สำหรับการเล่นทำนองเพลง และปุ่มรูปกระดุมสำหรับการเล่นโน้ต เบส และคอร์ด มีลิ้น 2 ชุด ชนิดหนึ่งเล่นขณะที่ถุงลมถูกบังคับให้เปิด อีกชนิดหนึ่งเล่นเมื่อถุงลมถูกบังคับให้ปิด

Acoustics (อะคูสติก)
สวนศาสตร์ วิทยาศาสตร์แห่งเสียงหรือเสียงที่เกิดธรรมชาติโดยปราศจากไฟฟ้า วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเสียง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดเสียง,การส่งผ่านของเสียง,การผันแปรของเสียงธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ของเสียงดนตรีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงและเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรี

Adagio (It. อะดาจิโอ)
อย่างเชื่องช้าอย่างสบายอารมณ์ ช้ากว่าอันดานเต้แต่เร็วกว่าลาโก

Ad libitum (L. แอ็ดลิบิตุม)
ตามใจผู้เล่น หมายความว่านักแสดงอาจจะปฏิบัติ ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงจังหวะ
2. เพิ่มหรือลดแนวของการร้องหรือแนวของเครื่องดนตรีแนวใดแนวหนึ่งก็ได้
3. เพิ่มหรือลดข้อความทางดนตรี ซึ่งมักจะเป็นส่วนคาเดนซา (cadenza)
4. เพิ่มส่วนคาเดนซา


 

 

Adapted (อะแด็ปท์)
ดนตรีที่ดัดแปลงให้เข้ากับงานเช่นดนตรีที่เขียนสำหรับวงออร์เคสตร้านำมาเขียนเสียใหม่สำหรับเปียโน ดนตรี สำหรับเปียโนนำมาเขียนให้ไวโอลินเล่น หรือที่เขียนไว้สำหรับเครื่องดนตรีก็เขียนใหม่ให้คนร้อง ทั้งนี้ทำนองเพลงมิได้เปลี่ยนไป

Adaptation (อะแด็ปเตชั่น)
การเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ของบทประพันธ์เพลงมาตรฐานบทหนึ่ง

Affabile (It. อะฟาบิเล)
ในลักษณะยินดี เต็มใจและงามสง่า

Affettuosamente (It. อะเฟตตูโอซาเมนเต)
ด้วยความรัก ด้วยความถนุถนอม

Affettuoso (It. อะเฟตตูโอโส)
ด้วยอารมณ์อบอุ่น รักใคร่

Affrettando (It. อัฟเฟร็ตตานโด)
เร็วขึ้น ตื่นเต้น

Affrettoso (It. อัฟเฟร็ตโตโซ)
เร่งให้เร็วขึ้น

Agevole (It. อะเจโวเล)
ตามสบาย ง่าย ๆ เรียบ ๆ

Agilmente (It. อะจีลเมนเต)
อย่างปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา

Agitato (It. อะกิตาโต)
ตื่นเต้น เร้าใจ เร่าร้อน

Agrements (Fr. อะเกรมองต์)
การประดับประดาทางดนตรี

Aimable (Fr. เอมาเบลอ)
พอใจ

Air (แอร์)
ทำนอง บทเพลงร้อง

Aisement (Fr. เอซมอง)
ง่าย ๆ สบาย ๆ

Alberti bass (อัลแบร์ติ เบส)
รูปแบบการเดินแนวเบสจากโบรคเคนคอร์ด (broken chords) อัลแบร์ติเบส มาจาก ชื่อนักแต่งเพลงที่มีนามว่า ดอเมนิโก อัลแบร์ติ (เกิดปี ค.ศ.1710) ซึ่งใช้รูปแบบการเดินเบสในบทเพลงโซนาตาของเขา

Al fine (It. อัล ฟิเน)
ไปสู่ส่วนจบของเพลง

Alla (It. อัลลา)
ไปยัง, ณ ที่,ในลีลาของ.. ,ตามแบบฉบับของ

Alla breve (It. อัลลา เบรเว)
หมายถึงเครื่องหมายกำหนดจังหวะ g ; มีจังหวะนับสองจังหวะในแต่ละห้องโดยมีโน้ตตัวขาวนับเป็นหนึ่งจังหวะ อัลลา เบรเว

Alla marcia (It. อัลลา มาร์เซีย)
ในแบบฉบับของเพลงเดินแถว

Alla militare (It. อัลลา มิลิตาเร)
ในแบบฉบับของทหาร

Allargando (It. อัลลาร์กานโด)
ช้าลงตามลำดับ กว้างขึ้น มักประกอบเข้ากับคำว่าเครเซนโด ( เสียงค่อย ๆ ดังขึ้น ) คำย่อคือ allarg

Alla russa (It. อัลลา รูสซา)
ในแบบฉบับของรัสเซีย

Alla turca (It. อัลลา ตูรกา)
ในแบบฉบับของชาวเตอร์ค ขบวนสุดท้ายของโซนาตาในคีย์เอ (เคอเชิล 331) ของโมสาร์ท ซึ่งเขียนไว้ว่า "Alla turca"

Alla zingara (It. อัลลา ซิงการา)
ในแบบฉบับของชาวยิบซี

Allargando (It. อัลลาร์กานโด)
ช้าลงทีละน้อย

Allegretto (It. อัลเลเกรทโต)
อย่างมีชีวิตชีวา เร็วกว่าอันดานเต แต่ช้ากว่าอัลเลโกร

Allegrissimo (It. อัลเลกริสซิโม)
เร็วมาก

Allegro (It. อัลเลโกร)
อย่างมีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง เร็วกว่าอัลเลเกรทโต แต่ช้ากว่าเพรสโต

Allemande (Fr. อาลมานต์)

(1) ในปลายศตวรรษที่ 16 เพลงเต้นรำเยอรมันในจังหวะประเภทนับสอง
(2) ในปลายศตวรรษที่ 17 เพลงอาลมานต์ไม่ได้เป็นเพลงเต้นรำต่อไป แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของ เพลงประเภทสวีท (suite) ซึ่งอยู่ภายใต้เครื่องหมายกำหดจังหวะ o และมีส่วนยกของจังหวะสั้น ๆ ตามด้วยทำนองกระชั้นถี่
(3) ในปลายศตวรรษที่ 18 ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน เพลงอาลมานด์นี้ ปรากฏคล้ายกับ เพลงเต้นรำวอลซ์ในจังหวะ k หรือ m

Allmahlich (Ger.)
ทีละน้อย

Al segno (It. อัล เซนโย)
ไปที่เครื่องหมาย

Al niente
ลดลงจนไม่เหลือ

Altissimo (It. อัลตีสซิโม)
สูงสุด

Alto (It. อัลโต)
สูง
1.เสียงร้องหญิงที่ต่ำกว่าโซปราโน. คอนทรัลโต
2.แนวเสียงที่อยู่ถัดจากแนวสูงสุดในการร้องเพลงประสานเสียงสี่แนว (โซปราโน, อัลโต, เทเนอร์และเบส)
3.เครื่องดนตรีที่อยู่ในแต่ละตระกูลได้แก่ อัลโตคลาริเนต, อัลโตฮอร์น, อัลโตแซกโซโฟน

Alto clef (It. อัลโต เคลฟ)
กุญแจประจำหลัก C กลาง (โด ) ที่ปรากฏอยู่บนเส้นที่สามของบรรทัดห้าเส้น โน้ตดนตรีสำหรับซอวิโอลา บันทึกอยู่ในกุญแจประจำหลักอัลโตเคลฟ

Am (Gr. อัม)
บน โดย ใกล้

Am steg (Gr.อัมสเต็จ)
ปฏิบัติใกล้หย่อง

Amabile (It. อะมาบิเล)
พึงใจ, นุ่มนวล ,น่ารัก

Amoroso (It. อะโมโลโซ)
มีเสน่ห์

An dem griffbrett (อันเดมกริฟเบอร์เต้)
ปฏิบัติใกล้ฟิงเกอร์บอร์ด (fingerboard)

Ancora (It. อันโกรา)
อีกครั้งหนึ่ง

Anacrusis (อนาครูสิส)
จังหวะยก

Ancora una volta (It. อันโกรา อูนา โวลตา)
อีกครั้งหนึ่ง

Andantino (It. อันดานติโน)
ค่อนข้างช้า แต่ไม่ช้าเท่า andante

Anadante (It. อันดานเต)
ความเร็วขนาดกำลังเดินไหลไปตามสบาย ช้ากว่าอัลเลเกรทโต แต่เร็วกว่าอะดาโจ

Animato (It. อันนีมาโต)
ด้วยวิญญาณ เต็มไปด้วยพลัง

Anime (Fr. อะนิเม)
ร่าเริง

Anmutig (Gr. อันมูติก)
สง่างาม มีเสน่ห์


Anglaise (Fr. อองเกลซ)
เป็นเพลงเต้นรำฝรั่งเศส ที่มีพื้นฐานมาจากเพลงเต้นรำพื้นเมืองอังกฤษ นำไปใช้ในการเต้นรำปลายเท้า (บัลเล่ต์) ของฝรั่งเศสเมื่อปลายศตวรรษที่ 17และพบในบทเพลงสวีทที่แต่งราวศตวรรษที่ 18


Ansioso (It. อันซิโอโซ)
ด้วยความกระวนกระวาย ความลังเล

A piacere (It. อะปิอัดเชเร)
ตามสบายขึ้นอยู่กับผู้เล่น ใช้เหมือนคำ ad libitum

Appassionata (It. อัพปาซิโยนาตา)
ด้วยความหลงใหล เสน่หา

Appassionato (It. อัพปาซิโอนาโต)
ด้วยความรัก เสน่หา

Appena (It. อาเปนา)
แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Appoggiatura (It. อับปอจจะตูรา)
การประดับประดาทางดนตรี มาจากคำอิตาเลียนว่า appoggiare แปลว่า ต้องการโน้ตอื่น ซึ่งเป็นโน้ตเสียงใกล้ตัวมาเพิ่มให้เกิดความไพเราะขึ้น

A quattro mani (It. อะ ควัตโตร มานิ)
สำหรับสี่มือ (บรรเลง 2 คน ในเปียโนหลังเดียวกัน)

Arco (It. อาร์โค)
คันชักของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายอาร์โคใช้เมื่อต้องการให้โน้ตตัวต่อไปต้องใช้คันชักปฏิบัติหลังจากทำนองที่มีการใช้คำว่า pizzicato (การดีด) มาแล้ว

Arditamente (อาร์ดิเทเม็นเต)
อย่างกล้าหาญ

Aria (It. อารียา)
เพลงร้องที่มีเครื่องดนตรีคลอประกอบซึ่งจะปรากฏในรูปการเล่นประดับ อย่างมากมายในโอเปรา (Operas) แคนตาตา (Cantatas) และ ออราทอริโอ (0ratorios)

Arioso (It. อาริโยโซ)
เป็นทำนองไพเราะ

Armonioso (อาร์โมนิโอโซ)
อย่างกลมกลืน

Arpeggiando (It. อาร์เปจจานโด)
เล่นในลักษณะกระจายคอร์ดแบบเครื่องดนตรีฮาร์ป

Arpeggio (It. อาร์เพจจิโอ)
การกระจายคอร์ด มาจากคำอิตาเลียนว่า arpeggiare มีความหมายว่า ให้เล่นในลักษณะคล้ายฮาร์ป (ใช้โน้ตลำดับที่ 1,3,5,8,5,3,1ในคอร์ด)

Arrangement (อะเร้นจ์เม้น)
การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี หรือการขับร้อง

Arret (อาเร้ท)
หยุด

Ascap (เอสเคพ)
ย่อมาจาก American society of composers, authors, and publishers ก่อตั้งในปี 1914 victor herbert เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของนักแต่งเพลง,นักประพันธ์,และผู้พิมพ์ มีสมาชิกเป็นนักแต่งเพลงและนักประพันธ์ประมาณ 3,000 คนและเป็นสำนักพิมพ์กว่า 400 แห่ง

Assai (It. อะซาอี)
มาก allegro assai หมายถึง เร็วมาก

Assez (Fr. อาเซ)
พอควร Assez vite หมายถึง เร็วพอควร (เร็วกว่าปานกลางเล็กน้อย ค่อนข้างเร็ว)

Atonal (เอโทนอล)
ระบบเสียงทางดนตรีที่มีเสียงหลัก

Attacca (It. อัตคกา)
ต่อเนื่องไปโดยไม่หยุด; ทันทีทันใด

Au (Fr. โอ)
ไปยัง ,ใน ,ที่ ,สำหรับ

Au mouvement (Fr. โอมูเวอมอง)
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม

Aubade (โอบาด)
ดนตรียามรุ่งอรุณ มีลักษณะงดงามเงียบสงบเหมือนบรรยากาศในชนบทยามเช้า

Aufhalten (Gr. เอาฟานเท็น)
ช้าลง

Augmented intervals (It. อ็อกเมนเต็ด อินเทอร์เวิล)
ขั้นคู่เสียงที่เพิ่มเสียงโน้ตตัวที่ห้าขึ้นครึ่งเสียง (1,3,5#)

Augmentation (อ็อคเมนเทชั่น)
การขยายอัตราจังหวะตัวโน้ต ของโมทีฟ ให้มีอัตราจังหวะยาวกว่าเดิม

Augmentation dot (อ็อคเมนเทชั่น ด็อด)
จุดที่เขียนไว้หลังตัวโน้ต เพื่อยืดอัตราจังหวะของตัวโน้ต ให้ยาวขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น

Aumentando (It. เอาเมนทานโด)
หมายถึง Crescendo ; ดังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

Ausdruck (Gr. เอาส์ดรูกค์)
ความรู้สึก

Ausdruckvol (Gr. เอาส์ดรูกคโวล์)
เต็มไปด้วยความรู้สึก

Autoharp (ออโตฮาร์ป)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซึ่งเล่นเสียงคอร์ดได้โดยวิธีกดปุ่มกระดุมเพื่อให้เกิดเสียงจากสายที่ต้องการได้

Authentic cadence (ออเทนติก เคเดนซ์)
ลูกจบสมบูรณ์

Avec (Fr. อะเว็ค)
ด้วย Avec ame หมายถึง ด้วยวิญญาณ

Ave maria (อาเวมาเรีย)
บทเพลงสรรเสริญพระนางพรหมจารี มาเรีย ที่เด่นมากคืออาเว มาเรีย โดย ชูเบิร์ต และ กูโนด์

 

 

 

B

 

B ชื่อระดับเสียง (ที)

Bach บาค
ผู้ประพันธ์ชาวเยอรมัน (1685-1750) สมัยบาโรค

Background (แบ็คกราวด์)
ดนตรีประกอบภาพยนตร์,รายการวิทยุ,รายการโทรทัศน์ ฯลฯ เพื่อโน้มน้าวใจคนช่วยให้เรื่องราวสมจริง สมจัง หรือเพื่อเพิ่มความเพลิดเพลินแก่ผู้ชมและผู้ฟัง

Bagatelle (Fr. บากาเตล)
บทเพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับเปียโน (e.g. Fur Elise).

Bagpipe (แบกไปป์)
เครื่องดนตรีโบราณประเภทเครื่องลม (ที่เราเรียกว่าปี่สก๊อต) ผู้เล่นจะเป่าลมเข้าไปตามท่อจนถึงถุงลม ลมจะไปสั่นสะเทือนลิ้นของปี่ท่อลมอันหนึ่งเรียกชานเทอร์ซึ่งมีรูปิดเปิดได้มีไว้สำหรับเล่นทำนองเพลงท่อลมอื่น ๆ เรียกโดรนทำเสียงต่อเนื่องกันไปเครื่องดนตรีนี้มีรูปแบบมากมายพบได้ในหลายส่วนของโลก

Ballad (แบลลัด)
หมายถึงเพลง คำว่า "แบลลัด" มาจากภาษาลาติน ballare หมายถึง "เต้นรำ" เดิมคำนี้เป็นเพลงร้องสำหรับเต้นรำเพลงหนึ่ง ต่อมาได้กลายเป็นเพลงขับร้องเดี่ยว และมักจะเป็นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ

Ballade (Fr. บาหลัด)

1. คีตลักษณ์ของบทกวีและดนตรียอดนิยมในยุคกลาง ขับร้องโดยพวกคีตกวีซึ่งชาว ฝรั่งเศส เรียก ว่า trouveres (ทรูแวร์)
2. บทเพลงสำหรับเปียโน ที่แต่งในลักษณะโรแมนติกและรูปแบบกวีนิพนธ์ที่มีความอิสระในยุค ศตวรรษที่ 19

Ballet (Fr. บัลเล่ต์)
ระบำปลายเท้า คือการแสดงการเต้นรำที่มีแบบฉบับในลักษณะการเต้นเป็นกลุ่ม มีเครื่องแต่งกาย ฉากและดนตรีประกอบ มีทั้งการกำหนดท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสมบูรณ์ จนกระทั่ง เกิดเทคนิคพื้นฐานของบัลเล่ต์มักใช้เพื่อคั่นรายการแสดงโอเปรา ซึ่งส่วนมากแล้วจะไม่เป็นส่วน หนึ่งในโอเปราที่แสดงในคราวเดียวกันนั้น

Band (แบนด์)
กลุ่มนักแสดงดนตรี รวมกันเป็นวงดนตรี

Banjo (แบนโจ)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ประกอบด้วยขีดแบ่งเสียงที่เรียกว่า เฟร็ต (ขีดแบ่งเส้น เครื่องสายไทยใช้คำว่า ''นม'')ในตระกูลพวกกีตาร์แบนโจจะมีส่วนช่วงคอยาว ปกติมี 5 สาย เพื่อใช้สำหรับเล่นแบบสตรัม (ทำเสียงคอร์ดเป็นจังหวะต่าง ๆ ) ด้วยนิ้วมือของผู้เล่น ช่วงลำตัวมีรูปร่างคล้ายกลองแทมโบรีนซึ่งส่วนหลังเปิดไว้

Bar (บาร์)
1. การกำหนดระยะของจังหวะทางดนตรี
2. คำที่ใช้สำหรับการกั้นห้อง

Bar line (บาร์ ไลน์)
เส้นกั้นห้อง เส้นแนวตั้งที่แบ่งโน้ตเพลงออกเป็นห้อง ,เส้นแบ่งทางแนวตั้งเพื่อกำหนดจำนวนจังหวะทางดนตรี

Barcarole (บาร์คะโรล)
1. บทเพลงร้องของชาวเรือกอนดะเลียร์เมืองเวนิส มาจากภาษาอิตาเลียนว่า barca ซึ่งหมายถึง "เรือ"
2. บาร์คะโรลอยู่ในจังหวะ u และ 12/8 มีแนวคลอประกอบซึ่งเลียนเสียงการโยกของเรือด้วย

Baritone (บาริโทน)
1. ระดับเสียงร้องของนักร้องชายที่ต่ำกว่าเทเนอร์ แต่สูงกว่าเบส มาจากคำในภาษากรีก ว่า barys ซึ่งมีความหมายว่า "หนัก"หรือ "ต่ำ"
2. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง

Baroque (บาโรค)
ผลงานดนตรีในช่วงระยะเวลาจาก ค.ศ. 1600-1750 โดยนับเริ่มจากการ กำเนิดโอเปราและเพลงร้องประเภทออราทอริโอ (ของ Monteverdi และ Schutz) และถึงจุดสุดยอดในช่วงผลงานดนตรีของ Bach และ Handel

Bass (เบส)
1. ช่วงเสียงร้องต่ำสุดของนักร้องชาย
2. แนวบรรเลงที่อยู่ต่ำสุดของบทประพันธ์เพลง มาจากคำภาษากรีกว่า basis มีความหมายว่า พื้นฐาน
3. สมาชิกในตระกูลเครื่องดนตรีต่าง ๆ เช่น เบสคลาริเนต เบสดรัม และ เบสวิโอล ฯลฯ

Bass clef (เบสเคลฟ)
หมายถึงเครื่องหมายกุญแจประจำหลักที่อยู่บนเส้นที่ 4 ของบรรทัดห้าเส้น เบสเคลฟที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้พัฒนารูปร่างมาจากอักษร F

Basso ( บาสโซ It., 'bass')
1. ต่ำ เบส
2. เสียงร้องแนวเบส

Basso buffo (It. บาสโซบูโฟ)
นักร้องระดับเสียงต่ำ ซึ่งแสดงเป็นตัวตลก

Bassoon (บาสซูน)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้เป็นปี่ที่มีลิ้นคู่เรียกว่าปี่บาสซูน มีเสียงต่ำเป็น เบสในตระกูลปี่โอโบ มีการม้วนท่อเป่าทบย้อนลำตัวของปี่เพื่อลดขนาดความยาวให้ สั้นลงเหลือเเค่ขนาดประมาณ 4 ฟุตเล็กน้อย ช่วงเสียงแต่ละช่วงจะมีคุณภาพเสียงปี่


Basso ostinato (It. บาสโซ ออสซินาโต)
วลีเพลงสั้น ๆ ขนาด 4-8 ห้องซึ่งจะซ้ำแล้วซ้ำเล่าและจัดไว้เป็นแนวเสียงต่ำบาสโซออสซินาโตเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากราวด์เบสเพราะทำหน้าที่เป็นฉากหลังหรือคลอประกอบสำหรับแนวทำนองเพลง

Baton (Fr. บาตอง)
ไม้ถือสำหรับผู้อำนวยเพลงใช้เพื่อควบคุมจังหวะบาตองอาจจะทำจากไม้ก้านเรียวหรือไม้ที่มีน้ำหนักเบาหรือวัสดุเบาก็ได้

Battuta (It. บัตตูตา )
จังหวะ

Beat (บีท)
จังหวะเคาะหรือนับของห้องแต่ละห้อง เช่น o ประกอบด้วย 4 จังหวะ หรือการนับได้สี่ครั้งในหนึ่งห้อง h ประกอบด้วย 2 จังหวะ หรือการนับได้สองครั้งในหนึ่งห้อง

Beaucoup (Fr. โบกู)
มาก

Beam (บีม)
เส้นรวบหาง เส้นทึบแนวนอนใช้ในการรวมกลุ่มตัวโน้ต ที่มีอัตราจังหวะน้อยกว่าโน้ตตัวดำ

Bebop (บีบ๊อบ)
ดนตรีแจ๊สชนิดหนึ่ง

Behaglich (Gr. เบฮากลิชค์)
ไม่เร่งรีบ สบาย ๆ

Bei (Gr. ไบ)
กับ, ที่, สำหรับ

Beide hande (ไบแฮนด์)
ใช้มือทั้งสองข้าง

Belebt (Gr. เบเลบท์)
มีชีวิตชีวา ร่าเริง

Bell (เบลล์)
1. เครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีกระทบ มีรูปร่างเป็นรูปทรงระฆัง มีระดับ เสียงแน่นอน
2. ลำโพง ส่วนประกอบตัวเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ที่มีลักษณะบานออกคล้ายระฆัง bel lyre (เบลล์ ไลร่า)

Ben (เบน)
มาก


Berceuse (Fr.แบร์เซิล, 'bercer' to rock)
เพลงกล่อมเด็ก ซึ่งมักจะอยู่ในจังหวะ u ประกอบด้วยแนวคลอประสานที่มีลักษณะคล้ายการไกวเปล

Ben, bene (It. เบน, เบนเน)
มาก, ดี, Ben marcato หมายถึง กำหนดชัดเจน

Bergamasque (Fr.), bergamasca (It. แบร์กามาสคา), bergomask (Eng.)
1. การเต้นรำบางครั้งก็มีคำร้องด้วยนิยมเล่นกันในสมัยศตวรรษที่ 16 และ 17 ในหมู่ชาวนา เมืองแบร์กาโมประเทศอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเต้นรำชนิดนี้
2. การเต้นรำแบร์กามาสคาในศตวรรษที่ 19 มีจังหวะ u เหมือนกับตารันเตลลา

Beruhigend (Gr. เบรูฮิเก็นด์)
สงบ

Bestimmt (เบสติมท์)
แน่นอน

Bewegter (Gr. เบเว็กแตร์)
เร็วขึ้น มีชีวิตชีวาขึ้น

Bien (Fr. เบียง)
มาก

Binary (ไบนารี่)
สองส่วนคีตลักษณ์แบบไบนารี่ฟอร์มประกอบด้วยสองส่วนแต่ละส่วนก็มีการย้อนบรรเลงด้วย Binary form (ไบนารี ฟอร์ม) โครงสร้างแบบสองส่วนบทประพันธ์ที่มีส่วนประกอบสองส่วน

Bis (Gr. บิส)
จนกระทั่ง, จนถึง

Bis zu ende(Gr. บิส ซู เอนเด)
จนจบ

Blues (บลูส์)
คำว่า "บลูส์" มีหลายความหมาย ดังนี้
1. ความเศร้า ความเหงา หรือเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ฟังแล้วมีความรู้สึกเศร้า
2. เป็นลำเนาแห่งบทกวี
3. เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ฟังแล้วหดหู่ เพลงแบบหยาบ ๆ
4. มีรูปแบบเฉพาะของทางคอร์ดมักดำเนินไปรวม 12 ห้อง ซึ่งเดาทางคอร์ดล่วงหน้าได้ ที่ห้องที่ห้า ห้องที่เจ็ด ห้องที่เก้า และห้องที่สิบเอ็ด

Bolero (Sp. โบเลโร)
การเต้นรำที่มีชีวิตชีวาของสเปนในจังหวะ k การเต้นรำแบบโบเลโรประกอบด้วยการเคลื่อนเท้าที่สลับซับซ้อนอีกทั้งผู้เต้นจะถือเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะคือคาสทะเน็ตส์เชื่อกันว่าผู้คิดท่าเต้น แบบนี้ คือ Cerezo of Cadiz ชาวสเปนในราว ค.ศ. 1780

Bore (บอร์)
ส่วนกว้างภายในท่อของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้
1. conical bore ( โคนิคัล บอร์) ส่วนกว้างของท่อจากปากเป่าถึงปากลำโพง มีการขยายบาน ออกที่ละเล็กละน้อยแบบต่อเนื่องเป็นรูปทรงกรวยเช่นเครื่องดนตรีประเภทแตรคอร์เน็ตแตรบาริโทน
2. cylindrical bore (ซิลินดริคคัล บอร์) ความกว้างของท่อที่มีขนาดเท่ากันตลอดลำตัวเครื่อง ดนตรียกเว้นส่วนใกล้ลำโพงที่จะขยายบานออก เช่น แตรทรัมเป็ต แตรทรอมโบน ฯลฯ

Bouche (โบเช่)
การกักเสียงของ horn โดยใช้มือสอดเข้าไปในลำโพงทำให้เสียงลอดออกมาลำบากยิ่งขึ้น

Bouffe (Fr. บูฟ)
ตลกขบขัน

Bourdon (Fr. บูร์ดอง)
1. เสียงดนตรีที่ลากยาวมีเสียงต่ำ หรือเสียงซ้ำ ๆ กันของแนวเบส เหมือนอย่างโดรน ของเครื่อง ดนตรีประเภทปี่สก็อต 2. เสียงต่ำลึก ๆ จากท่อขนาดความยาว 16 หรือ 32 ที่เล่นโดยออร์แกน

Bourree (Fr. บูเร)
เพลงเต้นรำซึ่งมีรากฐานมาจากประเทศฝรั่งเศสมีความรวดเร็วในจังหวะประเภทนับสอง (ห้องละ 2 จังหวะ) ส่วนเริ่มต้นเพลงจะเป็นจังหวะยก นิยมเล่นกันในประเทศฝรั่งเศสใน ศตวรรษที่ 17 เดิมเป็นเพลงเต้นรำของชาวนา ต่อมาบางครั้งก็มีปรากฏในบทเพลงประเภท สวีท

Bow (โบ)
หมายถึง คันชัก เป็นเครื่องมือสำคัญของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายตระกูลไวโอลินและวิโอล ใช้สีบนเส้นสายเสียงให้เกิดการสั่นไหวตรงส่วนจับของคันชักด้านในจะมีแส้ม้าที่สำหรับปรับไขได้ เรียกว่านัท มีหน้าที่ดึงส่วนที่เรียกว่าฟร็อกซึ่งทำให้แส้ม้าตึงได้การถูยางสนบนแส้ม้าและเมื่อลากคันชักไปบนสายเสียงของเครื่องดนตรีจะช่วยให้เกิดแรงเสียดทานและการสั่นสะเทือนของสายเสียงนั้น เครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมมีคันชักที่ยาวกว่าเครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่กว่าเช่นคันชักของไวโอลินจะยาวที่สุดส่วนคันชักของเบสจะสั้นสุดที่เรียกชื่อคันชักเนื่องจากคันชักในรุ่นแรก ๆ มีลักษณะคล้ายคันธนูนั่นเอง

Brass band (บราส แบนด์)
หมายถึงแตรวงเป็นวงดนตรีขนาดย่อมประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทแตร(Brass)และเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ (Percussion)

Brass family (บราสแฟมิลิ)
เครื่องดนตรีที่มีอยู่ในตระกูลเครื่องลมประเภทแตรทำด้วยทองเหลืองหรือโลหะอื่น ๆ สมาชิกในตระกูลประเภทแตรวงได้แก่ แตรบิวเกิล ,คอร์เน็ต ,ทรัมเป็ต ,อัลโตฮอร์น (เมโลโฟน) ,เฟรนช์ฮอร์น บาริโทน ,ยูโฟเนียม, ซูซาโฟน, ทรอมโบน และทูบา

Bravura (It. บราวูรา)
ด้วยจิตวิญญาณ กล้าหาญ

Breit (Gr. ไบรท์)
กว้าง ๆ

Brillant (Fr.), brillante (It. บริลลานเต)
สว่าง ความกระจ่างแจ้ง

Brio (It. บริโอ)
แข็งขัน

Brioso (It. บริโอโซ)
อารมณ์แรงดั่งไฟ ,พลังวิญญาณ

Broken chord (โบรคเค็น คอร์ด)
สไตล์การใช้คอร์ดโดยการเล่นโน้ตคอร์ดทีละโน้ต เช่น การดีดสายกีตาร์ทีละสาย

Brusco (It. บรูสโก)
เสียงเอะอะตึงตัง, หยาบ

Buffa (It. บุฟฟา)
ตลกขบขัน

Bugle (บิวเกิล)
เครื่องดนตรีประเภทแตรทองเหลือง ซึ่งมีส่วนปากเป่า (กำพวด) เป็นรูปถ้วย ไม่มีลูกสูบแตร แต่เป่าเป็นเสียงได้ตัวโน้ตเพียงแปดตัวในลักษณะของอนุกรม โอเวอร์โทน โน้ตเหล่านี้คือ เสียงพื้นฐานทั้งหมดของแตรสัญญาณเรียกทางทหาร

Burlesca (It. บัวร์เลสกา)
ตลกขบขัน ล้อเลียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

C

 

C ชื่อระดับเสียง (โด)

Cadence (เคเดนซ์)
คอร์ดที่อยู่ติดกันในส่วนจบของวลีเพลงท่อนลีลาหรือบทเพื่อสรุปถึงความคิดทางดนตรีมีเคเดนซ์อยู่หลายแบบ คือ
1. เพอเฟกต์เคเดนซ์จะทำให้บทประพันธ์ทางดนตรีจบลงได้อย่างน่าพอใจเมื่อตัวโทนิค (Tonic) อยู่ที่แนวบนสุดของคอร์ดสุดท้าย
2. อิมเพอเฟกต์หรือฮาล์ฟเคเดนซ์ เมื่อใช้คอร์ดที่ห้า ( V ) ตามหลังคอร์ดที่หนึ่ง ( I )
3.ดีเซฟทีฟว์หรืออินเตอร์รัฟท์เต็ดเคเดนซ์การต่อเนื่องของคอร์ดที่หก(ที่เราไม่เคยคิดมาก่อน)ใน เคเดนซ์

Cadenza (It. คาเดนซา)
แนวทำนองอันสดใสรื่นเริงโอ่อวดฝีมือมักพบในส่วนจบของการร้องเดี่ยวหรือแสดงเครื่องดนตรีเดี่ยวในบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้

Calando (It. คาลานโด)
เบาลงและช้าลงเรื่อย ๆ

Calcando (It. คาลคานโด)
เร็วขึ้นมาจากคำอิตาเลียนมีความหมายว่า เดินเท้าเสียงดัง

Calma, calmo (คาลมา)
อย่างสงบ

Calmando (It. คาลมานโด)
เบาลงเรื่อย ๆ อย่างสงบเยือกเย็น

Calmato (It. คาลมาโต)
อย่างสันติสุขอย่างสงบ

Calore (It. คาลโลเร)
ด้วยความรักใคร่อบอุ่น

Campana (It. คัมปานา)
ระฆัง

 


Campanella (It. คัมปาเนลลา)
ระฆังเล็ก ๆ

Canon (แคนนอน)
คีตลักษณ์ชนิดหนึ่งที่มีแบบแผนแน่นอนไม่ว่าจะเป็นแนวบรรเลงหรือแนวขับร้องจะมีทำนองเหมือนกันหมดเพียงแต่เริ่มในเวลาต่างกันเท่านั้นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ราวน์ด (Round)

Cantabile (It. คันตาบิเล)
ในลักษณะเพลงร้องมาจากคำอิตาเลียนว่า คันตาเร (Cantare) ซึ่งมีความหมายว่าการร้องเพลง

Cantata (It. คันตาตา)
ผลงานดนตรีประเภทขับร้องในสมัยบาโรคที่ประกอบด้วยบทเพลงต่าง ๆ เช่น อาร์เรีย,เรสซิเททิฟว์,ดูเอทและคอรัสโดยอิงเรื่องราวทางศาสนาบทกวีและการละครคำนี้มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Cantare มีความหมายว่า ร้องเพลงโยฮัน เซบาสเตียนบาคได้แต่งเพลงแนวทางศาสนา (เชิร์ช คันตาตา) เกือบสามร้อยบท

Cantilena (It. คันติเลนา)
ทำนองเพลงที่มีลักษณะไหลเลื่อนต่อเนื่องกันไปด้วยการบรรเลงหรือร้องอย่างราบรื่น

Canto (แคนโต)
แนวหรือเสียง

Cantus firmus (La. คันตุส เฟียร์มุส)
เป็นแนวทำนองหลัก เพื่อให้แนวทำนองอื่น ๆ เพิ่มเข้าไปโดยมีกฎเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้

Capella (คาเพลลา)
ไม่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงคลอ

Capo (It, คาโป)
การเริ่มต้น


Capriccio (It. คาปริโซ), caprice (Fr.)
บทบรรเลงสำหรับเครื่องดนตรีที่มีลักษณะอิสระ ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ มักมีชีวิตชีวา

Capriccioso (It. คาปริซิโอโซ)
สนุกสนานร่าเริง

 

 

 


Carillon (คาริลลอน)
ระฆังชุดที่มีเสียงครบแบบโครมาติก สามารถทำให้เกิดเสียงด้วยวิธีเช่นเดียวกับ คีย์บอร์ด หรือจากระบบการทำงานแบบนาฬิกา มักนิยมแขวนบนหอสูงในโบสถ์ หรือหอระฆังเฉพาะ มีช่วงเสียง 2 ถึง 4 อ๊อคเทฟ (Octave) ชุดระฆังชนิดใหญ่มีจำนวนระฆังมาก ถึง 70 ใบ

Carol (แครอล)
เป็นเพลงแบบประเพณีนิยม ที่มักได้ยินในเทศกาลคริสต์มาสและเทศกาลอีสเตอร์

Castanets (Fr.คาสทะเน็ต)
กระเปาะคู่ที่มีรูปร่างคล้ายหอยเชลล์ ทำจากไม้หรืองาช้างและมีเชือกผูกติดเข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เล่นสามารถถือได้สะดวกและเคาะเสียงเป็นจังหวะต่าง ๆ เช่นเพลงประเภทโบเรโลและฟันดานโกของ สเปน

Cedendo (It. เซเดนโด)
ช้าลงทีละน้อย

Cedez (Fr. เซเดย์)
ช้าลงอีก

Celesta (It. เซเลสต้า)
เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยแท่งโลหะมีระดับเสียงดนตรีต่าง ๆ (เรียงเหมือนเครื่องดนตรีตีกระทบชนิดหนึ่งที่ชื่อกลอคคั่นสปีล) และมีกล่องเสียงเพื่อขยายเสียงอีกทั้งจัดเรียงให้ค้อนจากคีย์บอร์ดตีแท่งโลหะเหล่านี้ได้

Cello (It. เชลโล)
คำย่อของคำว่าVioloncello เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายขนาดใหญ่กว่าไวโอลินและวิโอลา

Cembalo (It. เชมบาโล)
เป็นคำอิตาเลียนหมายถึงเครื่องดนตรีดัลซิเมอร์ ซึ่งในทางปฏิบัติ หมายถึงเครื่องดนตรีฮาร์ปซิคอร์ด


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Chalumeau (Fr. ชาลูโม)
1. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้โบราณที่มีลิ้นเดี่ยว ลักษณะลำตัวเป็นท่อกระบอกพร้อมรูปิด เปิดเสียงแต่ไม่มีคีย์สำหรับปิด - เปิดศัพท์คำนี้มาจากคำในภาษาลาตินมีความหมายว่า ลิ้น เครื่อง ดนตรีนี้เป็นต้นตระกูลของปี่คลาริเนต
2. ช่วงเสียงต่ำของคลาริเนตสมัยใหม่

Chamber music (แชมเบอร์มิวสิก)
ดนตรีสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีโดยนักดนตรีแต่ละคนจะมีแนวบรรเลงของตนเองต่างจากคนอื่น ๆ ไม่ เหมือนกับดนตรีสำหรับวงดนตรีออร์เคสตร้าที่มักจะมีนักดนตรีหลายคนต่อแนวบรรเลงหนึ่งแนวดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิกนี้ เรียกชื่อตามจำนวนคนที่เล่นดังนี้
Duo ดูโอ สำหรับผู้เล่นสองคน
Trio ทริโอ สำหรับผู้เล่นสามคน
Quartet ควอเต็ต สำหรับผู้เล่นสี่คน
Quintet ควินเต็ต สำหรับผู้เล่นห้าคน
Sextet เซกซ์เต็ต สำหรับผู้เล่นหกคน
Septet เซปเต็ต สำหรับผู้เล่นเจ็ดคน
Octet ออคเต็ต สำหรับผู้เล่นแปดคน
Nonet โนเน็ต สำหรับผู้เล่นเก้าคน
สตริงควอเต็ตเป็นคีตลักษณ์แชมเบอร์มิวสิกที่สำคัญ ประกอบด้วยผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลาและเชลโลอย่างละ 1 คนสำหรับสตริงทริโอนั้นจะประกอบด้วยเครื่องสายล้วน ๆ 3 เครื่อง และหากตัดเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งออกไปแล้วเพิ่มเปียโนเข้าไปหนึ่งหลังจะเรียกว่าเปียโนทริโอ หรือหากเพิ่มฮอร์นเครื่องหนึ่งเข้าไปแทน เรียกว่า ฮอร์นทริโอ

Chamber orchestra (แชมเบอร์ ออร์เคสตรา)
หมายถึงออร์เคสตร้าขนาดเล็กนักดนตรีประมาณ 25 คน

Chanson (Fr. ชานซอง)
บทเพลงร้อง

Chant (แชนท์)
เพลงร้องศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในจังหวะเสรีไม่มีแนวคลอประกอบ

Chimes (ไชม์)
เครื่องดนตรีซึ่งประกอบด้วยกลุ่มท่อโลหะแขวนเป็นราวในกรอบสี่เหลี่ยมเมื่อใช้ไม้ตีไปตรงส่วนปลายหัวแล้วจะเกิดเสียงคล้ายระฆังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าทูบิวลาร์เบลล์ (Tubular bells)

 

 


Chiuso (ไชย์ซู)
การเก็บเสียงของฮอร์น

Choir (ไควเออะ)
กลุ่มนักร้องวงนักร้องประสานเสียง

Choral (คอรัล)
เกี่ยวกับวงนักร้องประสานเสียงหรือไควเออะ

Chorale (คอราล)
เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้าในโบสถ์

Chord (คอร์ด)
เสียงดนตรีตั้งแต่สามเสียงขึ้นเรียงกันในแนวตั้งและปฏิบัติพร้อมกัน

Chord tone (คอร์ด โทน)
เสียงที่อยู่ในคอร์ดระดับเสียงที่เข้ากันกับเสียงประสานพื้นฐาน

Chorus (คอรัส)
1. กลุ่มนักร้อง
2. ดนตรีสำหรับกลุ่มนักร้อง
3. ส่วนที่ต้องร้องซ้ำในบทเพลงตามหลังส่วนที่เป็นบทร้องกึ่งเจรจา

Chromatic (โครมาติก)
1. บันไดเสียงโครมาติกประกอบด้วยเสียงครึ่งเสียงโดยตลอดมีทั้งหมดสิบสองเสียงภายในช่วง หนึ่งคู่แปด
2. เป็นโน้ตตัวจร ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มต่างหากจากที่มีอยู่แล้วในเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง เครื่อง หมายโครมาติกได้แก่ ชาร์ป, ดับเบิลชาร์ป, แฟล็ท ,ดับเบิลแฟล็ท,และ เนเจอรัล

Circle of fifths (ไซเคิลออฟไฟท์)
วงจรคู่ห้า

Clair (แคลร์)
สดใส สูง


 

 

 

 

Clarinet (คลาริเนต)
                       เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ซึ่งมีลิ้นเดี่ยว ประกอบด้วยลำตัวเป็นลักษณะท่อกลวงเท่ากัน โดยมีส่วนปากเป่า (กำพวด) และลำโพงปี่ อยู่ปลายสุดคนละด้าน สำหรับลิ้นปี่นั้นจะประกอบเข้าตรงส่วนปากเป่าด้วยแผ่นโลหะหรือโซ่สายรัด ลำตัวปี่ก็มีรูปิดเปิดเสียงและคีย์ปิดเปิดรู เพื่อช่วยทำเสียงบันไดเสียงทางโครมาติกได้ครบบริบูรณ์
1. บี แฟล็ท คลาริเนต จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทต้องย้ายคีย์
2. เอคลาริเนต มีขนาดใหญ่กว่าบีแฟล็ทคลาริเนตเล็กน้อย และมีระดับเสียงต่ำลงครึ่งเสียง บางครั้ง ใช้แทนที่บีแฟล็ทคลาริเนต ทั้งนี้เพราะสามารถเล่นเพลงในคีย์บางคีย์ได้ง่ายกว่า
3. อีแฟล็ทอัลโตคลาริเนต มีระดับเสียงต่ำกว่าบีแฟล็ท คลาริเนต อยู่คู่ห้าเพอร์เฟค เครื่องดนตรีชนิดนี้มีส่วนพิเศษคือส่วนลำโพงที่เป็นโลหะจะงอย้อนขึ้นมาและมีท่อเปลี่ยนเสียงที่ทำด้วยโลหะติดเข้ากับส่วนปากเป่าด้วยอีแฟล็ทอัลโตคลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีประเภทต้องย้ายคีย์เช่นกัน
4. บีแฟล็ท เบส คลาริเนต มีระดับเสียงห่างลงจากบีแฟล็ทคลาริเนตอยู่หนึ่งช่วงค่แปดมีรูปร่าง เหมือนอัลโตคลาริเนตขนาดใหญ่ บีแฟล็ทเบสคลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีประเภทต้องย้ายคีย์

Clarion (แคลริอัน)
1. ปุ่มของหรีดออร์แกน (ออร์แกนใช้ลม) ขนาด 4 ฟุต มีเสียงแหลม
2. แตรอังกฤษขนาดเล็ก มีเสียงแหลม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

Classical music (คลาสสิคัล มิวสิก)
ดนตรีในระหว่างยุคสมัยของนักประพันธ์เพลงเช่นไฮเดิล, โมสาร์ท ,และเบโธเฟน (จาก ค.ศ.1701-1830) ดนตรียุคคลาสสิกนี้มีความแตกต่างจากดนตรีในยุคโรแมนติก (ซึ่งเป็นยุคต่อจากยุคคลาสสิก)ในเรื่องของคีตลักษณ์และแบบฉบับการเขียนโดยดนตรีในยุคโรแมนติกนั้นมีอิสระมากอารมณ์ก็รุนแรงซึ่งจะสัมผัสได้จากปลายปากกาของนักประพันธ์เพลงในยุคโรแมนติกคู่นี้คือ โชแปงและลิสซต์พัฒนาการที่สำคัญของดนตรีในยุคคลาสสิกก็คือคีตลักษณ์แบบโซนาตาซึ่งเป็นพื้นฐานการประพันธ์เพลงประเภทซิมโฟนีสมัยคลาสสิก และเพลงประเภทแชมเบอร์มิวสิก

Clavecin (Fr. คลาฟแซง)
เป็นคำภาษาฝรั่งเศสหมายถึง เครื่องดนตรีคีย์บอร์ดฮาร์ปซิคอร์ด

Clavichord (คลาวิคอร์ด)
เป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้จากการดีด (เคาะ) โดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปในของกล่องไม้ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือแตะของลิ่มทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพี่อทำให้เกิดเสียง คลาวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดยเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากคลาวิคอร์ดนี้มีความไพเราะและนุ่มนวล


Clavier (คลาเวียร์)
หมายถึง klavier (ในภาษาเยอรมัน) (Fr. คลาวิเย)
1. หมายถึงคีย์บอร์ดทั่ว ๆ ไปเช่น เปียโน ,ออร์แกน ฯลฯ
2. หมายถึงคีย์บอร์ดประเภทใช้กลไกจากสายเสียงเช่น ฮาร์ปซิคอร์ด ,คลาวิคอร์ด ,เปียโน ฯลฯ

Clef (เคลฟ)
เครื่องหมายสำหรับกำหนดระดับเสียงให้ตรงกับเส้นและช่วงของบรรทัดห้าเส้น
1. เคลฟชนิดอยู่กับที่
2. เคลฟเคลื่อนที่ได้หมายถึง ซีเคลฟ ที่เป็นตัวกำหนดตำแหน่งโดกลาง ซึ่งจะจัดวางไว้ตำแหน่งโด ของบรรทัดห้าเส้นก็ได้เหตุผลที่นำซีเคลฟมาใช้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เส้นน้อย

Coda (It. โคดา,'tail')
ส่วนเพิ่มเติมในบทประพันธ์เพลงซึ่งเพิ่มเข้าไปตรงส่วนท้ายของบทเพลงหรือท่อนเพลงชิ้นหนึ่ง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกว่าเพลงจบแล้วมาจากคำอิตาเลียนแปลว่า "หาง"

Codetta (It. โคเด็ทตา, 'little tail')
คือโคดาแบบสั้น

Col, con (คอน)
ด้วย, กับ

Colla (It. โคลลา)
พร้อมด้วย Col basso หมายถึง พร้อมด้วยกันกับเบส

Colla parte (It. โคลลา ปาร์เต)
พร้อมกับแนวหลัก

Collera (It. โคลเลรา)
ความโกรธ

Coloratura (It. โคโลราทูรา)
1. เสียงร้องที่ดำเนินไปอย่างสดใส เก่งกาจเต็มไปด้วยการประดับประดาทางดนตรีมากมาย
2. เสียงร้องที่ร้องได้ตามข้อ 1

Combo (คอมโบ)
มาจากคำสแลงว่า Combination หมายถึง กลุ่มนักดนตรีกลุ่มเล็ก ๆ ที่เล่นเพลงแจ๊ส

Come (It. โคเม)
เหมือนกับ

Come prima (It. โคเม ปริมา)
เหมือนก่อนหน้านั้น

Come sopra (It. โคเม โซปรา)
เหมือนข้างต้น

Comodo (It. โคโมโด)
อย่างผ่อนคลาย เรื่อย ๆ ไม่เร่งรีบ

Common chord (คอมมอน คอร์ด)
หมายถึงคอร์ดเมเจอร์หรือคอร์ดไมเนอร์

Common time (คอมมอนไทม์)
อัตราจังหวะสามัญ เช่น o,h

Common tone (คอมมอนโทน)
เสียงร่วม คือระดับเสียงที่ยังคงเดิมในขณะที่เสียงประสานเปลี่ยนไป

Compass (คอมพาส)
ช่วงเสียงหรือพิสัยของเสียงร้องหรือเครื่องดนตรี

Compound form (คอมพาวด์ฟอร์ม)
โครงสร้างแบบผสมบทประพันธ์ที่ประกอบด้วยคีตลักษณ์สั้น ๆ หลายแบบรวมอยู่ในโครงสร้างใหญ่

Compound time (คอมพาวด์ไทม์)
อัตราจังหวะแบบผสม เช่น u,v

Con (It. คอน)
ด้วย

Con amore (It. คอนอะมอเร)
ด้วยความรัก

Con anima (It. คอนอะนิมา)
ด้วยวิญญาณ อารมณ์ มาจากคำอิตาเลียนว่า anima ซึ่งหมายถึงวิญญาณนักแต่งเพลงมักใช้คำนี้ผิด ๆ ไปในความหมายว่า อย่างแคล่วคล่อง มีชีวิตชีวา

Con animo (It. คอนอะนิโม)
ด้วยความร่าเริง

Con brio (It. คอน บรีโอ)
ด้วยน้ำใจ ,คึกคัก ,ร่าเริง

Con calma (It. คอน คัลมา)
อย่างสงบ ,งามอย่างเรียบ ๆ

Con forza (It. คอน ฟอร์ตซา)
ด้วยแรง ,ด้วยกำลัง

Con fuoco (It. คอน ฟิวโก)
คึกคักประดุจไฟลาม

Con gioco (It. คอน จิโอโค)
สนุกสนานรื่นเริง

Con moto (It. คอน โมโต)
ด้วยความเคลื่อนไหวดำเนินไปข้างหน้า

Con spirito (It. คอน สะปิริโต)
ด้วยจิตใจ ,ด้วยวิญญาณ

Con passione (It. คอน แพสซีโอนี)
ด้วยความเสน่หา ,อารมณ์อันใหญ่หลวงลง

Con slancio (It. คอน สลานโซ)
ด้วยความห้าวหาญ เร่าร้อน รุนแรง

Concert (คอนเสิร์ต)
การแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณะชน

Concertina (คอนแชร์ตินา)
เครื่องดนตรีรูปร่างเหมือนแอ็คคอเดียนซึ่งมีลิ้นอิสระพร้อมหีบลมที่ขยายตัวออกได้คอนแชร์ตินามีด้านหกด้านพร้อมปุ่มต่าง ๆ บนด้านปลายทั้งสองข้างเพื่อมีไว้สำหรับเล่นทำนองเพลงและแนวคลอประกอบ

Concerto (It. คอนแชร์โต)
บทประพันธ์สำหรับการเดี่ยวเครื่องดนตรีเป็นหลักโดยมีวงดนตรีออร์เคสตร้าคลอประกอบคอนแชร์โตมาจากคำในภาษาลาตินว่า concertare มีความหมายว่าทำพร้อม ๆ กันแข่งขันกันปกติแล้วคอนแชร์โตมีส่วนประกอบเป็น 3 ขบวน หรือ 3 ท่อน

Concerto grosso (It. คอนแชร์โต กร๊อสโซ)
งานดนตรีซึ่งอยู่ในลักษณะของคีตลักษณ์แบบคอนแชร์โตแต่มีการแบ่งหน้าที่คือเป็นการเดี่ยวของกลุ่มเครื่องดนตรีส่วนหนึ่งกับอีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่เป็นวงดนตรีให้(เปรียบเทียบกับบทประพันธ์ประเภทคอนแชร์โตซึ่งหมายถึงงานดนตรีสำหรับการเดี่ยวเครื่องดนตรีหลักกับวงดนตรีที่เป็นส่วนคลอประกอบ) คีตลักษณ์แบบคอนแชร์โตกร๊อสโซเป็นที่นิยมแต่งกันมากในปลายศตวรรษที่ 17และ ต้นศตวรรษที่ 18

Conductor (คอนดัคเตอร์)
ผู้อำนวยเพลงหรือวาทยกรคือผู้ทำหน้าที่ให้จังหวะและควบคุมการแสดงในวงดุริยางค์

Consonance (คอนโซแนนซ์)
ขั้นคู่เสียงกลมกล่อม (บางครั้งเรียกว่า ขั้นคู่เสนาะเสียง) ได้แก่คู่สามและคู่หกทั้งเมเจอร์และไมเนอร์ คู่สี่ คู่ห้า คู่หกและคู่แปดขั้นคู่เสียงกลมกล่อมจะให้ความรู้สึกพึงพอใจและสบายใจคำนี้ตรงข้ามกับคำว่า ดิสโซแนนซ์ (dissonance)

Con spirito (It. คอน สปิริโต)
ด้วยความเข้มแข็งพลังวิญญาณ

Contra bass (คอนทราเบส)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสตริงเบสดับเบิลเบสเบสวิโอลหมายถึงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่เล่นด้วยคันชักเป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเสียงต่ำที่สุดในตระกูลเครื่องสายคอนทราเบสมีรูปลักษณะร่วมทั้งในรูปแบบไวโอลินและตระกูลวิโอล

Contrabassoon (คอนทราบาสซูน)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าดับเบิลบาสซูนเป็นสมาชิกในตระกูลปี่ โอโบ คอนทราบาสซูนมีเสียงที่ต่ำลึกที่สุดในวงดุริยางค์มีท่อยาวกว่า 16 ฟุต (โดยทบความยาว 4 ครั้งเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ) ลำโพงที่เป็นโลหะจะชี้ลงข้างล่างไม่เหมือนกับลำโพงบาสซูนที่ชี้ขึ้นข้างบนการเล่นจังหวะปานกลางหรือช้านั้นปี่คอนทราบาสซูนแสดงได้ดีที่สุด

Contredanse (Fr. คองเดรอดองส์)
การเต้นรำที่นิยมกันในประเทศฝรั่งเศสช่วงปลายศตวรรษที่ 18 คาดว่ามาจากการเต้นรำแบบชนบทในประเทศอังกฤษ (country dance)

Contralto (It. คอนทราลโต)
เสียงร้องของหญิงที่มีแนวต่ำที่สุด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อัลโต

Contrapuntal (It. คอนทราพันทัล)
เกี่ยวข้องกับเค้าน์เต้อร์พ้อยท์

Contrary motion (คอนทราริโมชั่น)
แนวทำนองเพลงในบทประพันธ์เพลงเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกัน

Cor anglais (Fr. คอร์ อองเก็ล)
ปี่อิงลิชฮอร์น

Courante (Fr. คูรานต์)
เพลงเต้นรำที่มีจุดกำเนิดในศตวรรษที่ 16 และต่อมารวมเป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงชุด เพลงเต้นรำ คูรานต์ มีสองแบบที่ไม่เหมือนกันคือ
1. คอรันโต (หรือคอเรนเตแบบอิตาเลียน) มีจังหวะเร็วมีลีลาการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอมีลักษณะ สามจังหวะต่อหนึ่งห้องเพลงโดยปกติแล้วเพลงจะมีลักษณะเป็นสองส่วน (คีตลักษณ์แบบไบนารี่)
2. คูรานต์แบบฝรั่งเศสอยู่ในลักษณะสามจังหวะต่อหนึ่งห้องเพลงและมีคีตลักษณ์แบบไบนารี่เช่น กันแต่จะมีหกจังหวะย่อยในห้องสุดท้ายของแต่ละส่วนรวมทั้งมีลักษณะช้าและสง่างามกว่าคอรัน โตแบบอิตาเลียน.

Corda, corde (คอร์ดา)
สายเสียงของเครื่องดนตรี

Cornet (คอร์เน็ต)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองแตรที่มีลูกสูบและระดับเสียงในบีแฟลตแตรคอร์เน็ตนี้จะมีท่อแตรแบบค่อย ขยายกว้างออกไปกำพวดเป็นรูปลักษณะถ้วยลึกกว่าของแตรทรัมเป็ตใช้เล่นทั้งในวงแตรและวงโยธวาทิตคุณภาพเสียงไปในทางลักษณะนุ่มนวลกลมกล่อมและสดใสน้อยกว่าเสียงแตรทรัมเป็ต

Corto (It. คอร์โต)
สั้น

Counterpoint (เค้าน์เต้อร์พ้อยท์)
ทำนองอิสระหลายทำนอง (บางสถาบันหมายถึง การสอดทำนอง) แต่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นำมาบรรเลงหรือร้องในเวลาเดียวกันคำว่าเค้าน์เต้อร์พ้อยท์มาจากภาษาลาตินว่า punctus contra punctum หมายถึงทำนองหนึ่งปะทะกับอีกทำนองหนึ่ง

Coule (Fr. คูเล)
เรียบ ๆ

Court (เคราท์)
สั้น

Crescendo (It. เครเชนโด)
ดังขึ้นเรื่อย ๆ คำย่อ คือ cresc.

Crochet (ครอชเช็ต)
โน้ตตัวดำ

Cuivre (Fr. คูอีเวร)
เล่นเสียงแบบเครื่องลมทองเหลือง

Cupo (คูโพ)
ทึบ ,ขุ่นมัว

Cymbal (ชิมเบล)
ฉาบเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบประกอบขึ้นด้วยฝาโลหะสองฝาเมื่อนำมากระทบกันจะเกิดเสียงดังไม่มีระดับเสียงที่แน่นอนเวลาเล่นอาจใช้ทั้งสองฝาหรือฝาเดียวก็ได้หรือจะให้ฉาบติดตั้งบนขาตั้งก็ได้ลักษณะเสียงที่ได้นั้นมีมากมายตามลักษณะการเล่นอันหลากหลายเราสามารถทำเสียงยาวต่อเนื่องได้โดยใช้ไม้ตีกลองตีรัวบนขอบฝาฉาบหรือได้เสียงเดียวจากการตีแต่ละครั้งบนฝาฉาบข้างใดข้างหนึ่งส่วนฉาบคู่ที่ตรึงอยู่บนขาตั้งที่เรียกว่า ไฮแฮท (Hi - Hat) ซึ่งเวลาตีก็ต้องใช้เท้าเหยียบนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดสำหรับวงดนตรีประเภทเต้นรำด้วย

Csardas (Hung. ชาดาส)
เพลงเต้นรำประจำชาติของฮังการีตามปกติแล้วเพลงเต้นรำแบบนี้มีท่อนนำด้วยจังหวะช้าและทำนองเศร้าที่มีชื่อว่า lassu ก่อนแล้วจึงตามด้วยจังหวะเพลงเร็วแบบการเต้นรำอย่างเร่าร้อนที่เรียกว่า ฟริส หรือ ฟริสกา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

D

 

D ชื่อระดับเสียง (เร)

Da, dal, dallo, dalla (It. ดา, ดัล, ดัลโล, ดัลลา)
จาก, ที่, โดย, ไปยัง, สำหรับ, เหมือน

Da capo (It. ดา คาโป)
จากจุดเริ่มต้น คำย่อคือ D.C.

Da capo aI fine
หมายถึง จากที่เริ่มต้นจนถึงที่จบ

Da capo al segno
หมายถึง จากที่เริ่มต้นจนถึงเครื่องหมาย segno


D.C. al Fine
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงคำว่า Fine

D.C. al Segno
หมายถึง ให้กลับใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงเครื่องหมาย Segno

Dal segno (It. ดาล เซคโน)
ย้อนกลับจากเครื่องหมาย segno คำย่อคือ D.S.

D.S. al Fine
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่เครื่องหมาย D.S. แล้วเล่นจนถึงคำว่า Fine(ฟิเน่)

Dampfer (แดมพ์เฟอร์)
เครื่องลดความดังของเสียง

Dans (Fr. ด็อง)
ใน ,ภายใน

Debut (Fr. เดบู)
การปรากฏตัวครั้งแรกต่อสาธารณะชน การบรรเลงครั้งแรก

Decibel (เดซิเบล)
หน่วยวัดความดังของเสียง คำย่อคือ db.

Decide (Fr. เดซีเด)
แน่นอน, ตัดสินใจแล้ว

Deciso (It. เดซีโซ)
กล้าหาญ มั่นใจเต็มที่ ตัดสินใจเด็ดขาด เต็มไปด้วยพลัง

Decrescendo (It. ดีเครเชนโด)
เบาลงทีละน้อย ๆ คำย่อคือ decresc.

Degree (ดีกรี)
ระดับขั้นของโน้ตในสเกล เช่นโน้ต D เป็นระดับขั้นที่สองของบันไดเสียง C เมเจอร์

Dehors (Fr. เดท์ออร์)
ด้วยการย้ำอย่างหนักแน่น ทำให้เด่นออกมา

Delicato (It. เดลิคาโต)
ด้วยท่าทางอันเรียบร้อยและละเอียดอ่อน

Demi (Fr. เดมิ)
ครึ่ง

Demisemiquaver (เดมิเซมิเควเวอร์)
โน้ตตัวเขบ็ตสามชั้น

Desto (It. เดสโต)
สดชื่นมีชีวิตชีวา

Detache (Fr. เดตาเซ)
ซึ่งแยกออกจากกัน

Deutlich (Gr. ดอยทริชค์)
ใส ,เด่น

Di (It. ดิ)
ไปยัง ,โดย ,ของ, สำหรับ, กับ

Di molto (It. ดิ มอลโต)
อย่างมาก


Diatonic (เดียอาโทนิก)
1.หมายถึงเสียงที่เกิดขึ้นในบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์
2.การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบไดอาโทนิกหมายถึงการเคลื่อนที่ ไปยังโน้ตใกล้เคียงกันโดยมีชื่อโน้ตต่างกันขณะที่การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบโครมาติกจะเป็นการเคลื่อนที่ไปที่โน้ตชื่อเดียวกันเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเครื่องหมายแปลงเสียง


Diminished (ดิมินิชท์)
รูปแบบของคอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ตลำดับที่ 1 3b 5b ( C Eb Gb)

Diminuendo (It. ดิมินูเอนโด)
เบาลงเรื่อย ๆ คำย่อคือ dim, dimin.

Diminution (ดิมินูชั่น)
การย่อ การแสดงโมทีฟโดยตัวโน้ตที่มีอัตราจังหวะสั้นกว่าตัวโน้ตเดิมในโมทีฟนั้น ๆ

Dissonance (ดิสโซแนนซ์)
เสียงกระด้างขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่ฟังแล้วไม่รู้สึกผ่อนคลายและจำเป็นจะต้องเคลื่อนเข้าหาขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่มีเสียงสบายกว่าหรือเสียงที่กลมกล่อมกว่าการเคลื่อนที่จากเสียงกระด้างไปหาเสียงกลมกล่อมนี้เรียกว่า "การเกลา" ขั้นคู่เสียงกระด้างได้แก่คู่สอง คู่เจ็ด และสำหรับคอร์ด คือ อ็อกเมนเต็ด และดิมินิชท์ทุกคอร์ด

Distinto (ดิสทินโต)
ชัดเจน

Divertimento (It. ดิเวอร์ติเมนโต)
คีตลักษณ์คล้ายแบบของสวีทและซิมโฟนีปกติประกอบด้วยเพลงเต้นรำและท่อนเพลงสั้น ๆ บรรเลงโดยวงดนตรีขนาดเล็ก

Divisi (It. ดิวิซิ)
แบ่งแยกออกจากกันใช้ในบทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเพื่อบ่งชี้ว่าให้นักดนตรีซึ่งมีอยู่มากมายนั้นแยกกันเล่นโน้ตในคอร์ดนั้น ๆ คำย่อคือ div.

Dolce (It. ดอลเช)
อ่อนหวานนุ่มนวล

Dolente (lt. ดอลเลนเต)
เศร้าสร้อย หงอยเหงา


Dolore (lt. โดโรเร)
เศร้า เจ็บปวด เสียใจ

Dominant (ดอมิแนนท์)
ขั้นที่ห้าของบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ คอร์ดดอมิแนนท์ก็คือทรัยแอดที่สร้างบนโน้ตเสียงนี้

Dominant seventh (ดอมิแนนท์ เซเวนท์)
คอร์ดดอมิแนนท์ที่เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงเข้าไป เช่น G7 ( G B D F)


Doppio (It. ดอปปิโอ)
มากกว่าเป็นสองเท่า

Doppio movimento (It. ดอปปิโอ โมวิเม็นโต)
เร็วขึ้นเป็นสองเท่า

Doppio piu lento (It. ดอปปิโอ ปิว เล็นโต)
ช้าลงเป็นสองเท่า

Doroloso (It. ดอลโลโรโซ)
เศร้า, เซื่องซึม

Dorian mode (โดเรียน โมด)
โมดโดเรียน โมดที่ใช้ในเพลงโบสถ์ยุคกลาง ซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก D ไป D บนคีย์ขาวของเปียโน

Dot (ด๊อท)
จุด 1.จุดที่อยู่หลังตัวโน้ตนั้นย่อมเพิ่มความยาวเสียงอีกครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวนั้นดัง 2.จุดที่อยู่เหนือหรือใต้ตัวโน้ตโด หมายถึง ให้เล่นแบบสตั้กคาโต

Double bar (ดับเบิล บาร์)
1.ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงตอนหนึ่ง (ยังไม่จบเพลงทั้งหมด)
2.ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงนั้นหรือท่อนของบทเพลงนั้นโดยสมบูรณ์ไม่มีต่ออีกแล้ว

Double bass (ดับเบิลเบส)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

Double bassoon (ดับเบิลบาสซูน)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ที่ใช้ลิ้นคู่ ที่มีระดับเสียงต่ำ


Double flat (ดับเบิลแฟล็ท)
เครื่องหมายดับเบิลแฟล็ทจัดวางไว้ข้างหน้าโน้ตเพื่อทำให้โน้ตนั้นมีเสียงต่ำลงหนึ่งเสียงเต็ม

Double period (ดับเบิลพีเรียด)
ประโยคใหญ่คู่ประโยคใหญ่สองประโยคที่ประกอบกันอย่างสมดุลโดยแบ่งแยกกันด้วยลูกจบกลาง

Double sharp (ดับเบิลชาร์ป)
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์จัดวางไว้หน้าตัวโน้ตเพื่อทำให้ระดับเสียงของตัวโน้ตสูงขึ้นหนึ่งเสียง

Doubling (ดับบลิ้ง)
การซ้ำโน้ตการจัดให้เสียงในคอร์ดเสียงเดียวกันอยู่ในแนวเสียงมากกว่าหนึ่งแนว

Douce(ment) (Fr. ดูส์มาน)
อย่างอ่อนหวาน

Downbeat (ดาวน์บีท)
หมายถึงจังหวะตกที่จังหวะแรกของห้องปกติมักให้เน้น ในการอำนวยเพลงนั้นจังหวะตกเกิดขึ้นจากการใช้สัญญาณตวัดมือลง

Drangend (Gr. เดรนเกนด์)
เร็วขึ้น

Drone (โดรน)
1.ชื่อท่อเสียงที่ติดกับเครื่องดนตรีประเภทปี่สก๊อต แต่ละท่อจะทำเสียงได้หนึ่งเสียงเป็นเสียงยาวต่อเนื่องกัน
2.การซ้ำและยาวต่อเนื่องกันของเสียงเบส เหมือนเสียงโดรน (หรือเรียกว่า "เสียงเสพ" คือเสียงหลักที่ลากยาวอย่างต่อเนื่องจากการเป่าแคน) ที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เราเรียกว่า โดรนเบส

Druckend (Gr. ดรุคเคนด์)
หนัก เน้น


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Drum (ดรัม)
กลองเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบชนิดหนึ่ง
               1.สะแนร์ดรัม หรือกลองเล็ก ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะและสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่างสามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้และตีกลองเล็กด้วยไม้นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี
                2.เทเนอร์ดรัมมีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัมเป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลองไม้ที่ใช้ตีก็เป็นชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด
                 3.กลองใหญ่เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้านเสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ตตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้มชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้างใช้เพื่อทำเสียงรัว
                 4. กลองทิมปานี (หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะซึ่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบนเป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอนเมื่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยไม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล (ที่เหยียบ) ไม้ที่ใช้ตีก็มีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว


 

Duet (ดูเอ็ด)
บทประพันธ์สำหรับผู้เล่นสองคน

 


Dulcimer (ดัลซิเมอร์)
ขิมฝรั่งเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในยุคต้นที่ตีด้วยไม้ตีขิมเล็ก ๆ สองอัน

Duo (ดูโอ)
คู่หนึ่งหมายถึง duet

Duple time (ดูเพิ้ลไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทนับสองจังหวะในหนึ่งห้อง

Dynamic mark (ไดนามิก มาร์ค)
สัญลักษณ์และคำที่บ่งชี้ถึงความดังและความเบาของดนตรี เช่น เครเชนโด เดเครเชนโด p. f. ฯลฯ

 

 

 

E

 

 

E, ed (It. เอ, เอ็ด) ระดับเสียง E (มี)

Ecossaise (Fr. เอโคท์เสซ์)
เพลงเต้นรำของชาวสก๊อตเพลงเอโคท์เสซ์นี้เริ่มแรกมีปี่สก๊อตเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงคลอประกอบ และอยู่โนจังหวะj หรือ h ต่อมาจึงพัฒนาเป็นเพลงเต้นรำพื้นเมืองที่มีความเร็วในจังหวะ h เพลงประกอบด้วยสองวลี วลีละ 4 ห้อง เพลงหรือแปดห้องเพลงก็ได้พร้อมกับการกลับไปย้อนบรรเลงใหม่ด้วย

Edelmutig (Gr. เอเด็ลมูติก)
ชั้นสูง

Eifrig (Gr. ไอฟริก)
อย่างเร่าร้อน

Eigth note (เอท โน้ต)
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นซึ่งจำนวนแปดตัวโน้ตจะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัว และสองตัวโน้ตมีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำหนึ่งตัว

Eighth rest (เอท เรสท์)
การหยุดเสียงที่มีความยาวเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น

Eilig (Ger. ไอลิก)
รีบเร่ง

Einfach (Ger. ไอน์ฟัคซ์)
สบายสบาย

Elegy (เอลลิจิ)
บทเพลงประเภทเศร้าโศกเพลงไว้อาลัยซึ่งก็คือดนตรีซึ่งใช้ประกอบบทกวีที่เศร้า

Embellishments (เอมเบลลิชเมนต์)
การประดับประดาทางตัวโน้ตดนตรี

Embouchure (Fr. อองบูชัวร์)
1. ส่วนปากเป่า (กำพวด) ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทั้งหลาย
2. เทคนิคการใช้ริมฝีปากและลิ้น โนการเล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม

En (Fr. อ็อง)
ใน ,เหมือน, ในรูปแบบของ

En cedant (Fr. อ็อง เซด็อง)
ช้าลงทีละน้อย

En dehors (Fr. อ็อง เดอออร์)
ภายนอก

En mouvement (Fr. อ็อง มูเวอมอง)
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม

Energico (It. เอนาร์โจ)
ด้วยพลังอำนาจเข้มแข็ง

English horn (อิงลิชฮอร์น)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นคู่มีขนาดท่อยาวกว่าปี่โอโบจึงเรียกว่าอัลโตโอโบส่วนลำโพงมีลักษณะคล้ายลูกแพร์และท่อโลหะที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวลิ้นของปี่นั้นจะมีลักษณะโค้งห้อยไปทางหลังและงอทำมุมเครื่องดนตรีนี้ไม่ใช่ของอังกฤษและไม่ใช่แตรฮอร์นเสียงปี่มีลักษณะไปทางเศร้าและคล้ายเสียงขึ้นจมูกปี่อิงลิชฮอร์นเป็นเครื่องดนตรีประเภทต้องย้ายคีย์

Enharmonic (เอ็นฮาโมนิค)
แสดงถึงระดับเสียงเดียวกันที่เขียนต่างกัน เช่น A flat (Ab) เป็นระดับเสียงเดียวกันกับ G sharp(G#)

Ensemble (Fr. อองซอมเบลอะ)
การบรรเลงดนตรีซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เล่นหลายคน (ตรงกันข้ามกับการแสดงดนตรีคนเดียวที่มีผู้เล่นเพียงหนึ่งคนเท่านั้น) เป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีความหมายว่า ด้วยกัน

Equalmente (It. เอควาล์เมนเต)
สม่ำเสมอ ,เท่ากัน

Espansione (It. เอสเพนซิโยเน)
แสดงความรู้สึก

Espressione (It. เอสเปรซิโยเน)
ด้วยความรู้สึก


 

Espressivo (It. เอสเพรสซิโว)
ด้วยความรู้สึกลึกซึ้งและประทับใจ คำย่อคือ espress. etude (Fr. เอทู้ด) บทเพลงสำหรับนักศึกษาในการฝึกเรื่องเทคนิคการเล่นเครื่องดนตรีที่กำลังศึกษา เครื่องดนตรีนั้นอยู่ เป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีความหมายว่า "ศึกษา"

Etwas (Gr. เอทวาซ)
ค่อนข้าง

Euphonium (ยูโฟเนียม)
                   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าแตรทองเหลืองที่มีระดับเสียงต่ำกำพวดเป็นรูปถ้วยและที่กดนิ้วเป็นระบบลูกสูบในสหรัฐอเมริกาชื่อนี้ใช้เรียกแตรบาริโทนความจริงแตรนี้ก็คือบีแฟลตเบสทูบาขนาดย่อมยูโฟเนียมแบบอเมริกันมักสร้างให้มีลำโพงสองข้างข้างหนึ่งต้องการให้เหมือนเสียงทรอมโบน
                  อีกข้างหนึ่งให้เป็นเสียงบาริโทนจริงในอังกฤษจะสร้างให้ท่อของยูโฟเนียมมีขนาดใหญ่กว่าบาริโทน และจัดว่ามีระดับเสียงสูงสุดในตระกูลทูบาเมื่อเขียนบันทึกเสียงดนตรีโดยใช้โน้ตให้อยู่ในเบสเคลฟแล้วก็จะเป็นประเภทไม่ต้องย้ายคีย์ ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงแต่เมื่อเขียนโน้ตดนตรีให้อยู่ในเทร็บเบิ้ลเคลฟแล้วเหล่าโน้ตดนตรีที่ไต้นั้นจะมีลักษณะสูงกว่าเสียงจริงหนึ่งอ๊อกเทฟกับอีกหนึ่งเสียง

Evensong (อิเวนซอง)
บทสวดรอบค่ำในนิกายอังกฤษบทสวดเวสเปอร์ของนิกายคาทอลิค

Excercise (เอ็กเซอร์ไซซ์)
บทฝึกเทคนิค

Expression (เอ็กส์เพรสชั่น)
การแสดงออกทางด้านอารมณ์โดยผ่านออกมาทางด้านการแสดงดนตรีในลักษณะที่มีการปรับขนาดความดังความเบาและความเร็วของเพลง (การเร่ง การหน่วงและการเล่นตามอำเภอใจ)

Expressionism (เอ็กส์เพรสชั่นนิซึ่ม)
ดนตรีแบบหนึ่งเกิดขึ้นตอนต้นศตวรรษที่ 20 ดนตรีแบบนี้เป็นงานที่แสดงอารมณ์ของคีตกวีอย่าง ไม่ต้องเกรงใจคนฟังเลย

 

 

 

 

 

 

F

 

F (เอฟ)
1. ชื่อระดับเสียงฟา
2. อักษรย่อของคำว่า forte แปลว่า ดัง

F clef (เอฟ เคลฟ)
หมายถึง เบสเคลฟ

Faciele (It. ฟาซีเล) facile (Fr.)
ง่าย ,คล่อง.

Falsetto (It. ฟัลเสตโต)
เสียงที่ร้องดัดให้สูงขึ้นกว่าเสียงร้องตามปกติ

Fandango (Sp. ฟันดังโก)
เพลงเต้นรำอย่างมีชีวิตชีวาของสเปนในจังหวะประเภทนับ 3 (สามจังหวะในหนึ่งห้อง) เพลงเต้นรำฟันดังโกเป็นเพลงเต้นรำโดยนักเต้นคู่หนึ่งพร้อมด้วยเครื่องดนตรี กีตาร์, คาสทะเนทส์และการขับร้องร่วมทำดนตรีคลอประกอบด้วยเพลงนี้ปรากฏครั้งแรกที่สเปน ในศตวรรษที่ 18

Fanfare (It. แฟนแฟร์)
การแสดงอวดอย่างสง่าของเหล่าแตรทรัมเป็ต

Fantasia (It. ฟานเตซีอา), fantaisie (Fr. ฟานต์ซี), fantasie (Ger.), Fantasy (Eng. แฟนตาซี)
1. คีตลักษณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17และ 18 โดยมีพื้นฐานจากการร้อง ล้อเลียนกันอย่างอิสระ
2. ผลงานดนตรีที่นักประพันธ์เขียนขึ้นตามความรู้สึกไม่ได้เขียนตามข้อกำหนดไว้ของคีตลักษณ์

Feirlich (Gr. ไฟร์ลิคซ์)
สนุกสนาน

Fermamente (It. เฟอร์มาเม็นเต)
อย่างมั่นคง เด็ดเดี่ยว

Fermata (It. เฟอมาตา)
การลากเสียงยาวเพิ่มขึ้นหรือหมายถึงการหยุดเสียงเครื่องหมายเฟอมาตาจะเพิ่มค่าเวลาของตัวโน้ตหรือตัวหยุดตามที่เครื่องหมายนี้กำกับไว้ข้างบน ซึ่งจะเพิ่ม ความยาวเท่าใดนั้นให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติ


 

Feroce (It. แฟรโรเช)
ป่าเถื่อน ,ดุร้าย

Festevole (It. เฟสเตโวเล)
สนุกสนาน ร่าเริง

Feu (Fr. เฟอ)
ไฟ เร่าร้อน

Fiddle (ฟิดเดิ้ล)
เป็นภาษาแสลงของคำว่าไวโอลิน และรวมใช้สำหรับสมาชิกอื่น ๆ ในตระกูลเครื่องสาย เช่น เบสฟิดเดิ้ล

Fiere (Fr. ฟิแอร์)
ภูมิใจ, ชั้นสูง

Fife (ไฟฟ์)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ที่มีขนาดเล็กเหมือนขลุ่ย ฟลูท แต่ไฟฟ์มีเสียงสูงกว่าหนึ่งอ๊อกเทฟ มีรูปิดเปิดหกถึงแปดรูและไม่มีคีย์สำหรับปิดเปิดรู ส่วนใหญ่ใช้ในวงขลุ่ยไฟฟ์และหมวดกลอง

Fifth (ฟิฟท์)
1.ช่วงคู่เสียงของเสียงแบบไดอาโทนิก 5 เสียง

Figure (ฟิกเกอร์)
ประกายความคิด ส่วนที่สั้นที่สุดของแนวความคิดทางดนตรี

Fin (Fr. แฟง)
จบ

Fine (It. ฟิเน)
จบ

Finale (It. ฟิน่าเล)
ส่วนสรุปจบหรือส่วนท้ายสุดของท่อนในบทประพันธ์เพลงบทหนึ่ง

Fine (It ฟิเน)
จบ ,ปิดฉากลง D.C.al Fine หมายถึง ให้กลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ และเล่นจน ถึงคำว่า Fine

First inversion (เฟริท์อินเวอร์ชั่น)
การพลิกกลับครั้งที่หนึ่งการเรียงตัวใหม่ของคอร์ดเพื่อให้โน้ตตัวที่สามอยู่ในแนวล่างสุด

Flag (แฟล็ก)
เขบ็ตเส้นตรงที่ลากจากก้านโน้ต เพื่อแสดงว่าตัวโน้ตนั้นมีอัตราจังหวะสั้นกว่าโน้ตตัวดำ

Flageolet (แฟล็กจะโอเลท)
1. เครื่องดนตรีรูปร่างคล้ายฟลูท ซึ่งจัดเข้าอยู่ในตระกูลนกหวีด (เป่า)
2. ปุ่มสำหรับให้เสียงขลุ่ยระดับเสียงสูงในเครื่องดนตรีออร์แกน

Flamenco or cante flamenco (Sp. ฟลาเมงโก)
ชื่อระบำหรือดนตรีของสเปนในสไตล์ยิปซีมีรากฐานมาจากคำว่า Canre .Id. ซึ่งบรรยายถึงอารมณ์และโศกนาฏกรรมแบบเพลงชาวอันดาลูเชี่ยนในตอนต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับความนิยมและมีสีสันมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชื่อฟลาเมงโกอาจจะใช้เป็นคำอธิบายถึงเครื่องแต่งกายสีฟลาเมงโกของชาวยิปซีปกติแล้วเพลงจะเริ่มต้นด้วยคำว่า "อาย" หรือ "เลลิ" ซึ่งมีพิสัยขั้นคู่เสียงหก และโดยทั่วไปจะคลอประกอบด้วยกีตาร์

Flat (แฟล็ท)
เครื่องหมายแฟล็ทนี้เมื่อวางข้างหน้าโน้ตตัวใดแล้ว โน้ตตัวนั้นจะมีเสียงต่ำลงครึ่งเสียง

Flautando (It. เฟลาตานโด)
เหมือนฟลูท ใส

Fling (ฟลิง)
การเต้นรำแบบสก๊อต ซึ่งเหมือนกับเพลงเต้นรำรีลปกติจะอยู่ในจังหวะ o

Fluchtig (Gr. ฟลุคช์ทิก)
อย่างละเอียดอ่อน

Flute (ฟลูท)
                      ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งจัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ขลุ่ยฟลูทมีท่อกลวงทำเสียงได้โดยการเป่าผ่านส่วนปากเป่า (ที่เจาะไว้ด้านบนของท่อนส่วนปากเป่า) ที่น่าแปลกคือส่วนปากเป่าท่อนนี้มีลักษณะความกว้างของท่อไม่เท่ากันคือจะตีบเรียวลงจนถึงส่วนปลายสุดของท่อนกลไกการปิดเปิดรูและระบบการวางนิ้วของฟลูทสมัยใหม่ได้รับการออกแบบโดยทีโอบัลด์ โบเอม (เกิดปีค.ศ 1793)
                     ถึงแม้ว่าขลุ่ยฟลูทจะจัดไว้เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ก็ตามแต่ขลุ่ยฟลูทในปัจจุบันนี้ก็ทำด้วยโลหะเสียงของฟลูทมีลักษณะใสชัดเจนเหมือนโลหะเงินอีกทั้งเป่าขึ้นเสียงสูงได้ดีฟลูทเป็นเครื่องดนตรีประเภทไม่ต้องย้ายคีย์ (เสียงที่เกิดขึ้นจริงจะตรงกับที่เขียนบันทึกไว้)

Folk music (โฟล์ค มิวสิก)
คือดนตรีที่บรรยายถึงวัฒนธรรมประเพณีและอารมณ์ของประชาชนในชนบทหรือกลุ่มชนส่วน ต่าง ๆ ดนตรีโฟล์คเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นท่ามกลางผู้คน ไม่ได้เกิดจากการแต่งอย่างเป็นกิจลักษณะ ตัวอย่างเพลงโฟล์คของอเมริกันก็มีเพลงชาวเขา เพลงเคาว์บอยและเพลงนิโกรสปีริชวล

Form (ฟอร์ม)
แบบแผนหรือรูปแบบในการประพันธ์เพลง ประกอบด้วยคีตลักษณ์ 7 ชนิด คือ
1. ไบนารี่แบบธรรมดาประกอบด้วยคีตลักษณ์ชนิด 2 ส่วน
2. เทอนารี่แบบธรรมดาประกอบด้วยคีตลักษณ์ชนิด 3 ส่วน
3. คอมเปานด์ไบนารี่หรือที่เรียกว่าโซนาตาฟอร์ม
4. รอนโด
5. ทีมแอนด์แวริเอชั่น
6. ฟิวก์
7. คีตลักษณ์แบบต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่มีการซ้ำหรือพัฒนาต่อไปตัวอย่างเช่นพรีลูดบทแรกของ เจ เอส บาคชื่อว่า เดอะเวลล์เทมเปอร์คลาเวียคีตลักษณ์ทั้งเจ็ดชนิดสามารถผสมผสานเข้าด้วยกันได้มากมายหลายวิธี

Forte (It. ฟอร์เต)
ดัง

Fortissimo (It. ฟอร์ติสซิโม)
ดังมาก (ตัวย่อ ff.)

Forza (It.ฟอร์ซา)
เน้น Forzando (It. ฟอร์ซานโด) forzato (It. ฟอร์ซาโต) ด้วยการเน้นทันทีทันใด หรือการย้ำออกเสียงดัง การเน้นเช่นเดียวกับคำว่า sforzando

Fourth (ฟอร์ท)
1. ขั้นคู่เสียงของโน้ตสี่ตัว จากการเรียงแบบไดอาโทนิก
2. ขั้นที่สี่ในบันไดเสียงแบบไดอาโทนิก ซับดอมิแนนท์

Frei (Gr. ฟราย)
อิสระ

Freimutig (Gr. ฟรายมูติก)
อย่างตรงไปตรงมา

French horn (เฟรนช์ฮอร์น)
                   เครื่องเป่าประเภทแตรทองเหลืองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะท่อแตรขยายออกไปตลอดถึงปากลำโพง มีกำพวดแบบรูปกรวย และลูกสูบแตรซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มจากแตร ในยุคแรก ๆ ทำให้สามารถเล่นบันไดเสียงแบบโครมาติกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดระยะช่วงเสียงอันกว้างเสียงแตรฮอร์น มีลักษณะกลมกล่อม และเมื่อเป่าขึ้นไปในช่วงเสียงสูง ๆ จะมีความสง่างาม และค่อนข้างจะเป็นลักษณะคมจ้าแบบแตรในช่วงกลาง ๆ เสียงที่สูงมากและต่ำมากนั้นจะเล่นยากแตรเฟรนช์ฮอร์นนั้นสร้างได้ทั้งใน แบบ F และ Bb แต่สามารถรวมทั้งสองแบบเข้าไว้ในตัวแตรเครื่องเดียวกัน (ที่เรียกว่าดับเบิลฮอร์น) ได้ แตรเฟรนช์ฮอร์นเป็นแตรที่ต้องย้ายคีย์

Frets (เฟรทส์)
ขีดแบ่งเส้นบนแผงวางนิ้วของเครื่องดนตรีแบนโจ, กีตาร์ ,ลูท ,แมนโดลิน ,ซีตาร์ ฯลฯ เพื่อจัดให้มีระยะช่องห่างที่แน่นอนเหมาะกับตำแหน่งการวางนิ้วกดสายให้ได้เสียงต่าง

Fretta (เฟรทตา)
รีบเร่ง

Frisch (Gr. ฟริสซ์)
มีชีวิตชีวา

Frohlich (Gr. โฟร์ลิคช์)
สนุกสนาน

Fruheres zietmass (Gr. ฟูเฮเรส ซายท์มาส)
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม

Fugue (ฟิวก์)
                     การประพันธ์เพลงที่พัฒนามากที่สุดแขนงหนึ่งนิยมประพันธ์ในสมัยบาโรค ในบทประพันธ์เพลงประเภทคอนทราพันทัลมาจากคำภาษาลาตินว่า ฟูกา (fuga) ซึ่งหมายถึง "บิน" การประพันธ์แบบฟิวก์จะเริ่มด้วยทำนองที่เรียกว่าซับเจคท์ (Subject) เป็นการเน้นทำนองแบบที่หนึ่งก่อนต่อมาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยทำนองที่เรียกว่าอานเซอร์ (answer) ซึ่งคล้ายกับซับเจคท์แต่เริ่มที่เสียงอื่น ๆ (โดยปกติเป็นคู่ 5 หรือคู่ 4ของคีย์) และจะมีแนวอื่นๆ (ปกติมีสองถึงห้าแนว) มารับโดยแนวอื่น ๆ นั้นเข้ามาทีละแนวทำนองส่วนที่ไม่ได้อยู่ในซับเจคท์ เรียกว่า เอพพิโซด (Episode)นอกจากนั้นหากเป็นทำนองที่เกยกันอยู่สองถึงสามแนว เรียกว่า สเตร็ทโตแพสเสจ (Stretto Passage)

Full cadence (ฟลูคาเด้น)
ลูกจบท้ายการดำเนินคอร์ดจาก V ไป I ซึ่งทำให้รู้สึกจบในลูกจบสมบูรณ์นั้นเสียงสูงที่สุดจบที่โทนิก ส่วนในลูกจบไม่สมบูรณ์นั้นเสียงสูงที่สุดจบที่โน้ตตัวอื่นนอกเหนือจากโทนิก

Full orchestra (ฟลูออร์เคสตรา)
วงออร์เคสตราที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเต็มอัตราโดยใช้เครื่องดนตรีครบทั้ง 4 ประเภท คือ string instruments, wood-wind instruments, brass-wind instruments, และ percussion instruments

Fundamental (ฟันดาเมนทัล)
1. ตัวพื้นต้นของคอร์ด, เสียงแรกที่เป็นตัวสร้างคอร์ด, ราก
2. เสียงฮาร์โมนิกตัวแรกในอนุกรมโอเวอร์โทน (overtone series)


Funebre (It. ฟูเนเบร, Fr. ฟูเนเบลอ)
เศร้า มืดมน

Furioso (It. ฟูริโอโซ)
หยาบ ,ป่าเถื่อน ,ดุเดือด ,บ้าคลั่ง

Futurism (ฟอทูริซึ่ม)
ดนตรีแบบหนึ่งซึ่งมีการเคลื่อนไหวราวปี 1910 คีตกวีในลัทธินี้จะใช้ปืนกลไซเรน, นกหวีดไอน้ำ, เครื่องพิมพ์ดีดและอะไรต่อมิอะไรสารพัดที่มีเสียง มาใส่ในดนตรีของเขาซึ่งใช้วงออร์เคสตราอยู่แล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            

G

 

G (จี) ชื่อระดับเสียงซอล

G clef (จี เคลฟ)
กุญแจซอลหรือ เทร็บเบิ้ลเคลฟ

Gai (Fr. เก)
สนุกสนานมีชีวิตชีวา, พอใจ

Galliard (กาลยาร์ด)
เพลงเต้นรำสนุกสนานแบบหนึ่งปกติอยู่ในจังหวะประเภทนับสาม(สามจังหวะในหนึ่งห้องหรือ k) มีลีลารวดเร็วเพลงกาลยาร์ดได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 16 ถึงตอนกลางศตวรรษที่ 17 มักบรรเลงต่อจากเพลงเต้นรำที่ชื่อ พาวาน (pavan) (ที่มีความช้าและสม่ำเสมอมากกว่า)

Gavotte (Fr. กาวอท)
เพลงเต้นรำของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 อยู่ในคีตลักษณ์แบบสองส่วนแต่ละวลีแต่ละส่วนจะเริ่มในจังหวะกลางของห้องเพลงเพลงเต้นรำกาวอทนี้มักเป็นเพลงหนึ่งในบทเพลงประเภทสวีท (suite)

Gedampft (Ger. เกแดมพ์)
ใช้เครื่องลดความดัง

Gefuhl (Ger. เกฟุล)
ความรู้สึก

Gehend (Ger. เกเฮน)
ช้าปานกลาง เท่าความเร็วของการเดิน

Geist (Ger. ไกสด์)
วิญญาณ, จิตใจ

Gemachlich (Ger. เกเม็คลิคช์)
สบาย ๆ ไม่เร่งรีบ

Gewichtig (Ger. เกวิคทิก)
ไตร่ตรอง ,หนักแน่น


 

Gigue or giga, jig (It. จิก)
เรียกอีกชื่อว่า "จิก" (jig) เป็นเพลงเต้นรำอิตาเลียนในยุคแรกซึ่งอาจมีชื่อมาจากคำว่า "จิกกา" (giga) ที่หมายถึงชื่อเครื่องดนตรีประเภทวิโอลชนิดหนึ่ง เพลงจิกนี้แต่งอยู่ในเครื่องหมายกำหนดจังหวะมากมาย เช่น m,u, และt มักใช้เป็นขบวนสุดท้ายของบทเพลงประเภทสวีทที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18

Giocoso (It. โจโคโซ)
ในเชิงการละเล่น รื่นเริง

Giusto (It. จุสโต)
เคร่งครัดเที่ยงตรง

Glanzend (Gr. เกล็นเซ็น)
สดใส, สว่าง

Glissando (It. กลีซานโด)
                   โน้ตดนตรีหลายเสียงที่เล่นติดต่อกันอย่างรวดเร็วกลีซานโดที่เล่นบนเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดทำได้โดยการใช้นิ้วมือหนึ่งนิ้วของผู้เล่นกดผ่านคีย์แบบไถลเลื่อนติดต่อกันไปถ้าหากเล่นจากเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (สี) ก็ทำได้โดยการรูดนิ้วไปตามสายในขณะที่สีไปด้วยกลีซานโดอาจจะเล่นได้จากเครื่องลมไม้บางประเภทมักจะได้ยินบ่อยครั้งจากเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีฮาร์ฟ (พิณ) ซึ่งทำได้ด้วยการใช้นิ้วหนึ่งนิ้วกรีดไปบนสายเสียง คำย่อคือ gliss.

Glockenspiel (Gr. กลอคเคิ่นสปีล)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ
1. ท่อนเหล็กซึ่งมีระดับเสียงทางดนตรี 1 ชุด มีลักษณะการเรียงคล้ายคีย์บอร์ดประเภทเปียโน เล่นโดยใช้ไม้ตี 2 อัน
2. เบลไลร่าเป็นกลอคเคิ่นสปีลชนิดที่พกพาไปได้ Gondoliera (It. กอนโดเลียรา) เพลงเรือชนิดหนึ่ง

Gong (กอง)
ฆ้อง

Grace note (เกรส โน้ต)
โน้ตตัวเล็ก ไม่มีอัตราจังหวะที่เขียนหน้าตัวโน้ตที่ต้องการให้เล่นสบัดเสียงจากเสียงหนึ่งไปเสียงหนึ่ง เช่น จากเสียงโดชาร์ปไปเสียงเร

Gracieux (Fr. กราสิเยอ)
สง่างาม


 

Grand staff (แกรนด์สต๊าฟ)
บรรทัดห้าเส้นคู่ (อาจเรียกว่า บรรทัดห้าเส้นใหญ่ หรือ บรรทัดห้าเส้นของเปียโน) การเชื่อมบรรทัดห้าเส้นของกุญแจเทร็บเบิ้ล และกุญแจเบสโดยใช้วงเล็บหรือปีกกา

Grandioso (It. กรันดิโอโซ)
สง่างาม ,กล้าหาญ

Grave (It. กราเว่, Fr. กราท์เว)
ช้าอย่างเคร่งขรึม, ช้ากว่าเลนโตแต่เร็วกว่าลาร์โก

Grazioso (It. กราซิโอโซ)
รื่นเริงบันเทิงใจ

Gregorian chant (เกรเกอเลียน แชนท์)
เพลงสวดของศาสนาโรมันคาทอลิกซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่โดยสันตะปาปาเกร็กกอร์รี่ที่ 1 (ค.ศ.590-604)

Guiro (Cu. กิโร)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบใช้ในเพลงลาตินอเมริกากิโรทำจากลูกบวบแห้งที่มีรอยบากอยู่ส่วนบน เมื่อใช้ไม้ขูดไปตามรอยบากแล้วจะเกิดเสีย

Guitar (กีตาร์)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเล่นโดยวิรีการใช้เพล็คทรัม (Plectum ) คือนำวัสดุแผ่นเล็กและบางดีดหรือกรีดไปบนสายเสียง (หรือจะใช้นิ้วผู้เล่นก็ได้) กีตาร์ที่มีหกสายนี้จะมีส่วนหลังและส่วนหน้าเป็นแผ่นแบนมีแผงกดนิ้วซึ่งมีขีดแบ่งสายด้วยปัจจุบันเรามักจะติดอุปกรณ์ส่วนที่เป็นไมโครโฟนและส่วนขยายเสียงเข้าไว้กับกีตาร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

H

 

Habanera (Sp.อาบาเนรา)
เพลงเต้นรำแบบช้าของชาวคิวบาซึ่งได้รับความนิยมในประเทศสเปนเพลงอาบาเนรานี้อาจมีกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกาบทเพลงจะเริ่มด้วยการเกริ่นนำสั้น ๆ แล้วตามด้วยดนตรีสองส่วนซึ่งประกอบด้วย 8 ห้องเพลงและ 16 ห้องเพลงตามลำดับ

Half cadence (ฮาล์ฟคาร์เด้น)
ลูกจบกลาง

Half note (ฮาล์ฟ โน้ต)
หมายถึงโน้ตตัวขาวซึ่งจำนวนโน้ตสองตัวนี้รวมค่าความยาวเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและโน้ตตัวดำสองตัวรวมค่าความยาวเท่ากับโน้ตตัวขาวหนึ่งตัว

Half rest (ฮาล์ฟ เรสท์)
ตัวหยุดโน้ตตัวขาวสัญลักษณ์ให้หยุดออกเสียง มีค่าเท่ากับตัวโน้ตตัวขาวหนึ่งตัว

Half step (ฮาล์ฟ สเต็ป)
ขั้นครึ่งเสียง (อาจเรียกว่าเซมิโทน หรือ m2 , ขั้นคู่ 2 ไมเนอร์) ขั้นคู่ที่เล็กที่สุดในดนตรีตะวันตก

Hammerklavier (Gr. ฮามเมอร์คลาเวียร์)
ชื่อเยอรมันดั้งเดิมที่หมายถึงเปียโนบทเพลงโซนาตาของเบโธเฟนโอปุส 106 นั้นตามปกติแล้วเรียกว่า ฮามเมอร์คลาเวียร์ โซนาตา

Harmonic minor scale (ฮาร์โมนิก ไมเนอร์สเกล)
บันไดเสียงฮาร์โมนิกไมเนอร์บันไดเสียงที่เกิดจากการยกระดับขั้นที่ 7 ของเนเจอรัลไมเนอร์ ขึ้นครึ่งเสียง

Harmonics (ฮาร์โมนิกส์)
เป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายโดยวิธีการแตะนิ้วเพียงเบา ๆ ณ จุดต่าง ๆ ที่ระยะแบ่งครึ่งหรือเศษหนึ่งส่วนสี่บนสายเสียงเครื่องดนตรีเพื่อให้เกิดเสียงสูงกว่าการกดนิ้วแบบธรรมดา(กดติดแผงวางนิ้ว) ณ จุดเดียวกันและในห้วงเวลาเดียวกัน

Harmonic progression (ฮาร์โมนิกส์โปรเกรสชั่น)
การดำเนินเสียงประสานกลุ่มของคอร์ดซึ่งเป็นฐานของทำนองหรือบทประพันธ์นั้นบางครั้งอาจเรียกว่า เสียงประสานพื้นฐาน

Harmonic rhythm (ฮาร์โมนิกส์ริธึ่ม)
จังหวะของเสียงประสานรูปแบบของจังหวะที่กำหนดในการเปลี่ยนเสียงประสาน

Harmonization (ฮาร์โมไนซ์เซชั่น)
การใส่เสียงประสาน การใส่คอร์ดที่เหมาะสมให้กับทำนอง

Harmony (ฮาร์โมนี)
1. การผสมเสียงเข้าด้วยกัน เช่น คอร์ด
2. ความสัมพันธ์ระหว่างอนุกรมของคอร์ด โครงสร้างของคอร์ดในคีตนิพนธ์

Harp (ฮาร์ป)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย พิณเสียงจากการใช้นิ้วดีดสายเสียงของเครื่องดนตรีปกติแล้วมี 47 สายและที่เหยียบเพดดัล 7 อันเพดดัลแต่ละอันจะควบคุมสายเสียงแต่ละชุดเช่น เพดดัล อันหนึ่งจะบังคับสายเสียง C ทั้งหมดและอีกอันหนึ่งจะบังคับสายเสียง D ทั้งหมดฮาร์ปเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่ราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ

Harpsichord (ฮาร์ปซิคอร์ด)
เครื่องดนตรีที่เกิดก่อนเปียโนสายเสียงภายในเครื่องดนตรีจะถูกเกี่ยวด้วยไม้ดีด (quills) ขณะที่เรากดคีย์ลงไป (ตรงข้ามกับเปียโนซึ่งใช้ค้อนเคาะ) ฮาร์ปซิคอร์ดไม่อาจให้เสียงที่ดังหรือเบาตามลำดับได้อย่างไรก็ตามก็มักจะมีคีย์บอร์ดสองแผงคือแผงหนึ่งจะให้เสียงดังอีกแผงหนึ่งจะให้เสียงเบาปุ่มหรือเครื่องพ่วงใช้เพื่อเชื่อมสายเสียงแต่ละชุดทำให้เกิดเสียงหลายอ๊อคเทฟจากการกดเพียงคีย์เดียวเท่านั้น ฮาร์ปซิคอร์ดได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่สิบ 16 ถึงศตวรรษที่ 18

Heftig (Ger. เฮฟทิก)
ดุเดือด, เครียด, โกรธ

Heimlich (Ger. ฮายม์ลิคช์)
ลึกลับ

Heiter (Ger. ฮายเตอร์)
เรียบ ๆ สดใส สนุกสนาน

Hold (โฮล์ด)
ยืดออกไป

Homophonic (โฮโมโฟนิค)
ดนตรีโฮโมโฟนีหมายถึงดนตรีที่มีแนวเสียงหลัก 1 แนวเสียงและมีเสียงประสานประกอบเสียงหลักนั้น

Hopak (Ru. โฮปัก)
เรียกอีกชื่อว่าโกปัก (gopak) เพลงระบำที่มีชีวิตชีวาของรัสเซียอยู่ในจังหวะประเภทนับ 2 (h)

Hornpipe (ฮอร์นไปป์)
เป็นเพลงเต้นรำพื้นเมืองเก่าแก่ของอังกฤษลักษณะเพลงมีชีวิตชีวาเพลงฮอร์นไปป์ได้รับความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 โดยเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ชาวกลาสีเรือเพลงฮอร์นไปป์ในศตวรรษที่ 17และ 18 จะอยู่ในจังหวะ j และต่อมาเปลี่ยนเป็นจังหวะ o

Hubsch (Gr. ฮุบช์)
มีเสน่ห์ ,สวยงาม

Hunting horn (ฮันติ้ง ฮอร์น)
เครื่องดนตรีประเภทแตรทองเหลืองที่มีรูปลักษณ์เป็นท่อขดเป็นวงไว้โดยไม่มีลูกสูบฮั้นติ้งฮอร์นเป็นบรรพบุรุษของเฟรนช์ฮอร์นใช้ในการล่าสัตว์และสวมใส่ไว้บนบ่าของผู้เล่นเป็นแตรแบบธรรมชาติชนิดหนึ่ง

Hurtig (Gr. ฮูติก)
เร็ว

Hymn (ฮิม)
เพลงศาสนาหรือเพลงศักดิ์สิทธิ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

I

 

Im ersten zeitmass (Gr. อิม แอร์เต็น ซายท์มาส )
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม

Imitation (อิมิเทชั่น)
ลูกล้อ ,การซ้ำเนื้อหาทำนองเดียวกันโดยแนวเสียงต่าง ๆ กัน

Immer (Gr. อิมเมอร์)
เสมอ

Immer im tempo (อิมเมอร์ อิม เทมโป)
รักษาจังหวะเดิมไว้

Immer belebter (Gr. อิมเมอร เบเล็บเทอ)
มีชีวิตชีวามากขึ้นทีละน้อย

Immer langsamer werden (Gr. อิมเมอร์ ลางซัมเมอ แวร์เด็น)
ช้าลงทีละน้อย

Imperfect authentic cadence (อิมเพอร์เฟค ออร์เทนทิค คาร์เด็น)
ลูกจบไม่สมบูรณ์ ลูกจบท้ายซึ่งมีแนวเสียงที่สูงที่สุดจบในตัวโน้ตอื่นที่ไม่ใช่โทนิก

Imperfect cadence (อิมเพอร์เฟค คาร์เด็น)
ลูกจบไม่สมบูรณ์

Impressionism (อิมเพรชชั่นนิซึ่ม)
ดนตรีแบบหนึ่งตอนปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20

Impromptu (อิมพร้อมทุ)
เพลงที่เขียนในลักษณะอิสระเสรี มีคีตลักษณะไม่แน่นอนนิยมกันในยุคโรแมนติก (ศตวรรษที่ 19) อิมพร้อมทุมักให้ความรู้สึกถึงการด้นเพลงคือในลักษณะเล่นไปแต่งไป

Improvisation (อิมโพรไวเซชัน)
การเล่นดนตรีอย่างพลิกแพลงโดยใส่กลเม็ดเด็ดพรายเอาเองไม่ได้เตรียมไว้หรือถูกกำหนดด้วยความสามารถของผู้เล่น ที่ภาษาไทยเราเรียกว่า "การด้น" หรือ "คีตปฎิภาณ"


 

Incalzando (It. อินคาลซานโด)
อย่างรีบเร่ง

Incidental music (อินสิเดนทัล มิวสิก)
ดนตรีประกอบละคร ละครกรีกมักจะมีดนตรีประกอบเช่นเดียวกับละครของเชคสเปียร์ละครสมัยใหม่ส่วนมากก็ใช้ดนตรีประกอบละครด้วย

Indesciso (It. อินเดซิโซ)
ตัดสินใจไม่ได้ ,ลังเลใจ

Innig (Ger. อินนิก)
คุ้นเคยด้วยจิตใจ

Inquieto (It. อินควีเอโต)
กระสับกระส่าย

Instrumentation (อินสทรูเม้นเทชั่น)
การเลือกใช้เครื่องดนตรีการเลือกใช้เครื่องดนตรีในบทประพันธ์

Interval (อินเทอร์วอล)
ระดับเสียงที่แตกต่างกันระหว่างเสียงสองเสียงขั้นคู่เสียงไดอาโทนิกอาจเป็นลักษณะพลิกกลับ คือ ขั้นคู่เสียงชนิดเมเจอร์เมื่อพลิกกลับแล้วจะเป็นไมเนอร์ ในทำนองเดียวกันขั้นคู่เสียงชนิดไมเนอร์เมื่อพลิกกลับจะเป็นเมเจอร์ส่วนขั้นคู่เสียงเพอร์เฟคยังคงเป็นเพอร์เฟค ถึงแม้จะพลิกกลับแล้วก็ตาม

Intonation (อินโทเนชั่น)
การทำให้มีระดับเสียงถูกต้องจะด้วยวิธีการเล่นหรือการร้องก็ตาม


Invention (อินเวนชั่น)
เป็นชื่อที่ เจ.เอส.บาค คิดขึ้นใช้ในการแต่งเพลงประเภทสองแนวและสามแนว อินเวนชั่น (บทเพลงสั้น ๆ ที่เขียนในลักษณะของเคาร์เตอร์พอยท์แบบอิสระ)

Inversion (อินเวอร์ชัน)
การพลิกกลับ
1. ขั้นคู่เสียงที่มีการพลิกกลับโดยให้โน้ตตัวต่ำกว่ากลับขึ้นไปอยู่สูงกว่าเดิมหนึ่งอ๊อคเตฟ
2. คอร์ดจะอยู่ในลักษณะพลิกกลับ หากทำให้โน้ตตัวใดตัวหนึ่ง (นอกจากโน้ตตัวพื้นนั้น) อยู่ต่ำสุดสำหรับคอร์ดนั้น ๆ


Irresoluto (It. อีเรโซลูโต)
อย่างตัดสินใจไม่ได้มีอาการลังเล

Istesso (It. อิสเตสโซ)
เหมือนกัน

Istesso tempo (It.อิสเตสโซ เทมโป)
อัตราความเร็วเหมือนเดิม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

J

 

Jam session (แจมเซสชั่น)
การเข้าร่วมเล่นดนตรีแจ๊สอย่างไม่เป็นทางการ โดยไม่ต้องใช้โน้ตดนตรี

Jazz (แจ๊ส)
                ดนตรีแจ๊สมีรูปแบบมากมาย (เริ่มตั้งแต่แรกไทม์และพัฒนาเรื่อยมาทั้งทางด้านเสียงประสานและจังหวะมีชื่อเรียกต่างกันตามรูปแบบเพลงบูลส์, บูกี้วูกี้, สวิงและ ,บีบ๊อบ) ดนตรีแจ๊สเป็นรากฐานแบบอย่างดนตรีเต้นรำของชาวอเมริกันตั้งแต่ปลายศตวรรษ 1900 เมื่อครั้งนักดนตรีข้างถนนชาว นิโกรในเมืองนิวออร์ลีนส์ดัดแปลงจังหวะแบบอาฟริกันและทำนองเพลงไปเป็นดนตรีแบบใหม่
              1.เพลงแรกไทม์ (ragtime) เป็นดนตรียุคแรกสุดของดนตรีแจ๊ส มีเสียงประสานที่เรียบง่ายใช้เพียงแต่คอร์ด I - IV และ V จังหวะก็อยู่ในลักษณะ2 ถึง 4 ต่อห้องเพลง และเล่นอยู่ในแบบฉบับที่ตายตัวมากเนื่องจากนักดนตรีส่วนใหญ่อ่านโน้ตไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีด้นแนวดนตรีของตนเอง
              2.เพลงบูลส์ (blue) ได้รับความนิยมราวปีศตวรรษ 1912 แรกเริ่มนั้นคือเพลงสำหรับร้องมีจังหวะช้ากว่าเพลงแรกไทม์เสียงประสานก็ซับซ้อนกว่าเพราะใช้คอร์ดพวกเซเวนมากและใช้การด้นสั้น ๆ บ่อยครั้ง
               3. เพลงบูกี้วูกี้ (boogie-woogie) เริ่มในปีศตวรรษ 1920 มีลักษณะสำคัญคือ การซ้ำทำนองเบสด้วย โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นในจังหวะ o และมีการด้นทำนองอย่างอิสระ
              4. เพลงสวิง (swing) ได้รับการพัฒนามาจากแบบแรก ๆ ใช้เสียงประสานที่มากกว่า คือ ใช้ทั้งคอร์ด 7 และคอร์ด 9 จังหวะก็อยู่ในลักษณะประเภทนับสองและนับสี่แต่มีความราบรื่นประเภทสามพยางค์ ซึ่งให้อารมณ์ดีกว่าการเคร่งจังหวะของดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ การด้นเบรค ฯลฯ ที่เคยใช้ในยุคแรกก็ได้นำมาใช้ด้วย
              5.เพลงบีบ๊อบ (bebop) เป็นเพลงที่ได้รับการพัฒนาต่อไปอีกทั้งทางด้านจังหวะและเสียงประสาน เสียงประสานมีความซับซ้อนมากโดยใช้คอร์ดประเภท 7,9,11 และ 13 พอ ๆ กับการ เปลี่ยนแปลงท่วงทำนองและเสียงประสานทุกชนิดจังหวะที่มีความเคร่งครัดโดยให้ความรู้สึกการ ใช้โน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้นในประเภทนับ 4 ในแต่ละห้อง

Jete (เจท)
การทำคันชักเต้นบนสาย

Jota (Sp. โจตา)
การเต้นรำเเบบสเปนในจังหวะประเภทนับ 3 ประกอบด้วยผู้เต้นรำเป็นคู่ ๆ โจตาเกิดขึ้นที่เมือง อะทกอน (ทางตอนเหนือของประเทศสเปน) มีลักษณะการเต้นที่รวดเร็วและมีคาสทะเนทส์เป็นเครื่องดนตรีประกอบ

 

 

 

 

 

 

K

 

 

K., KV ตัวย่อ Kochel - Verzeichnis
ระบบการจัดผลงานการประพันธ์ของโมทซาร์ทโดยใช้แนวทำนองเป็นหลักเชื่อว่าเรียงลำดับผลงานตามลำดับที่โมทซาร์ทประพันธ์

Kettledrum (เค็ทเทิลดรัม)
เรียกอีกชื่อว่าทิมปานี (Timpani)

Key (คีย์)

1. คีย์ (หลักเสียง) จะเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์ขึ้นอยู่กับบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์บทประพันธ์แต่งจากคีย์ที่กำหนดให้ย่อมจะมีโน้ตตัวจรใด ๆ ที่อยู่นอกบันไดเสียงได้
2. คีย์โน้ตเป็นโน้ตตัวแรกของบันไดเสียงหรือที่เป็นโทนิก
3.คีย์ซิกเนเจอร์หรือที่เรียกว่าเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงหมายถึงเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ทที่อยู่หลังเครื่องหมายเคลฟตรงส่วนเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้นทุกบรรทัดเพื่อบ่งชี้ให้ทราบถึงคีย์หรือบันไดเสียงของบทเพลงนั้น
4.หนึ่งในจำนวนแป้นกดนิ้วสำหรับเล่นเปียโนหรือเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดอื่น ๆ
5.กลไกการปิดและเปิดรูสำหรับรูเสียงบางตำแหน่งของเครื่องดนตรีประเภท เครื่องลมไม้

Key center (คีย์เซ็นเตอร์)
ศูนย์กลางของกุญแจเสียงกุญแจเสียงหลักของบทประพันธ์ท่อนหนึ่งหรือของบทประพันธ์ทั้งบท

Key note (คีย์โน้ต)
ตัวโทนิก

Key signature (คีย์ซิกเนเจอร์)
เครื่องหมายของกุญแจเสียงกลุ่มของเครื่องหมายชาร์ปหรือเครื่องหมายแฟล็ท ที่เขียนไว้บริเวณต้นบรรทัดห้าเส้นของแต่ละบรรทัดเพื่อแสดงการแปลงอักษรชื่อโน้ตให้เป็นไปตามบันไดเสียงแลกุญแจเสียง

Kraftig (Ger. เคร็ฟติก)
แข็งแกร่งมีพละกำลัง

 

 

 

 

L

 

Lacrimoso (It. ลาคริโมโซ)
เศร้าโศก

Lagrimoso (It. ลากรีโมโซ)
ด้วยคราบน้ำตาด้วยอาการฟูมฟาย

Lamento (It. ลาเมนโต)
บทเพลงที่เศร้าสร้อย

Lamentoso (It. ลาเมนโตโซ)
อย่างเศร้าโศก

Landler (Gr. เลนด์เล่อร์)
การเต้นรำซึ่งได้รับความนิยมในประเทศออสเตรียในช่วงตอนต้นศตวรรษที่ 19 เป็นเพลงเต้นรำวอลซ์แบบช้าชนิดหนึ่ง

Landlich (Gr. เล็นด์ลิคช์)
สบาย ๆ

Langsam (Gr. ลางซาม)
ช้า

Largamente (It. ลากาเม็นเต)
ช้ามาก อย่างกว้าง ๆ

Largando (It. ลาร์กานโด)
ช้าลงตามลำดับขยายยืดเวลาออกไปเช่นเดียวกับคำว่า allargando

Larghetto (It. ลาร์เกทโต)
ช้า ช้ากว่าเลนโตแต่เร็วกว่าลาร์โก

Largo (It. ลาร์โก)
กว้างขยายเวลาออกไปสง่างามเป็นเครื่องหมายที่แสดงความช้า

Le meme mouvement (Fr. เลอ แมม มูเวอมอง)
อัตราความเร็วเหมือนเดิม

Leader (ลีดเดอร์)
หัวหน้าแนวไวโอลินที่หนึ่งในวงดนตรีออร์เคสตร้าในอดีตกาลมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยเพลงด้วย

Leading note (ลี้ดดิ้งโน้ต)
โน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงแบบเมเจอร์และแบบฮาร์โมนิกไมเนอร์ที่เรียกลีดดิ้งโน้ตก็เพราะเป็นตำแหน่งเสียงที่นำไปสู่ตัวคีย์โน้ตหรือโทนิกในลักษณะครึ่งเสียง

Leading tone (ลี้ดดิ้ง โทน)
โน้ตลี้ดดิ้งโน้ตระดับขั้นที่ 7 ของบันไดเสียงซึ่งอยู่ต่ำกว่าโทนิกครึ่งเสียง

Lebhaft (Ger. เล็บฮัฟท์)
มีชีวิตชีวาสนุกสนานสดใส

Legato (It. เลกาโต)
เชื่อมโยงให้ความต่อเนื่องมักจะนำเครื่องหมายสเลอร์มาใช้เพื่อการต่อเนื่องของทำนองเพลงคำย่อคือ leg.

Leger (Fr. เลเจ)
เบา สบาย ๆ ละเอียดอ่อน

Ledger line (เลดเจอร์ไลน์)
เส้นที่เพิ่มเหนือหรือใต้บรรทัดห้าเส้น เพื่อขยายขอบเขตการบันทึกโน้ตที่อยู่นอกบรรทัดห้าเส้นหรือเรียกว่า "เส้นน้อย"

Legerement (เลคเจอร์เมนท์)
อย่างเบาอย่างรวดเร็ว

Leggiero, leggieramente (It. เลดเจโร)
เบาอย่างรวดเร็วบางเบาคำย่อคือ legg.

Legno (เลคโน)
ส่วนที่เป็นไม้ของคันชัก

Lentamente (It. เลนตาเมนเต)
อย่างเชื่องช้า

Leicht (Ger. ลายค์ท)
สบาย ๆ

Leicht bewegt (Ger. ลายค์ท เบเวคท์)
สบาย ๆ ร่าเริง

Leise (Ger. ลายเซอ)
เบานุ่มนวล

Lent (Fr. ลองต์)
ช้า

Lentamente (Fr. ลองเตเมนเต)
อย่างช้า ๆ

Lento (It. เลนโต)
ช้า ช้ากว่าอันดานเตแต่เร็วกว่าลาร์โก

Lesto (It. เล็สโต)
เร็วมีชีวิตชีวา

L.H. (แอล เอช)
มือซ้าย

Libretto (It. ลิเบรตโต)
คำร้องหรือเนื้อเรื่องของละครร้องอุปรากรออระทอริโอมาจากคำภาษาอิตาเลียนที่มีความหมายว่า หนังสือเล่มเล็ก

Licenza (It. ลิเซนซา)
อิสระ

Lieblich (Gr. ลีบลิคช์)
มีเสน่ห์ อ่อนหวาน

Lied (ลีด)
เพลงร้อง

Loco (It. โลโค)
ตำแหน่งเดิมใช้หลัง 8va เพื่อแสดงให้รู้ว่าต้องเล่นโน้ตต่าง ๆ ทั้งหลายให้อยู่ในลักษณะตามที่เคยเป็น

Lontano (It. ลอนตาโน)
ระยะห่าง, เบา

Loure (Fr. ลูเออร์)
1.ชื่อในภาษาฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 16 สำหรับเรียก bagpipe 2.เพลงเต้นรำแบบฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 ขนาดความเร็วธรรมดาจังหวะ t และอาจมีเครื่องดนตรีลูเออร์

Lower neighbor (โลเวอร์ เนเบอ)
โน้ตเสียงต่ำ ,โน้ตนอกคอร์ดชนิดหนึ่งเกิดจากการที่แนวเสียงเคลื่อนที่ลงหนึ่งขั้นและกลับไปยังโน้ตในคอร์ดตัวเดิม

Luftpause (ลุฟท์เพาว์)
หยุดเพื่อหายใจ

Lugubre (ลูกูเบอร์)
อย่างเศร้าสร้อย

Lullaby (ลูลาบาย)
เพลงกล่อมเด็ก

Lungo, lunga (It. ลุนโก)
ยาว

Lustig (Ger. ลุสทิก)
สนุกสนานร่าเริง

Lute (ลูท)
                 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่นิยมมากที่สุดในระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 เวลาเล่นจะใช้นิ้วดีดสาย (ซึ่งขึ้นสายเป็นคู่ ๆ ไว้) ลูทมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์และมีส่วนคอเป็นแผ่นแบนมีขีดแบ่งเสียง 7 ขีดหรือมากกว่านั้นส่วนหมุดหมุนสายจะเอนทำมุมไปข้างหลังเพื่อช่วยยึดสายต่าง ๆ ไว้

Lydian mode (ลีเดียนโมด)
โมดลีเดียนโมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นเปียโนคีย์ขาวจาก F ไปถึง F

Lyre (ไลร์)
                 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่เก่าแก่มากมีรูปลักษณ์คล้ายพิณซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายและมีรูปร่างหลายหลากโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยกล่องเสียงแขนสองข้างและคานเล็ก ๆ จากที่มีรูปร่างหลายหลากจึงมีทั้งที่ดีดด้วยนิ้วดีดด้วยเพล็คทรัมหรือบางชนิดก็ใช้วิธีสีตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบคือพิณที่อยู่ในสุสานหลวงของนครอูร์ (ทางตอนใต้ของประเทศอิรักในปัจจุบัน)

Lyric (ไลริก)
คำร้อง

 

 

M

 

Ma (It. มา)
แต่ เช่น Allegro ma non troppo หมายถึงเร็วแต่ไม่มากนัก

Ma non troppo (It. มา นอน ตร็อปโป)
แต่ไม่มากเกินไป

Machtig (Gr. เม็คช์ทิก)
มีพลัง

Madrigal (แมดริกัล)
เพลงร้องประสานเสียงประเภทเพื่อความบันเทิง (ไม่ใช่ทางศาสนา) ร้องโดยไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีคลอประกอบ โดยแต่งอยู่ในลักษณะเค้าน์เต้อพ้อยท์ ได้รับ ความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 17ปกติเพลงแมดริกัลจะใช้เสียงร้องหนึ่งคนต่อหนึ่งแนวทำนอง

Maestoso (It. มาเอสโตโซ)
อย่างภาคภูมิและสง่างาม

Mais (Fr. แม )
แต่

Mais pas trop (Fr. แม ปา โทร)
แต่ไม่มากเกินไป่

Major scale (เมเจอร์ สเกล)
บันไดเสียงแบบไดอาโทนิกที่ประกอบด้วยหนึ่งเสียงเต็มห้าขั้นและ ชนิดครึ่งเสียงสองขั้น

Mal (Ger.เมล์)
เวลา

Mambo (แมมโบ)
การเต้นรำแบบลาตินอเมริกัน ซึ่งปรากฏครั้งแรกในช่วงกลางศตวรรษที่ 20

Mancando (It. มานคานโด)
เบาลงทีละน้อยจนเสียงหายไป


 

Mandolin (แมนโดลิน)
เป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวในตระกูลลูทที่ยังคงนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน แมนโดลินมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีสายเสียงจัดเป็นคู่จำนวนสี่คู่ซึ่งเล่นด้วยอุปกรณ์สำหรับดีดและมีเฟร็ตคล้ายกีตาร์

Maraca (Cu. มาราคา)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบใช้เขย่าเสียงในเพลงประเภทลาตินอเมริกันเครื่องดนตรีทำจากผลไม้แห้งประเภทบวบ ซึ่งมีเมล็ดเล็ก ๆ ภายในผล มีด้ามถือสำหรับสั่นให้เกิดเสียงได้และมักใช้เป็นคู่

Marcato (It. มาร์คาโต)
เน้นย้ำให้เด่นคำย่อคือ marc.

March (มาร์ช)
ดนตรีสำหรับการเดินแถวปกติจะอยู่ในจังหวะ o , h หรือ u

Marcia (It. มาร์เซีย)
เดินแถวสวนสนาม

Marcia funebre (It. มาร์เซีย ฟูเนเบร์)
เพลงเดินแถวแห่ศพ

Marimba (มาริมบา)
                 เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบชนิดหนึ่งประกอบด้วยแท่งไม้ที่เทียบเสียงแล้วจัดเรียงคล้ายเปียโน โดยมีท่อกลวงซึ่งเป็นตัวทำเสียงก้องอยู่ใต้แท่งไม้แต่ละแท่งใช้ตีด้วยไม้ รูปค้อนส่วนหัวของไม้ถ้าสร้างจากวัสดุต่างกันเสียงที่เกิดจากการตีก็จะต่างกันออกไปมาริมบามีแหล่งกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกาในปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไปในทวีปอเมริกามีรูปร่างคล้ายไซโลโฟนแต่เสียงทุ้มต่ำกว่าและมีช่วงเสียงประมาณ 5 อ๊อคเทฟ

Marque (มาร์คิว)
เน้น

Martellato (It. มาร์เทลลาโต)
อย่างเต็มกำลัง, เฉียบขาด

Martele (มาร์เทเล)
เน้นหนัก

Marziale (It. มาร์ซิอาเล)
เหมือนกับสงคราม


 

Mass (แมส)
เพลงสวดอย่างเป็นทางการของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันแคธอลิค

Massig (Gr. แมสสิก)
ปานกลาง เหมือนกับ andante

Massig bewegt (Gr. แมสสิก เวชท์)
มีชีวิตชีวาปานกลาง

Mazurka (มาซูร์กา)
            เพลงเต้นรำพื้นเมืองของชาวโปแลนด์ จากตำบลในมาโซเวีย ประเทศโปแลนด์ ปกติจะอย่ในจังหวะ m หรือ k โดยทั่วไปเขียนในลักษณะเพลงสองส่วนหรือ 4 ส่วน และแต่ละส่วน จะมีการย้อนและให้เน้นเสียงที่จังหวะ 2 หรือ 3

M.D. (เอ็ม ดี)
มือขวา เป็นคำย่อของคำว่า mano destra (En.) หรือ main droite (Fr.) measure (เมสเช่อร์) ตัวโน้ตหรือตัวหยุดที่อยู่ภายในระหว่างเส้นกั้นห้องสองเส้น จำนวนเคาะที่อยู่ภายใน ช่วงดังกล่าว จะถูกแสดงด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จังหวะแรกของแต่ละจังหวะมักจะเน้นเล็กน้อย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บาร์ (Bars ห้องเพลง)

 

Measure (เมสชูวร์)
ห้อง, กลุ่มของจังหวะที่อยู่ภายในเส้นกั้นห้อง โดยจังหวะแรกมักจะมีการเน้น

Mehr (Gr. เมร์)
มากขึ้น

Melodic goal (เมโลดิก โกล์)
จุดหมายของทำนอง จุดกำหนดที่สูงหรือต่ำในแนวทำนอง

Melodic minor scale (เมโลดิกไมเนอร์สเกล)
บันไดเสียงเมโลดิกไมเนอร์ บันไดเสียงที่เกิดจากการแปลงเนเจอรัลไมเนอร์ โดยการยกระดับขั้นที่ 6 และ 7 ขึ้นครึ่งเสียงในขณะไล่ขึ้น และลดระดับเสียงกลับเหมือนเดิมในขณะไล่ลง

Melodic shape (เมโลดิก เชป)
รูปร่างของทำนอง ทิศทางและโครงร่างของแนวทำนอง

Melody (เมโลดี้)
ทำนองเพลง เพลงร้อง ทำนองหลัก

Mellophone (เมโลโฟน)
หมายถึง แตรอี แฟล็ทอัลโตฮอร์นสมาชิกในตระกูลเครื่องทองเหลือง เมโลโฟนมีท่อแบบกรวย ส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยและลูกสูบชนิดสามท่อเป็นเครื่องดนตรีประเภทต้องย้ายคีย์

Meme (Fr. แมม)
เหมือนเดิม

Meme mouvement(Fr. แมม มูเวอมอง)
อัตราความเร็วเหมือนเดิม

Meno allegro(It. เมโน อัลเลโกร)
น้อยลง Meno mosso หมายถึงเร็วช้าลง หรือช้ากว่า

Mesto (It.เมสโท)
เศร้าโศก ซึม

Meter (มิเตอร์)
การรวมกลุ่มจังหวะและเน้นแบบปกติในบทประพันธ์เพลงซึ่งบ่งชี้ด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
1. การนับจังหวะแบบง่ายหรือแบบธรรมดา
     ประเภทนับ 2 จังหวะ (สองจังหวะต่อช่วงการนับ) g,h,i
     ประเภทนับ 3 จังหวะ (สามจังหวะต่อหนึ่งช่วงการนับ) j,k,m
     ประเภทนับ 4 จังหวะ (สี่จังหวะต่อหนึ่งช่วงการนับ) n,o,p
2. การนับจังหวะแบบผสม ตัวเลขบนของเครื่องหมายกำหนดจังหวะนั้น หารลงตัวได้ด้วยเลขสาม จังหวะผสมแบบนับสอง t,u (จังหวะนับสองหรือนับหก (ย่อย) ภายในหนึ่งห้อง) จังหวะผสมแบบนับสาม v (จังหวะนับสามหรือนับเก้า (ย่อย) ภายในหนึ่งห้อง) จังหวะผสมแบบนับสี่ 12/2 12/4 12/8 (จังหวะนับสี่หรือนับสิบสอง (ย่อย)ภายในหนึ่งห้อง)

Metronome (เมโตรนอม)
                เป็นเครื่องมือที่สามารถตั้งให้ตีบอกจังหวะต่าง ๆ ใช้ในการกำหนดความเร็ว ของบทประพันธ์ และช่วยรักษาจังหวะด้วย ตัวอย่างเช่น M.M.=80 ซึ่งกำหนดไว้ที่ตอนต้นของบทเพลง หรือตอนหนึ่งของเพลง มีความหมายว่าให้ปฏิบัติโน้ตตัวดำหนึ่งตัวเท่ากับหนึ่งจังหวะ เมื่อตั้งเมโตรนอมที่ ตัวเลข 80 จะได้เสียงดีบอก 80 ครั้ง (โน้ตตัวดำ 80 ตัว) ต่อหนึ่งนาที

Mezzo (It. เมซโซ, 'half')
ปานกลาง

Mezzo forte (It. เมสโซ ฟอร์เต)
ดังปานกลาง

Mezzo piano (It. เมสโซ ปิอาโน)
ดังปานกลาง

Mezzo-soprano (เมสโซ โซปราโน)
เสียงร้องของหญิงที่มีช่วงเสียงระหว่างโซปราโนและอัลโตซึ่งทำให้เสียงมีคุณภาพยิ่งขึ้น

M.G. (เอ็ม จี)
ซ้ายมือคำย่อของคำว่า main gauche (Fr.)

Military band (มิลิทารี่ แบนด์)
กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องลมไม้เครื่องแตรทองเหลืองและเครื่องประกอบจังหวะ วงดนตรีประเภทนี้แรกเริ่มทีเดียวใช้เพื่อจุดประสงค์ทางทหารที่เรียกว่าวงดุริยางค์ทหาร ต่อมาจึงนำคำนี้มาเรียกวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเดียวกันด้วย เช่น วงดุริยางค์นักเรียน

Minor scale (ไมเนอร์ สเกล)
บันไดเสียงไมเนอร์มี 3 แบบ คือ
              1.เนเจอรัลไมเนอร์ประกอบด้วยโน้ตตัวเดียวกันกับบันไดเสียงเมเจอร์แต่เริ่มจากลำดับที่หกของบันไดเสียงเมเจอร์ตัวอย่างเช่น เอไมเนอร์ (Am)เป็นญาติกับซีเมเจอร์ (C)บันไดเสียงดีไมเนอร์เป็นญาติกับบันไดเสียงเอฟเมเจอร์และมีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเดียวกัน
             2. ฮาร์โมนิกไมเนอร์คือบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ที่ต้องทำให้ลำดับที่เจ็ดนั้นสูงขึ้นครึ่งเสียง
             3. เมโลดิก ไมเนอร์ คือบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ ที่ต้องทำให้ลำดับที่หกและลำดับที่เจ็ด สูงขึ้น ครึ่งเสียงในทางขาขึ้น และกลับเข้าสู่เนเจอรัลไมเนอรในทางขาลง

Minuet (Eng. มินนูเอ็ต), minuetto (It.)
การเต้นรำแบบฝรั่งเศสในยุคต้นที่อยู่ในจังหวะ 3 และมีความเร็วปานกลางคำว่า "มินนูเอ็ต" อาจมาจากภาษาฝรั่งเศลว่า ''menu'' ซึ่งมีความว่า "เล็ก" เพื่ออ้างอิงถึงลักษณะการก้าวย่าง ของการเต้นรำ

Misterioso (It. มีสเตรีโอโซ)
ลึกลับ

Misura (It. มิซูรา)
การนับจังหวะ

Mit (Ger.มิท)
กับ

Mixolydian mode (โมดมิกโซลีเดียน โมด)
โมดมิกโซลีเดียน โมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก G ไปหา G บนคีย์ขาวของเปียโน

M.M. (เอ็ม เอ็ม)
คำย่อของคำว่า Maelzels metronome

Modal music (โมดัล มิวสิก)
ดนตรีโมดัลดนตรีที่มีรากฐานมาจากบันไดเสียงของโมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับบันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์

Mode (โมด)
บันไดเสียงที่มีโน้ตครบแปดตัวซึ่งเกิดขึ้นในยุคกรีกตอนต้น แต่ละบันไดเสียงก็มีลักษณะการจัดเรียงตัวโน้ตให้ห่างเต็มเสียงและครึ่งเสียงแตกต่างกันไปและยังเป็นรากฐานการดนตรีของเพลงโบสถ์ในสมัยกลางบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ที่ใช้ในปัจจุบันเกิดจากโมดเหล่านี้ด้วย

Moderato(It. โมเดราโต)
1. ความเร็วปานกลาง ซึ่งเร็วกว่าอันดานเต แต่ช้ากว่าอัลเลเกรทโต
2. อย่างปานกลาง allegro moderato หมายถึง เร็วปานกลาง

Modere (Fr. โมเดเร)
ปานกลาง

Modulation (โมดูเลชั่น)
การเปลี่ยนคีย์จากคีย์หนึ่งไปยังอีกคีย์หนึ่งภายในบทเพลงเดียวกัน

Moglichst (Gr. โมกลิคส์ท)
มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

Moins (Fr. มวง)
น้อยลง

Molto(It. โมลโต)
มาก molto allegro หมายถึง เร็วมาก

Monophonic (โมโนโฟนี)
ดนตรีโมโนโฟนี หมายถึงดนตรีที่มีแต่ทำนองเท่านั้น

Morceou (Fr. มอร์โซ)
บทประพันธ์เพลงสั้น ๆ บทหนึ่ง

Mordent (มอร์เด้นท์)
การประดับประดาทำนองดนตรีแบบหนึ่ง

Morendo (It. มอเรนโด)
จางหายไป ค่อย ๆ ลดความดังลงเรื่อย ๆ มักจะอยู่ส่วนที่เป็นเคเดนซ์หรือส่วนจบของเพลง

Mosso (It. มอสโซ)
เคลื่อนไหว piu mosso หมายถึง เคลื่อนไหวมากขึ้นหรือเร็วขึ้น meno mosso หมายถึงเคลื่อนไหวน้อยลงหรือช้าลง

Motet (Fr. โมเท็ต)
บทประพันธ์สำหรับการขับร้องในลักษณะของเค้าน์เต้อร์พ้อยท์ โดยไม่มีแนวคลอ ประกอบ (a capella) ปกติมักจะร้องกันในโบสถ์ คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า mot หมายถึง คำ

Motif (Fr. โมทิฟ)
ท่วงทำนองหลักของดนตรี

Motive (โมทีฟ)
สำนวนแบบอย่าง เรื่องราว หรือส่วนของทำนองหลัก

Motivic development (โมทีวิก ดิเวลลอปเมนท์)
ช่วงพลิกแพลงโมทีฟ กลวิธีในการประพันธ์ในด้านการคนหาลักษณะเฉพาะต่าง ๆ และความเป็นไปได้ในการพลิกแพลงโมทีฟ

Moto (It. โมโต)
การเคลื่อนที่ con moto หมายถึง ด้วยการเคลื่อนที่หรือเร็วขึ้น

Mouth organ (เมาท์ออร์แกน)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮาร์โมนิกา เครื่องดนตรีที่มีลิ้นโลหะอิสระเล่นด้วยการใช้ปากเป่า เมาท์ออร์แกนประกอบด้วยตัวกล่องเล็ก ๆ ที่มีลิ้นทองเหลืองจัดเรียงไว้ บนแผ่นโลหะเพื่อให้ลมผ่าน เมื่อเป่าตรงช่องปากเป่าแล้ว จะทำให้ลิ้นโลหะนี้สั่นสะเทือนแล้วเกิดเสียงได้

Movement (มูฟเม้นท์)
ส่วนหนึ่งของโซนาตา ซิมโฟนี สวีท คอนแชร์โต้ ฯลฯ ที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเองแต่เมื่อไปรวมเข้ากับส่วนอื่น ๆ ที่เป็นมูฟเม้นท์เหมือนกันแล้วก็จะได้งานที่ใหญ่ยิ่งขึ้น

Munto (Gr. มุนเตอ)
มีชีวิตชีวาแข็งแกร่ง (เหมือนกับ allegro)

Musette (Fr. มิวเซต)
1.เครื่องดนตรีประเภทปี่ถุงลม คล้ายกับปี่สก็อต
2.บทเพลงที่เลียนแบบเสียงปี่ถุงลม

N

 

Natural (เนเจอรัล)
เครื่องหมายเนเจอรัลจัดวางไว้ข้างหน้าโน้ตซึ่งใช้เครื่องหมาย ชาร์ปหรือแฟล็ตมาแล้วเพื่อคืนกลับสู่เสียงเดิมของโน้ตตัวนั้น

Natural diatonic semitones (เนเจอรัล ไดอาโทนิก เซมิโทน)
จาก E ไป F และจาก B ไป C เท่านั้นที่เป็นเซมิโทน ที่ไม่ต้องการเครื่องหมายชาร์ป และเครื่องหมายแฟล็ท

Natural minor scale (เนเจอรัล ไม์เนอร์สเกล)
บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ พื้นฐานของบันไดเสียงไมเนอร์ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะไดอาโทนิก

Natural sign (เนเจอรัล ไซน์)
เครื่องหมายเนเจอรัล สัญลักษณ์ซึ่งใช้ลบล้างการใช้เครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ท ซึ่งมีอยู่ก่อน

Neigbor note (เนเบอ โน้ต)
โน้ตเคียง โน้ตนอกคอร์ดที่เคลื่อนขึ้น หรือลงตามลำดับขั้นจากโน้ตในคอร์ด และกลับไปยังโน้ตในคอร์ดตัวนั้นทันที

Neo-classical (นีโอ คลาสสิกคอล)
ดนตรีแบบหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ซึ่งหันกลับไปยึดแบบแผนดนตรีแบบคลาสสิกแต่ ใช้ท่วงทำนอง,เสียงประสาน,และอื่น ๆ ที่เป็นแบบสมัยใหม่

Nicht (Gr. นิคช์ท)
ไม่

Nicht zu schnell (Gr. นิคช์ท ซู ชเน็ล)
ไม่เร็วเกินไป

Nicht zu viel (Gr. นิคช์ท ซู วีล)
ไม่มากเกินไป

Nieder (Gr. นีเดอ)
ต่ำ

Niente (It. นิเอ็นเต)
ไม่มีอะไรเลย

Ninth (ไนท์)
ขั้นคู่เก้าของโน้ตที่เรียงลำดับกันแบบไดอาโทนิก

Nocturne (Fr. น้อคเทิร์น)
เพลงสำหรับกลางคืน เป็นเพลงประเภทชวนฝัน โรแมนติก เป็นที่นิยมกันในช่วง ปี ค.ศ.1800 ปกติแล้วน้อคเทิร์นจะใช้คอร์ดประเภทกระจายทำเป็นดนตรีคลอประกอบ จอห์นฟิลด์ (ค.ศ. 1782-1837) เป็นคนแรกที่แต่งดนตรีประเภทนี้ ต่อมาภายหลังโชแปงได้ยืมความคิด และชื่อมาใช้ต่อ

Non troppo (It. น็อน ตร็อปโป)
ไม่มากเกินไป

Non-harmonic tone (น็อนฮาร์โมนิคโทน)
โน้ตนอกคอร์ดระดับเสียงที่ไม่เข้ากับเสียงประสานพื้นฐาน

Notation (โนเทชั่น)
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกดนตรี

Note (โน้ต)
ตัวโน้ตสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนระดับเสียง

Note head (โน้ตเฮด)
หัวโน้ต ส่วนกลมของตัวโน้ต ที่เขียนคาบเส้นหรือในช่องเพื่อแสดงระดับเสียง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

O

 

Obbligato (It. ออบบลิกาโต, 'obligatory')
แนวการบรรเลงของเครื่องดนตรีในลักษณะคลอประกอบที่มีความสำคัญเกือบเท่ากับแนวของเครื่องดนตรีเดี่ยว(ในเพลงเดียวกันนั้น) มาจากภาษาอิตาเลียนมีความหมายว่า จำเป็น, เป็นพันธะ

Oboe (โอโบ)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ในตระกูลปี่ที่มีรูปร่างเป็นท่อกลวงผายออก (หรือเป็นกรวย) และมีลิ้นปี่เป็นลักษณะลิ้นคู่เสียงปี่โอโบมีลักษณะแหลมเสียดแทงและแบบนาสิก

Octava bassa (อ๊อคเทฟ เบสซ่า)
ปฏิบัติต่ำลงจากโน้ตที่เขียนเป็นคู่แปด

Octave (อ๊อคเทฟ)
ขั้นคู่แปดของโน้ตที่เรียงแบบไดอาโทนิก

Octet (ออคเต็ต)
ลักษณะของวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคที่มีผู้เล่นหรือนักดนตรีแปดคน

Oder (Gr. โอเดอร์)
หรือ

Odinario (ออดินาเรียน)
ทำตามปกติ

Ohne (Ger. โอเน)
ปราศจาก

Opera (โอเปรา)
หมายถึงอุปรากร เป็นละคร (ไม่ว่าจะในเชิงสุขหรือโศก) ปกติจะแสดงออกทางการร้องโดยตลอดและมีการออกท่าทาง ฉากและเครื่องแต่งตัว พร้อมการบรรเลงประกอบด้วยออร์เคสตร้า

Operetta (โอเปอเรตตา)
ละครอุปรากรเรื่องขนาดสั้น ๆ ที่มีบทเจรจาอยู่บ้าง

Opus (โอปุส)
หมายถึงผลงานทางดนตรี คำย่อคือ op. หรือ Op. ส่วนมากนักประพันธ์เพลง จะให้ลำดับเลขที่ผลงานของตนในลักษณะนี้ :- ชื่อ, โอปุส 1 เลขที่ 1 (Title, Op. 1 No. 1)

Oratorio (ออราทอริโอ)
ผลงานดนตรีทางศาสนาที่มีขนาดความยาวพอสมควรสำหรับขับร้องเดี่ยวการขับร้องประสานเสียง และวงดนตรีออร์เคสตร้า

Orchestra (ออร์เคสตร้า)
หมายถึงวงดนตรีที่ประกอบด้วยกลุ่มนักดนตรีที่เล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเครื่องลมไม้ แตรทองเหลืองและเครื่องตีกระทบวงดนตรีประเภทซิมโฟนีออร์เคสตร้าประกอบด้วยนักดนตรีประมาณหนึ่งร้อยคนส่วนใหญ่จะเล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย

Orchestral score (ออร์เคสตร้า สกอร์)
สมุดโน้ตที่ใช้ดูในขณะควบคุมการบรรเลงทุกแนวส่วนนักดนตรีจะมีเฉพาะแนวที่ตนต้องเล่นเท่านั้น

Orchestration (ออร์เคสเตชั่น)
วิชาการเรียบเรียงแนวบรรเลงสําหรับวงออร์เคสตร้า

Organ (ออร์แกน)
                เครื่องดนตรีคีย์บอร์ดประเภทใช้ลมเมื่อมีลมเป่าผ่านท่อจะทำให้เกิดเสียงท่อละหนึ่งเสียงออร์แกนมีแผงนิ้วกดสำหรับมือและเท้าแผงนิ้วกดที่เล่นด้วยมือเรียกว่า แมนน่วล (manual) สำหรับที่เล่นด้วยเท้าเรียกว่าแผงนิ้วกดเพดดัล (Pedal) และการบังคับกลุ่มท่อต่าง ๆ ซึ่งจัดไว้เป็นพวกเดียวกันทำได้โดยการใช้ปุ่มกดหรือคันยกขึ้นลงที่เรียกว่า สต็อป ออร์แกนขนาดใหญ่จะมีกลุ่มท่อเปลี่ยนเสียงเรียกว่ารีจิสเตอร์เป็นจำนวนมากเพื่อใช้สร้างสีสันแห่งเสียงได้หลากหลายออร์แกนสมัยใหม่ใช้ไฟฟ้าบังคับแทนลม (ในอดีตใช้ลมบังคับ) ซึ่งตามแบบดั้งเดิมนั้นลมที่ใช้ก็เกิดจากการอัดลมด้วยเท้าของผู้เล่นหรือไม่ก็มีผู้ช่วยอัดลมแทนให้

Ornament (ออร์นาเมนต์)
การเสริมแต่งดนตรีหมายถึงสำนวนประดับประดาทำนองเพลงเช่นโน้ตประเภทอัดชะคะตูร่า,อับปอจจะตูรา ,อาร์เปจโจ ,เกรสโน้ต ,มอร์เด้นท์ ,ทริล และเทิร์น ส่วนประดับแนวทำนองเหล่านี้ เกิดจากผู้เล่นต้องการเพิ่มโน้ตเข้าไปอีกซึ่งบางครั้งก็เขียนกำกับไว้ด้วยแต่โดยมากจะใช้เครื่องหมายแทน

Oscuro (It. โอสกูโร)
มืดสลัว ลึกลับ

Ossia (It. ออซียา)
ใช้แทนที่ วิธีอื่น ๆ ในการเล่นทำนองเพลงโดยทั่วไปจะง่ายขึ้น

Ostinato (It. ออสตินาโต, 'obstinate')
ลักษณะซ้ำ ๆ ที่มักพบในแนวเสียงที่ต่ำสุด ซึ่งเป็นรากฐานในการแต่งบทประพันธ์เหนือแนวนั้น ๆ


Ottava (It. ออทตาวา)
คู่แปด All' ottava (8va... หรือ 8....) เมื่อบันทึกอยู่ข้างบนโน้ต หมายถึงให้เล่นสูงขึ้นหนึ่งขั้นคู่แปด แต่ถ้าบันทึกอยู่ใต้โน้ต หมายถึงให้เล่นต่ำลงหนึ่งขั้นคู่แปด

Ou (Fr. อู)
หรือ

Overtone series (โอเวอร์โทน ซีรีส์)
หมายถึง อนุกรมเหนือเสียงพื้นฐาน เครื่องดนตรีทุกชนิดให้เสียงพื้นฐาน (เสียงหลัก) ได้พร้อม ๆ กับเสียงฮาร์โมนิก (เสียงบริสุทธิ์ที่เกิดเพิ่มขึ้นเหนือเสียงพื้นฐานนี้) เนื่องจากเสียงฮาร์โมนิกหรือที่เรียกว่า โอเวอร์โทน จะเบากว่าเสียงพื้นฐาน จึงไม่อาจได้ยินเด่นชัดเท่าเครื่องดนตรีที่มี คุณภาพเสียงเดียวกันก็เพราะว่ามีแบบโอเวอร์โทนเหมือนกัน

Overture (โอเวอร์เจอร์)
เพลงโหมโรง ปกติแล้วเป็นดนตรีสำหรับใช้บรรเลงโหมโรงการแสดงบัลเล่ต์ อุปรากร ออราทอริโอ อย่างไรก็ตามบทเพลงประเภทคอนเสิร์ตโอเวอร์เจอร์ในศตวรรษที่ 19 (เช่นผลงานชื่อ อะเคเดมิคเฟสติวัลโอเวอร์เจอร์ ของบราห์ม) นับเป็นงานอิสระจัดว่ามีแบบการประพันธ์ที่เป็นได้ทั้งแบบโซนาตาและแบบเสรี อีกทั้งแต่งขึ้นจากแรง บันดาลใจในเหตุการณ์สำคัญ บทกวี หรือเรื่องราวต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

P

P (พี)

เบา คำย่อของคำว่า piano. P., Ped. คำย่อของคำว่า ped.

Panpipes (แพนไพป์)
ขลุ่ยแพนไพป์เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้แบบดั้งเดิมประกอบด้วยท่อกลวงหลายท่อที่มีขนาดต่าง มามัดรวมเข้าด้วยกันขลุ่ยชนิดนี้เล่นด้วยการเป่าเฉียงผ่านท่อส่วนเปิดของขลุ่ย

Parallel keys (พาราเลียว คีย์)
กุญแจเสียงคู่ขนานกุญแจเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ซึ่งมีบันไดเสียงที่เริ่มจากระดับเสียงเดียวกันแต่มีเครื่องหมายของกุญแจเสียงต่างกัน

Parallel period (พาราเลียว พีเรียด)
ประโยคใหญ่คู่ขนานการที่ประโยคเพลงทั้งสองของประโยคใหญ่เริ่มต้นเหมือนกัน

Parallelism (พาราเลียวริซึ่ม)
เสียงคู่ขนานการเคลื่อนของแนวเสียง 2 แนวขึ้นไปในทิศทางเดียวกันและห่างกันในระยะขั้นคู่เท่า ๆ กัน

Parlando (It. ปาร์ลันโด)
เหมือนกับการพูด

Parte (It.เพรท)
แนว

Partita (พาร์ติตา)
เพลงชุดประเภทสวีทประกอบด้วยเพลงสั้น ๆ หลายเพลงหรือชุดของแวริเอชั่นพาร์ติตาได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 17และ 18

Part song (พาร์ท ซอง)
บทเพลงร้องประสานเสียงสำหรับนักร้องสองแนวหรือมากกว่านั้น

Pas (Fr ปา)
ก้าว ,จังหวะ ,เต้นรำ

Pas beaucoup (Fr. ปา โบกู)
ไม่มากเกินไป


 

Pas du tout (Fr. ปา ดู ตู)
ไม่เป็นอันขาด

Passage (แพสเสจ)
หน่วยหรือท่อนสั้น ๆ ของบทประพันธ์ดนตรีบทหนึ่ง

Passepied (Fr. ปาส์พเย)
การเต้นรำแบบฝรั่งเศสที่มีความสนุกสนานรวดเร็วปกติแล้วอยู่ในจังหวะ m วลีของเพลงจะเริ่มในจังหวะที่สาม

Passing note (พาสซิ่ง โน้ต)
หมายถึงโน้ตผ่านตัวโน้ตที่ไม่ได้เป็นหน่วยของเสียงประสานเพียงแต่ผ่านตามลำดับขั้นจากเสียงในคอร์ดหนึ่งไปยังเสียงอีกเสียงหนึ่งในคอร์ดต่อไป

Passionato (It. ปาซิโอนาโต)
ด้วยความรู้สึกรักใคร่

Pastorale (It. ปาสโตราเล, Fr. ปาสโตราล)
1. ทำนองเพลงในจังหวะ u,v หรือ ที่เลียนเสียงเครื่องดนตรี (ปี่ หรือขลุ่ย) และดนตรีของกลุ่มชาวบ้านเลี้ยงแกะปกติจะมีทำนองในลักษณะลื่นไหลต่อเนื่องกันไปและประกอบด้วยเสียงคลอแบบโดรนเบส
2. การแสดงละครในยุคปลายศตวรรษที่ 15 ที่มีเนื้อเรื่องอิงชีวิตในชนบทหรือชีวิตที่มี ความสุขสบาย มีมาก่อนการเกิดอุปรากร

Pausa (It. เปาซา)
หยุด

Pause (พอซ)
การหยุดเสียงตามความพอใจของผู้เล่นหรือแล้วแต่ผู้กำกับเพลงคล้ายกับตาไก่ (fermata)

Pavan (Eng.), or pavana (It. ปาวานา) pavane (Fr. ปาวาน)
การเต้นรำแบบหนึ่งในราชสำนักยุโรปตอนต้นศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีจังหวะสม่ำเสมอ การเต้นรำแบบปาวานนี้มีจังหวะช้า เหมือนลีลาท่าทางการเดินวางมาดแบบนกยูงคำว่า pavane อาจมาจากคำว่า pavo ในภาษาลาตินที่มีความหมายว่า "นกยูง" ปกติแล้วการเต้นรำนี้จะอยู่ในจังหวะประเภทนับสอง (สองจังหวะในหนึ่งห้อง) และมักแสดงนำหน้าการ เต้นรำแบบกาลยาร์ด


 

 

 

 

 

 

Pedal (เพดดัล)
กลไกของเปียโน ,ออร์แกน, ฮาร์ปซิคอร์ด หรือ ฮาร์ป ที่ใช้เท้าบังคับ
1. เพดดัลของเปียโน จะบังคับด้วยเครื่องลดเสียง ที่เรียกว่า แดมเปอร์ หรือด้วย ตำแหน่งของค้อนตีที่เรียกว่า แฮมเมอร์
2. เพดดัลของออร์แกนรวมหมายถึงแผงคีย์สำหรับเท้าและเท้าเหยียบบังคับความดัง - ค่อย
3. เพดดัลของฮาร์ปซิคอร์ดควบคุมคุณภาพเสียงด้วยการเปลี่ยนเครื่องดีดสาย (เครื่องดีดอ่อนก็จะได้เสียงเบาเครื่องดีดแรงก็จะได้เสียงดัง)
4. เพดดัลของฮาร์ปจะช่วยยกหรือลดระดับเสียงของสายเสียง (สำหรับดีด) ต่าง ๆ ให้เป็นเสียงโน้ตตัวจรได้คำย่อคือ Ped. p.

Pedal point (เพดดัลพอยท์)
เสียงที่ลากยาวหรืออย่างต่อเนื่องซ้ำ ๆ กันไปซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับเสียงประสานแนวอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ก็ได้เรียกอีกชื่อว่าออร์แกนพอยท์

Pentatonic scale (เพนตาโทนิกสเกล)
บันไดเสียงเพนตาโทนิกบันไดเสียง 5 ตัวโน้ต (CDEGA) ที่ร้องง่าย ๆ ซึ่งเป็นรากฐานของเพลงพื้นเมืองทั่ว ๆ ไป

Percussion family (เพอคัชชั่น แฟมมิลิ)
เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องตีกระทบทั้งหลายซึ่งเล่นด้วยวิธีการตีด้วยไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งหรือโดยการสั่นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบทั้งหลายได้แก่ กลองใหญ่ ,แคริลลอน(ชุดระฆังหลายใบ) ,คาสทะเนทส์ ,เซเลสต้า ,ระฆังราว ,ฉาบ ,กลอคเคิ่นสปีล ,กิโร,เคทเทิ้ลดรัม (ทิมปานี) มาราคัส ,มาริมบา ,กลองเล็ก ,แทมโบริน ,แทมแทม (กลอง) เครื่องดนตรีรูปสามเหลี่ยมเคาะจังหวะสามเส้า ,ระนาด ฯลฯ

Perdendosi (It. แปร์เดนดอซี)
ลดเสียงลงทีละน้อยจนหายไปเบาลงเรื่อย ๆ

Perfect authentic cadence (เพอร์เฟคออร์เทนติกคาร์เด้นซ์)
ลูกจบสมบูรณ์ลูกจบลงท้ายซึ่งมีแนวเสียงที่สูงที่สุดอยู่ที่โทนิก

Period (พีเรียด)
ส่วนเล็ก ๆ ในบทประพันธ์เพลงบทหนึ่งปกติจะประกอบด้วยวลีสองวรรค

Pesante (It. เปซานเต)
หนักแน่น ,ครุ่นคิด

Peu (Fr. เปอ)
เล็กน้อย

Peu a peu (Fr. เปอะ อะ เปอะ)
ทีละเล็กละน้อยตามลำดับ

Phrase (It. เฟรส)
วรรคเพลงที่มีแนวความคิดทางดนตรีลงตัววรรคหนึ่ง

Phrygian mode (ฟรีเจียน โมด)
โมดฟรีเจียน โมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นคีย์ขาวของเปียโนจาก E ถึง E

Piacere (It. ปิอาเชเร)
ขึ้นอยู่กับผู้เล่น

Piacevole (It. ปิอาเชโวเล)
พอใจ

Pianissimo (It. ปิอานิสซิโม)
เบามาก

Piano (It. ปิอาโน) piano (เปียโน)
              เบา คำย่อคือ P เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทใช้สายเสียงเดิมมีชื่อเรียกว่าเปียโนฟอร์เตเพราะทำได้ทั้ง เสียงเบา (เปียโน) และเสียงดัง (ฟอร์เต) ได้ สายเสียงจะถูกตีด้วยค้อนซึ่งเชื่อมโยงไปที่คีย์กดโดยผ่านเครื่องกลไกซับซ้อนที่เรียกว่าแอ็คชั่นเปียโนมีเพดดัล3แบบคือ
              1. เพดดัลประเภทให้เสียงต่อเนื่อง อยู่ทางขวาส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่น (มักจะเรียกผิดบ่อย ๆ ว่า เพดดัลสำหรับทำเสียงดัง)เมื่อเหยียบเพดดัลลงไปแล้วจะทำให้เสียงทุกเสียงที่กดยาวต่อเนื่องกันไป
              2. เพดดัลประเภทเดี่ยวอยู่ตรงกลางส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่นทำให้เสียงยาวต่อเนื่องหรือลากยาว (พบไม่บ่อยนัก) ได้เสียงเดียวหรือคอร์ดเดียว
              3. เพดดัลแบบอูนาคอร์ดาอยู่ทางซ้ายส่วนเท้าเหยียบ คือเพดดัลทำเสียงเบาได้ช่วยลดเสียงหรือทำให้เสียงเบาลง

Piano staff (เปียโนสเตฟ)
บรรทัดห้าเส้นของเปียโน

Picolo (ปิคโคโล)
ขลุ่ยขนาดเล็กมีระดับเสียงสูงกว่าฟลูตอยู่หนึ่งช่วงคู่ 8 ขลุ่ยปิคโคโลมีเสียงสดใสแหลมบาดหูยิ่ง เสียงที่ปฏิบัติได้จากขลุ่ยมีระดับเสียงสูงกว่าที่เขียนบันทึกไว้หนึ่งช่วงคู่แปด

Pietoso (It. ปิเอโตโซ)
เศร้าโศก

Pitch (พิทช์)
ระดับเสียงที่แน่นอนเสียงหนึ่ง ในระยะช่วงเสียงที่กำหนดมาเรียบร้อยแล้วโดยมีจำนวนรอบการสั่นสะเทือนต่อวินาที (ความถี่เสียง) ของวัตถุใด ๆ ตัวอย่างเช่นการทำให้เกิดระดับเสียง A เหนือ C กลางของเครื่องดนตรีอะไรก็ตามจะต้องได้ความถี่ 440 รอบต่อวินาที

Piu (It. ปิว)
มากกว่า Piu mosso หมายถึง เคลื่อนไหวมากขึ้นหรือเร็วขึ้น

Piu mosso (It. ปิว มอสโซ)
เร็วขึ้น

Piu moto (It. ปิว โมโต)
เคลื่อนไหวมากขึ้นหรือเร็วขึ้น

Pizzicato (It. ปิซซิคาโต)
ให้ใช้ดีดแทนที่การสีบนสายเสียงของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายคำย่อคือ pizz.

Placabile (It. ปลาคาบิเล)
สงบ, นุ่มนวล

Placido (It. ปลาชีโด)
เงียบสงบ, สงบ

Plagal cadence (เพลเกิ้ล คาเดนซ์)
ลูกจบเพลเกิ้ลลูกจบที่ใช้ในการดำเนินคอร์ดจาก V ไป I

Plectrum (เพลคทรัม)
ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ทำด้วยโลหะ พลาสติกหรือวัสดุอย่างอื่น ๆ ใช้สำหรับดีดสายเสียงของเครื่องดนตรี เช่นกีตาร์ ,แมนโดลิน ,ยูคาเลเล ,ซีตาร์ ฯลฯ

Plotzlich (Gr. ปล็อตส์ลิคช์)
ทันทีทันใด

Plus (Fr. ปลูซ)
มากกว่า, มากขึ้น

Po (It. โป)
น้อย


Poco (It. โปโก)
เล็กน้อย Poco a poco หมายถึงทีละเล็กละน้อยตามลำดับ

Poi (It.โปอิ)
และแล้ว ,หลังจากนั้น

Polacca (It. โปลักกา)
เพลงเต้นรำโพโลเนส

Polka (โพลก้า)
การเต้นรำเป็นรูปวงกลมที่มีชีวิตชีวาในจังหวะ h เพลงโพลก้าเริ่มปรากฏในช่วงปี ค.ศ.1830 ในประเทศโบฮีเมีย ( ปัจจุบันคือประเทศสาธารณรัฐเช็คและสโลวัก) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากทั่วภาคพื้นยุโรปและยังคงได้รับความนิยมต่อมาจวบจนกระทั่งสิ้นศตวรรษที่ 19

Polonaise (โพโลเนส)
บทเพลงเต้นรำของชาวโปแลนด์ ในจังหวะ k (เดิมเป็นเพลงเต้นรำที่มีลักษณะโอ่อ่าและสง่างาม) ใช้แสดงในงานพระราชพิธีและเพื่อการเฉลิมฉลอง เฟรดเดริก โชแปง เป็นผู้แต่งบทเพลงเต้นรำนี้เพื่อเป็นตัวแทนแห่งความเป็นชาตินิยมของชาวโปแลนด์

Polyphonic (โพลีโฟนิก)
ดนตรีโพลิโฟนีลักษณะของดนตรีที่ประกอบด้วยแนวเสียงที่มีความสำคัญเท่า ๆ กันตั้งแต่สองแนวขึ้นไป

Polyphony (โพลีโฟนี)
ดนตรีที่ประกอบด้วยทำนองอิสระตั้งแต่สองแนวขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เค้าน์เต้อร์พ้อยท์ คำว่าโพลีโฟนีมาจากคำในภาษากรีกมีความหมายว่าหลาย ๆ เสียง

Pomposo (It. ปอมโปโซ)
อย่างสง่างามมีความภาคภูมิใจและโออ่า


Ponticello (พอนติเชลโล)
หย่อง

Portamento (It. ปอร์ตาเมนโต)
ในดนตรีประเภทขับร้องไวโอลินและทรอมโบนปอร์ตาเมนโตหมายถึงให้ปฏิบัติแบบเลื่อนเสียงอย่างรวดเร็วจากเสียงหนึ่งไปยังอีกเสียงหนึ่งในทางปฏิบัติเปียโนก็คือให้เล่นประมาณครึ่งหนึ่งของสตั๊กคาโต

Portato (It. ปอร์ตาโต)
ยืดยาว

Precipitato, precipitoso (It. เปรซิปิตาโต)
ทันทีทันใด ,เร่งรีบ

Prelude (Fr. เปรลูด)
บทเพลงที่ทำหน้าที่เป็นบทนำทางดนตรีในสมัยของโจฮันเซบาสเตียนบาค (ค.ศ.1685-1750) เพลงแบบนี้มักไปคู่กับเพลงประเภทฟิวก์หรือใช้เป็นเพลงบรรเลงนำในบทเพลงชุด (สวีท) จากสมัย เฟรดเดริก โชแปง (ค.ศ.1810-1849) เป็นต้นมาบทเพลงเปรลูดก็กลายเป็นบทเพลงประเภทอิสระประเภทหนึ่ง

Presse (Fr. แปรสเซ)
เร็วขึ้น

Prestissimo (It. เปรสติสซีโม)
เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้เร็วอย่างยิ่งยวด

Presto (It. เปรสโต)
เร็วมากเร็วอย่างยิ่งเร็วกว่าอัลเลโกรแต่ช้ากว่าเปรสติสซีโม

Prima, primo (It. ปรีมาม ปรีโม)
อันดับแรก ,ที่หนึ่ง

Prime (ไพร์ม)
1. ตัวพื้นต้นของคอร์ด
2. โน้ตตัวแรกของบันไดเสียง (คีย์โน้ต)
3. ขั้นคู่เสียงของยูนิซัน

Principale (พริ้นซิเปล)
ผู้เล่นนำหรือผู้เล่นเดี่ยว

Processional (โพรเซสชันแนล)
เพลงสวดหรือการแสดงเดี่ยวออร์แกนในโบสถ์ ในระหว่างขบวนของคณะประสานเสียงและคณะบาทหลวง

Program music (โปรแกรม มิวสิก)
                บทประพันธ์ดนตรีที่กำหนดไว้สำหรับการเล่าเรื่องราวบรรยายเรื่องราวของรูปภาพเหตุการณ์ และสร้างสรรค์อารมณ์เป็นคำตรงข้ามกับคำว่าแอ็บสลูทมิวสิก(ดนตรีบริสุทธิ์ที่แต่งขึ้นด้วยจุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อการนี้) ดนตรีประเภทโปรแกรมมิวสิกยุคแรกสุดก็คือการบรรยายเสียงเป่าเขาสัตว์นกร้อง เสียงระฆังและการสงครามเพลงซิมโฟนิคสวีทของริมสกี้คอร์ซาคอฟชื่อเซฮาราซาด Scheherazade เป็นตัวอย่างหนึ่งของบทประพันธ์เพลงประเภทนี้


Psaltery (ซอลเทอรี)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายยุคแรก ๆ ที่สร้างเหมือนกับเครื่องดนตรี ดัลซิเมอร์ แต่ใช้ดีดด้วยนิ้วหรือเพลคทรัมมากกว่าการตีด้วยค้อน

Pulse (พัลซ์)
จังหวะการเน้น

Punta d'arco (It.)
ใช้ส่วนบนของคันชัก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Q

 

Quadrille (ควอดริล)
การเต้นรำแบบฝรั่งเศสในตอนต้น ค.ศ. 1800 จังหวะเพลงควอดริลเปลี่ยนไปมาระหว่าง u และ h การแสดงเต้นรำแบบนี้จัดเป็นคู่หลายคู่โดยให้เคลื่อนที่ไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามปกติแล้วจะมีทำนองเพลงซึ่งเลือกมาจากเพลงยอดนิยมหรือไม่ก็เพลงจากอุปรากร

Quadruple time (ควอทดรูเปิ้ลไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทมีสี่จังหวะในแต่ละห้อง p,o,n ฯลฯ

Quarter note (ควอเตอร์โน้ต)
หมายถึงโน้ตตัวดำที่กำหนดว่า จำนวนโน้ตตัวดำ 4 ตัวจะเท่ากับโน้ตตัวกลม 1 ตัวและจำนวนโน้ตตัวดำ 2 ตัวเท่ากับโน้ตตัวขาว 1 ตัว

Quarter rest (ควอเตอร์เรสท์)
หมายถึง โน้ตตัวหยุดที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำหนึ่งตัว

Quartet (ควอเต็ต)
บทประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีหรือไม่ก็แนวร้อง 4 แนวบทประพันธ์ประเภทสตริงควอเต็ตเขียนไว้สำหรับไวโอลินสองเครื่อง วิโอลา และเชลโลอย่างละหนึ่งเครื่องมักเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่าวง chamber music

Quasi (ควาสิ)
ค่อนข้าง ,เกือบ ๆ เกือบเท่า, ราวกับว่า Allegretto quarsi allegro หมายถึงเร็วปานกลางหรือเกือบเท่าอัลเลโกร

Quasi trill (ควาสิทิว)
เล่นคล้าย trill

Quaver (เควเวอร์)
โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (eight note)

Quintet (ควินเต็ต)
บทประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีหรือไม่ก็เสียงร้อง 5 แนว

Quintuple time (ควินทูเปิ้ล ไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ มีห้าจังหวะในหนึ่งห้อง q, 5/4, 5/2 ฯลฯ

 

R

 

Rallentando (It. ราลเลนตานโด)
ช้าลงทีละเล็กละน้อยคำย่อคือ rall.

Rapido (It. ราปิโด)
เร็ว ,ไว

Rasch (Ger. รัช)
เร็วมีชีวิตชีวา

Rattenendo (It. รัตเตเน็นโด)
ช้าลงทีละน้อย

Rattenudo (It. รัตเตนูโด)
ช้าลง

Recessional (รีเซสชั่นแนล)
บทเพลงสวดหรือการเดี่ยวออร์แกนในโบสถ์ขณะที่วงนักร้องประสานเสียงหรือพระกำลังเดินออก หลังจากเสร็จพิธีแล้ว

Recital (รีไซเทิล)
การแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณะชน, คอนเสิร์ต

Recitative (เรซิตาทีฟ)
บทร้องที่ไม่กำหนดจังหวะตายตัวเหมือนเลียนเสียงพูดเพื่อดำเนินเรื่องราวซึ่งมักใช้ในอุปรากรการแสดงออราทอริโอ

Recitativo (เรซิตาทีโว)
ช่วงที่เหมือนกับพูด

Recorder (รีคอร์ดเดอร์)
ขลุ่ยที่มีปลายส่วนปากเป่าเป็นลักษณะนกหวีด ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ มีเสียงนุ่มนวลบางเบานิยมเล่นกันในศตวรรษที่ 16 และ 17 และได้รับการปรับปรุงใหม่ ในปี ค.ศ.1920 ต่อมาก็ยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมามี 4 ชนิด คือ
1.เดสแคนท์ (โซปราโน)
2.เทร็บเบิ้ล (อัลโต)
3.เทเนอร์
4.เบส

Reed (หรีด)
แผ่นไม้อ้อหรือโลหะซึ่งหากทำให้สั่นสะเทือนด้วยปากเป่าแล้วก็จะทำให้อากาศสั่นตามไปด้วย เครื่องดนดรีประเภทเครื่องลมไม้หลายชนิดเกิดเสียงดนตรีด้วยวิธีการเช่นนี้
1. ตระกูลปี่คลาริเนตมีลิ้นเดี่ยวเพื่อไหวสั่นตรงบริเวณส่วนปากเป่า (กำพวด)
2. ตระกูลปี่โอโบมีลิ้นคู่เพื่อไหวสั่นตรงบริเวณส่วนปากเป่า (กำพวด)
3. เมาท์ออร์แกน ,แอ็คคอเดียน, คอนแชร์ตินา ฯลฯ มีลิ้นชนิดทำด้วยโลหะสำหรับเสียงแต่ละเสียง (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลิ้นอิสระ)

Reed instrument (หรีด อินสตรูเมนต์)
เครื่องดนตรีประเภทที่เกิดเสียงได้ด้วยการทำให้ลิ้นปี่ (ของเครื่องดนตรี) สั่นสะเทือน Reel (รีล) การเต้นรำที่มีผู้เต้นตั้งแต่สองคู่ขึ้นไปเคลื่อนไปเป็นวงกลมการเต้นรำแบบรีลจะอยู่ในจังหวะเร็วประเภทนับสอง (สองจังหวะในหนึ่งห้อง) มีการซ้ำทำนอง 4-8 ห้องอย่างสม่ำเสมอได้รับความนิยมทั้งในสก็อตแลนด์ ,ไอร์แลนด์ และอเมริกา

Register (รีจิสเตอร์)
ส่วนที่มีความแตกต่างทางช่วงเสียงของเสียงร้องและเครื่องดนตรี

Regore (It. รีโกเร)
เข้มงวดไม่ยืดหยุ่น con rigore หมายถึงลักษณะความเร็วที่แน่นอนตายตัว

Related keys (รีเลเต็ดคีย์)
คีย์ทางเมเจอร์และไมเนอร์ที่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเดียวกันคีย์เมเจอร์ทุกคีย์มีญาติทาง ไมเนอร์ ซึ่งเริ่มต้นที่ลำดับที่หกของบันไดเสียงเมเจอร์

Relative (รีเลทีฟ)
คีย์ทางเมเจอร์และไมเนอร์ที่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเดียวกัน เช่น คีย์ Am จะรีเลทีฟกับคีย์ C major กล่าวคือ ทั้งคีย์ Am และคีย์ C ต่างก็ไม่มีเครื่องหมายชาร์ปและแฟล็ท

Relative major (รีเลทีฟเมเจอร์)
รีเลทีฟเมเจอร์คำที่ใช้กล่าวถึงกุญแจเสียงและบันไดเสียงเมเจอร์ที่มีเครื่องหมายของกุญแจเสียงเหมือนกันกับกุญแจเสียงและบันไดเสียงไมเนอร์ที่เชื่อมโยงกันรีเลทีฟเมเจอร์เริ่มบนระดับขั้นที่สามของบันไดเสียงรีเลทีฟไมเนอร์

Relative minor (รีเลทีฟไมเนอร์)
รีเลทีฟไมเนอร์คำที่ใช้กล่าวถึงกุญแจเสียงและบันไดเสียง ไมเนอร์ที่มีเครื่องหมายของกุญแจเสียงเหมือนกันกับกุญแจเสียงและบันไดเสียงเมเจอร์ที่เชื่อมโยงกันรีเลทีฟไมเนอร์เริ่มบนระดับขั้นที่สามของบันไดเสียงรีเลทีฟเมเจอร์


Repeat (รีพีท)
เล่นซ้ำอีกครั้งหนื่ง

Repeat sign (รีพีท ไซน์)
เครื่องหมายย้อนกลับสัญลักษณ์ที่ใช้กำหนดให้เล่นโน้ตที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายนี้ซ้ำอีกครั้ง

Repetition (Fr.รีพีททิชั่น)
การซ้ำการย้ำความคิดทางดนตรี

Resolution (รีโซลูชั่น)
การเกลาเสียงกระบวนการของการเกลาเสียงกระด้างให้กลายเป็นเสียงกลมกล่อมหรือกล่าวได้ว่าเสียงกระด้างเกลาไปหาเสียงกลมกล่อม

Rest (เรสท์)
ตัวหยุดที่เป็นเครื่องหมายที่บ่งชี้ให้งดออกเสียงที่จังหวะนั้น ๆ

Retenant (Fr. เรเตอะนอง)
ให้หวนกลับไปที่ความเร็วเดิมอย่างทันทีทันใด

Retenir (Fr. เรอเตอนีร์)
ช้าลงปานกลาง

Revenir au tempo (Fr. เรอเตอนีร์ อะเทมโป)
กลับไปสู่ความเร็วเดิม

R.H. (อาร์เอช)
มือขวา

Rhapsody (แรปโซดี)
เพลงชวนฝันที่อยู่ในคีตลักษณ์แบบอิสระมีลักษณะการแสดงออกทางวีรกรรมชาตินิยมหรือพื้นเมือง

Rhythme (ริทึ่ม)
ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเวลาและจังหวะในทางดนตรี

Rigadoon (Eng.), riguadon (Fr. รีโกดอน)
การเตันรำที่มีชีวิตชีวาของฝรั่งเศสในศตวรรษที่17การเต้นรำแบบรีโกดอนเดิมเป็นการเต้นรำของ ชาวนาต่อมาได้รับความนิยมในราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 13, 14 และ 15 และเป็นที่รู้จักกันในนามของ ริกาดูน ในประเทศอังกฤษ


Rinforzando (รินฟอร์ซานโด)
ย้ำ ,เน้น ,หนุน คำย่อคือ rf., rfz., rinf.

Risoluto (It. รีโซลูโต)
เด็ดขาด, กำหนดแน่นอน ,ตกลงใจ

Rit (ริท)
เล่นจังหวะให้ช้าลง

Ritardando (It. รีทาร์ดานโด)
ช้าลงทีละเล็กละน้อย rallentando คำย่อคือ rit, ritard.

Ritenuto (It. รีเทนูโต)
ช้าลงทันทีทันใด (มักใช้ผิดบ่อย ๆ ว่าคล้ายกับ rallentando หรือ ritardando) คำย่อคือ riten.

Ritmico (It. รีทมีโก)
อย่างเป็นจังหวะ ,เน้นจังหวะให้ชัดเจน

Roll (รอล)
เสียงรัวกลองให้เกิดเสียงซ่า ๆ อย่างในการเล่นกลองเล็ก เกิดจากการเล่นสลับอย่างรวดเร็วของไม้ตีกลองระหว่างมือแต่ละข้างเสียงรัวยังทำได้จากกลองทิมปานีจากการตีแบบสลับมือทีละข้างและเล่นได้จากกลองใหญ่และฉาบด้วย เช่นกัน

Romance (โรมานซ์), (It. โรมานซา)
บทประพันธ์เพลงที่มีลักษณะโรแมนติกนุ่มนวลบทเพลงแห่งธรรมชาติที่น่าทะนุถนอม

Romantic (โรแมนติก)
แบบแผนการประพันธ์ที่พัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 19 ตามหลังยุคคลาสสิกดนตรีโรแมนติกย้ำทางด้านความรู้สึกมากกว่าคีตลักษณ์นักประพันธ์เพลงในยุคนีได้แก่ ชูเบิร์ท, แบร์ลิโอส, เมนเดลโซน ชูมานน์ ,โชแปง, ลิสซต์ ,บราห์มส์, และว้ากเนอร์

Rondo (รอนโด)
บทเพลงที่มีทำนองหลักสลับด้วยทำนองอื่น ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกันตัวอย่างดังต่อไปนี้ A แทนทำนองหลักตัวอักษรอื่น ๆ แทนทำนองซึ่งแตกต่างออกไป A b A c A ตามปกติแล้วบทเพลงประเภทรอนโดมักจะแจ่มใสสนุกสนานและมีลีลารวดเร็วและจะอยู่ในกระบวนสุดท้ายของโซนาตาคอนแชรโต้และซิมโฟนี

Root (รู้ท)
ตัวพื้นต้น, ราก เป็นเสียงสำหรับสร้างคอร์ดและบันไดเสียงเป็นโทนิกของบันไดเสียงทรัยแอ็ดจะอยู่ในสภาพตัวพื้นต้น


 

Root position (รู้ท โพสิชั่น)
ตำแหน่งโน้ตพื้นต้นการเรียงตัวของคอร์ดเพื่อให้โน้ตพื้นต้นอยู่ในแนวเสียงที่ต่ำสุด

Round (ราวน์ด)
คีตลักษณ์ของแคนนอนซึ่งมีแนวของเสียงเข้ามาในช่วงระยะที่สม่ำเสมอที่โน้ตตัวเดียวกันและซ้ำทำนองเดียวกันนี้ เพลงราวน์ดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือหนูตาบอดสามตัว (three blind mice)

Rounded binary (ราวน์ด ไบนารี)
โครงสร้างแบบสองส่วนชนิดราวน์ดคีตลักษณ์ของโครงสร้างแบบสองส่วนที่มีลักษณะเหมือนโครงสร้างแบบสามส่วน

Rubato (It. รูบาโต)
มาจากภาษาอิตาเลียนมีความหมายว่า ลัก, หยิบฉวย การใช้เวลาจากส่วนหนึ่งส่วนใด ของวลีเพลง(อย่างรีบเร่ง) แล้วเพิ่มเวลาให้กับวลีอีกส่วนหนึ่ง (ให้ช้าลง)

Ruhig (Gr. รูฮิก)
เงียบสงบ

Rullante (รูแลนเท)
การกลิ้ง

Rumba (รุมบ้า)
การเต้นรำแบบคิวบาที่ได้รับอิทธิพลของจังหวะแบบอาฟริกันเป็นแบบเต้นรำที่ได้รับความนิยมในอเมริกาในช่วงทศวรรษเริ่มจากค.ศ. 1930 จังหวะรุมบ้ามีลักษณะขืนจังหวะ

Run (รัน)
ทำนองเพลงที่ไล่เรียงเสียงไปอย่างรวดเร็ว เหมือนการไล่เสียงแบบบันไดเสียง

 

 

 

 

 

 

S

 

Saltando (ซาลแทนโด)
ใช้คันชักสั้น ๆ เต้นไปบนสายเร็ว ๆ

Saltarello or salterello (It. ซาลตาเรลโล)
การเต้นรำแบบอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 มาจากคำว่า saltare มีความหมายว่ากระโดดดนตรีจะมีลักษณะนุ่มและรวดเร็วอยู่ในจังหวะประเภทนับสาม (สามจังหวะในหนึ่งห้อง) การเต้นรำแบบซาลตาเรลโลยังคงเป็นที่นิยมกันในศตวรรษที่19 แต่เป็นการเต้นรำที่มีความรุนแรงขึ้นคำว่าซาลตาเรลโล เคยใช้เรียกชื่อการเต้นรำมาตั้งแต่ตอนต้นศตวรรษที่ 20 แล้ว

Samba (แซมบ้า)
เพลงเต้นรำที่เป็นที่นิยมกันในรูปแบบของลาตินอเมริกัน

Saraband (ซาราบานด์), sarabanda (It. ซาราบานตา), sarabande (Fr. ซาราบานด์)
               การเต้นรำที่สง่างามของศตวรรษที่ 16,17 และ 18 เป็นเพลงเต้นรำในจังหวะช้าประเภทนับสาม (สามจังหวะในหนึ่งห้อง)มักจะมีการเน้นหรือเป็นโน้ตตัวยาวในจังหวะที่สองเชื่อกันว่าการเต้นรำแบบนี้มาจากทางตะวันออกและมีรากฐานมาจากการเต้นรำที่แสดงความรักอย่างดูดดื่มรุนแรง การเต้นรำแบบซาราบานด์นี้ถูกนำเข้ามาในประเทศสเปนราวต้นปีค.ศ.1500ต่อมาก็มาปรากฏในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสพร้อม กับมีแบบการเต้นที่ลดความรุนแรงลงเล็กน้อยจนในที่สุดก็กลายเป็นการเต้นรำที่มีความสง่างามดังจะพบได้ในเพลงสวีทของบาค

Saxhorn (แซกฮอร์น)
ตระกูลเครื่องเป่าประเภทแตรทองเหลืองที่มีส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยท่อแตรมีลักษณะรูปกรวยและมีลูกสูบด้วยอด็อฟแซกเป็นผู้นำมาใช้ในปี ค.ศ.1845 มีทั้งหมด 7 ชนิดขนาดตั้งแต่เครื่องเสียงต่ำเบสจนถึงเสียงสูงเทร็บเบิ้ล

Saxophone (แซกโซโฟน)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ชนิดที่ทำด้วยโลหะประกอบด้วยลิ้นปี่เดี่ยวและท่อแบบกรวย อด็อฟแซกเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1840 ในประเทศเบลเยี่ยมมีลักษณะเสียงกลมกล่อมและเต็มเสียงเครื่องดนตรีแซกโซโฟนทุกชนิดล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องดนตรีที่ต้องย้ายคีย์


 

 

 

 

 

 

 

Scale (สเกล)
หมายถึงบันไดเสียง อนุกรมของเสียงซึ่งจัดเรียงไปตามลำดับ มาจากภาษาอิตาเลียน scala หมายถึง บันได ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ไดอาโทนิกสเกล
     1.1 เมเจอร์
     1.2 ไมเนอร์
2. โครมาติกสเกล

Scale degrees(สเกล ดีกรี)
ระดับขั้นบันไดเสียง ส่วนประกอบแต่ละส่วนของบันไดเสียง

Scherzando (It. สแคร์ซานโด)
ลักษณะขี้เล่น ,ตลก

Scherzo (It. สแกร์โซ)
ขบวนหนึ่งในบทเพลงที่มีลักษณะขี้เล่นสนุกสนานอยู่ในจังหวะรวดเร็วประเภทนับสาม (สามจังหวะในแต่ละห้อง)เบโธเฟนเป็นผู้นำสแกรโซเข้าไปแทนที่มินนูเอ็ดที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมในบทเพลงประเภทซิมโฟนีและโซนาตาจำนวนมากของเขาโชแปงและบราห์มส์ได้แต่งบทประพันธ์หลายบทที่มีลักษณะอย่างเอางานเอาการ โดยใช้ชื่อว่า "สแกร์โซ"

Schlag (Ger.สแกร์ลา)
จังหวะเคาะ Beat.

Schnell (Gr. ชเนล)
เร็ว

Schottische (Gr. ชอทติสซ์)
การเต้นรำแบบลักษณะวงกลมในศตวรรษที่ 19 เหมือนการเต้นรำแบบโพลก้าอย่างช้า เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศอังกฤษว่า ''เยอรมันโพลก้า'' ชอทติสซ์นี้ปกติ จะอยู่ในจังหวะประเภทนับสอง (สองจังหวะในหนึ่งห้อง)

Schwer (Ger. ชแวร์)
หนักแน่น ,ครุ่นคิด

Sec (Fr. เสก)
ในแบบสั้น ๆ มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสที่มีความหมายว่า ''แห้ง"


 

Second (เซ็คเคินด์)
ระยะขั้นคู่เสียงไดอาโทนิกระหว่างสองเสียงที่อยู่ใกล้ชิดติดกันเมเจอร์เซ็คเคินด์ (คู่สองเมเจอร์) ไมเนอร์เซ็คเคินด์ (คู่สองไมเนอร์)

Second inversion (เซ็คเคินด์ อินเวอร์ชัน)
การพลิกกลับครั้งที่สอง การเรียงตัวกันใหม่ของคอร์ดเพื่อให้โน้ตตัวที่ 5 อยู่ในแนวเสียงที่ต่ำสุด

Segno (It. เซกโน)
เครื่องหมาย al segno หมายถึง ให้ไปที่เครื่องหมาย dal segno หมายถึง จากเครื่องหมาย ตัวย่อคือ D.S.

Segue (It. เซกูเอ, 'it follows')
ตามมา

Seguidilla (Sp. เซกีตียา)
เพลงเต้นรำแบบสเปนในจังหวะประเภทนับสาม (สามจังหวะในหนึ่งห้อง) มักจะอยู่ในคีย์ไมเนอร์ เพลงเซกีดียาปกติแล้วจะมีการคลอประกอบด้วยกีตาร์ เสียงร้องและกรับสเปน จะเห็นการเต้นรำแบบนี้ได้จากองค์ที่หนึ่งของอุปรากรเรื่อง คาร์เมน ของ จอร์ซบีเซ่

Sehr (Ger. เซ)
มาก ,อย่างยิ่ง

Semibreve (เซมิเบรเว)
หมายถึงโน้ตตัวกลม

Semiquaver (เซมิเควเว่อร์)
หมายถึง โน้ตเขบ็ตสองชั้น

Semicadence (เซมิเคเดนซ์)
ลูกจบกลางจุดพักบนคอร์ด ๆ หนึ่งที่ไม่ใช่คอร์ด I ซึ่งมีลักษณะไม่สมบูรณ์และสร้างแรงผลักดันให้เกิดทำนองเพลงเพิ่มเติม

Semitone (เซมิโทน)
ครึ่งเสียง

Semplice (It. เซมปลิเซ)
เรียบง่าย

Semplicemente (It. เซมปลิเซเมนเต)
สบาย ๆ ธรรมดา

Sempre (It. เซมเปร)
เป็นอยู่เสมอ ,ตลอดเวลา

Sentimento (It. เซนติเมนโต)
มีความรู้สึกไวอ่อนไหว

Senza (It. เซนซา)
ไม่มี, ปราศจาก

Septet (เซพเต็ต)
ลักษณะของวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคหรือการขับร้องที่ประกอบด้วยผู้เล่น 7 คน

Sequence (ซีเควนซ์)
ลักษณะการซ้ำทำนอง (บางครั้งก็มีการแปรผันไปบ้าง) โดยเริ่มที่ระดับเสียงต่างกันในแต่ละครั้งที่ซ้ำ

Serenade (เซเรเนด)
1. เพลงที่มีลักษณะไปทางด้านความรัก หรือเพลงยามเย็น
2. บทประพันธ์ที่แต่งไว้สำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครื่องสายและเครื่องลมไม้

Seventh (เซเว่นท์)
ขั้นคู่เสียงในลักษณะคู่เจ็ดจากบันไดเสียงแบบไดอาโทนิก

Seventh chord (เซเว่นท์คอร์ด)
คอร์ดที่ประกอบด้วยตัวพื้นต้นขั้นคู่สามขั้นคู่ห้าและขั้นคู่เจ็ด

Sforzata (It. สฟอร์ซาตา)
เน้น

Sforzato (It. สฟอร์ซาโต) Sforzando (It. สฟอร์ซานโด)
การเน้นหรือการย้ำอย่างทันทีทันใด ใช้กำลังคำย่อคือ sfs, sf.

Sfumato (สฟูเมโต)
เบาลงและค่อย ๆ จางหายไป

Sharp (ชาร์ป) #
เครื่องหมายแปลงเสียงเมื่อวางไว้ข้างหน้าโน้ตจะทำให้เสียงสูงขึ้นครึ่งเสียงในลักษณะโครมาติก


 

Siciliano (It. ซิชิเลียยาโน) Sicilienne (Fr. ซิซิเลี่ยน)
เพลงเต้นรำแบบซิซิเลียนในศตวรรษที่ 17 และ 18 ในจังหวะ u หรือ ตามปกติเพลงซิซิเลียน จะประกอบด้วยแนวทำนองแบบเพลงร้องและเสียงคลอประกอบที่ต่อเนื่องกันไปของคอร์ดแบบโบรคเค่น มักปรากฏในขบวนช้าของบทเพลงสวีทชุดแรก ๆ ของโคเรลลี และเจ .เอส .บาค

Sight-reading or sight-singing (ไซค์รีดดิ้ง หรือ ไซค์ซิงกิ้ง)
การเล่นดนตรีหรือร้องเพลงจากโน้ต โดยที่ไม่เคยเล่นหรือร้องเพลงนั้นมาก่อน

Signature (ซิกเนเจอร์)
สัญลักษณ์ที่บอกคีย์

Simile (It. ซิมิเล)
แบบเดียวกันดำเนินต่อไปด้วยวิธีเดียวกันโดยมีแบบตัวโน้ตและวลีเพลงเป็นหลักในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คำย่อคือ sim.

Simple time (ซิมเปิลไทม์)
อัตราจังหวะธรรมดา อัตราจังหวะที่มีจังหวะพื้นฐานในใจแบ่งย่อยออกเป็น 2 จังหวะ เช่น h, o, k

Sin 'al fine (It. ซินัล ฟิเน)
จนจบ

Segno (It. เซ็นโย)
เครื่องหมายที่ใช้สำหรับย้อยเมื่อถึงเครื่องหมายนี้อีกครั้ง

Singend (Ger. ซินเก็นด์)
ในลีลาการร้อง

Sixteenth note (ซิกทีนโน้ต)
โน้ตเขบ็ตสองชั้นกำหนดให้โน้ตชนิดนี้จำนวนสิบหกตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำหนึ่งตัว

Sixteenth rest (ซิกทีนเรสท์)
โน้ตตัวหยุดที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสองชั้นหนึ่งตัว

Sixth (ซิกท์)
ขั้นคู่เสียงชนิดคู่หกที่มาจากการเรียงแบบไดอาโทนิก


 

 

Sixty-fourth note (ซิกตี้ ฟอร์ท โน้ต)
โน้ตเขบ็ตสี่ชั้นกำหนดให้โน้ตชนิดนี้หกสิบสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสองชั้นหนึ่งตัว

Sixty-fourth rest (ซิกตี้ ฟอร์ทเรสท์)
โน้ตตัวหยุดที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสี่ชั้นหนึ่งตัว

Skip (สคิป)
ขั้นคู่เสียงในรูปทำนองที่กว้างเกินกว่าคู่สอง

Slancio (It. สลานซิโอ)
ด้วยความกล้าหาญ

Slentando (It. สเลนทานโด)
ช้าลงตามลำดับ

Slur (สเลอ)
เส้นโค้ง มีความหมายว่า
1.โน้ตต่าง ๆ เหล่านี้ให้เล่นแบบเลกาโต้ (เสียงเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน)
2.วลีเพลงหรือส่วนของวลีเพลง
3.เมื่อโน้ตตัวหนึ่งมีการใช้เครื่องหมายสเลอเชื่อมจากโน้ตข้างหน้าอีกตัวหนึ่งโดยโน้ตทั้งคู่นี้ต่างก็มีระดับเสียงเดียวกันแล้ว เราเรียกว่า ทาย (tie) เครื่องหมายทายนี้ กำหนดให้โน้ตตัวที่สองไม่ต้องเล่น เพียงแต่ให้ยืดความยาวเสียงไปจนครบค่าโน้ตตัวนี้
4.หากเครื่องหมายสเลอบันทึกไว้เหนือหรือใต้จุดแบบสตั๊กคาโตแล้วโน้ตแต่ละตัว ให้เล่นให้สั้นลงเล็กน้อย

Smorzando (It. สมอร์ซานโด)
จางหายไป คำย่อ คือ smorz.

Snare drum (สแนร์ดรัม)
กลองสแนร์ หรือกลองแต็กที่ใช้ตีเดี่ยวหรือใช้ตีประกอบกับกลองชุด

Solfeggio (It. ซอลเฟตโจ)
การฝึกหัดขับร้องโดยออกเสียงตามพยางค์ โด - เร - มี ฯลฯ กำหนดให้ โน้ต C เป็น โดอยู่กับที่

Solo (โซโล)
คนเดียว, เดี่ยว ,บทเพลงประเภทเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีหรือนักร้องคนเดียว ในบทเพลงประเภทคอนแชร์โต ส่วนที่แสดงเดี่ยวกำหนดไว้สำหรับโซโลอิสท์ (นักแสดงเดี่ยว) แต่ส่วน ทูทิ (Tuti) เป็นการแสดงทั้งวง


Sonata (It. โซนาตา)
บทประพันธ์เพลงซึ่งตามปกติแล้วมี 3 หรือ 4 กระบวน (ท่อน) แต่ละกระบวนจบลงด้วยตัวเองได้ และกระบวนต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในเรื่องของความเร็ว คีย์ และอารมณ์ ซี.พี.อี. บาค (ค.ศ. 1714-1788) เป็นผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นบิดาแห่งโซนาตาสมัยใหม่ บทประพันธ์โซนาตาของเขามีสามกระบวน คือ เร็ว -ช้า - เร็ว โดยทั่วไปแล้วมีการกำหนดกระบวนต่าง ๆ ในแบบฉบับโซนาตาคลาสสิก ดังนี้
     1. กระบวนที่หนึ่ง ปกติแล้วจะอยู่ในโซนาตาฟอร์ม ในจังหวะรวดเร็ว
     2. กระบวนที่สอง ปกติจะอยู่ในลีลาช้า และมีอารมณ์ลึกซึ้งกว่า
     3. กระบวนที่สาม เป็นแบบมินนูเอ็ต (minuet) หรือ สแกรโซ (Scherzo)
     4. กระบวนที่สี่ อยู่ในคีตลักษณ์แบบรอนโดหรือโซนาตาในจังหวะรวดเร็ว คำว่าโซนาตา มาจากคำภาษาอิตาเลียนว่า suonare หมายถึงทำให้เกิดเสียง เมื่อแรกใช้คำนี้ โซนาตา จะหมายถึงบทเพลงสำหรับ เครื่องดนตรีซึ่งตรงข้ามกับคำว่า แคนตาตา ที่หมายถึงบทเพลงสำหรับการขับร้อง sonata allegro form (โซนาตา อัลเลโกร ฟอร์ม)

Sonata form (โซนาตา ฟอร์ม)
เป็นคีตลักษณ์สำหรับขบวนหนึ่งในบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้โซนาตาซิมโฟนีหรืองานประเภทแชมเบอร์ ใช้กันทั่วไปเป็นส่วนมากในกระบวนที่หนึ่ง จึงมักเรียกว่าแบบกระบวนที่หนึ่ง (First movement form) แบบแผนของ โซนาตาฟอร์ม มี 3 ส่วน คือ
     1.ส่วนเสนอความคิดทางดนตรี (exposition) กำหนดทำนองหลักเป็นแกนสำคัญ เพื่อสร้างเป็นลักษณะ เฉพาะของขบวนได้อย่างชัดเจน ในแบบคลาสสิกเคิ้ลโซนาตา มักจะมีสองทำนองหลักหรือสองกลุ่ม ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยบริดจ์แพสเซจ และจบลงด้วยคีย์ของบทเพลงนั้น ส่วนเสนอความคิดทางดนตรีนี้มักจะมีการซ้ำ
     2. ส่วนพัฒนาความคิดทางดนตรี (Development) หรือเรียกว่า ฟรีฟานตาเซียคือส่วนที่มีการพัฒนาทำนองหลักของเอ็กซ์โปซิชั่นไปอย่างกว้างขวางและอิสระเสรี
     3. ส่วนสรุป (Recapitulation) กำหนดให้ทำนองหลักกลับมาอีกครั้งหนึ่งแต่ต้องอยู่คีย์เดิมของเพลงนั้นและเพิ่มเติมโคดาเข้าไปในส่วนนี้ได้
     4. โคดา (Coda) คือการลงจบที่มีส่วนขยายความด้วย Sonator (โซนาเตอร์) ผู้เล่น

Sordini (It. ซอดินี่)
เท้าเหยียบเพื่อลดเสียงในเปียโน senza sordini หมายถึงเหยียบที่คันบังคับเท้าที่ทำให้เสียงยาว con sordini หมายถึง ให้ปลดคันบังคับเท้าที่ทำให้เสียงยาว

Sordino (It. ซอดิโน)
แผ่นไม้หรือโลหะบาง ๆ (ที่เรียกว่ามิวท์) ใช้เสียบลงบนบริดจ์ (สะพานเสียง) ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เพื่อทำให้เสียงเบาลงหรือลดเสียงลง

Sostenuto (It. ซอสเตนูโต)
หน่วงไว้, ยึดไว้


Sospirando (It. ซอสปิรานโด)
รูปแบบง่าย ๆ สบาย ๆ

Sostenuto (It. ซอสเทนูโต)
ทำเสียงยาวต่อเนื่องโดยให้ลากเสียงยาวเต็มค่าของตัวโน้ตซอสเทนูโตบางครั้งหมายถึงให้ช้าลงเล็กน้อย ,รั้งไว้

Sotto (It. ซอทโต)
ข้างใต้ ต่ำกว่า sotto voce หมายถึง ทำเสียงกระซิบกระซาบ ค่อนข้างเงียบ ทำเสียงเบา ๆ


Sotto voce (It. ซ็อตโต โวเช)
เสียงเบาและต่ำ

Space (สเปส)
ช่องว่างระหว่างเส้นสองเส้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งมีทั้งหมดสี่ช่อง

Spater (Gr. สเปเตอร์)
ต่อมาหลังจากนั้น

Spirito (It. สปิริโต)
วิญญาณ

Spiritoso (It. สปิริโตโซ)
มีชีวิตชีวา

Spinet (สปิเน็ต)
     1. เครื่องดนตรีฮาร์ปซิคอร์ดในรูปของกล่องขนาดเล็ก ๆ ที่มีด้านสี่ถึงห้าด้าน เหมือนเครื่องดนตรีชื่อ เวอร์จินัล สปิเน็ตมีสายเสียงหนึ่งสายต่อโน้ตหนึ่งตัว
     2. เป็นชื่อเรียกเปียโนรุ่นอัพไรท์ขนาดเล็กสมัยใหม่

Spirito, spiritoso (It. สปิริโตโซ)
อย่างมีชีวิตชีวาด้วยชีวิตจิตใจ

Staccato (It. สตักคาโต)
ให้สั้นอย่างมากคำย่อคือ stacc.

Staff (สตัฟ), Stave (สต๊าฟ)
บรรทัดที่ประกอบด้วยเส้นตรงจำนวนห้าเส้นช่องสี่ช่องสำหรับการบันทึกโน้ตบอกระดับเสียง


Stark (Ger. ซตาร์ค)
แข็งแกร่ง, ดัง

Stem (สเต็ม)
เส้นตรงตามแนวตั้งสำหรับเชื่อมหัวโน้ตดนตรี

Step (สเต็ป)
การเคลื่อนที่ของทำนองเพลง จากตัวโน้ตตัวหนึ่งไปสู่โน้ตใกล้เคียงอีกตัวหนึ่งในระยะห่างขั้นคู่สองตามลักษณะขั้นแบบไดอาโทนิก มีสามชนิดดังนี้
     1.หนึ่งเสียงเต็ม
     2.ครึ่งเสียง
     3.ขั้นอ็อกเมนเต็ด

Streng (Gr. สเตร็ง)
เคร่งครัด

Strepitoso (It. สเทรปิโตโซ)
ดังหนวกหู

Stretto Stringendo(It. สเตรทโต สตริน-เยน-โด)
เร่งเร็วขึ้น

Stretto (It. สเตรทโต)
     1. ถ้าเกิดขึ้นในบทประพันธ์ประเภทฟิวก์หมายถึงส่วนที่เป็นทำนองถาม (ซับเจ็คท์) และทำนองตอบ (อ้านเซ่อร์) ไล่ติดตามใกล้จนมีลักษณะเกยกันอยู่
     2. ถ้าเกิดขึ้นในบทประพันธ์ที่ไม่ใช่ฟิวก์หมายถึงส่วนสรุปจบของเพลงซึ่งเร่งจังหวะขึ้นเรื่อย ๆ

Stringendo (It. สตริงเจนโด)
การทำให้เร็วขึ้นคำย่อคือ string.

String quartet (สตริง ควอเต็ต)
เป็นแชมเบอร์มิวสิกสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย 4 ชิ้นประกอบด้วยไวโอลิน 2 คัน วิโอลา1 คัน และเชลโล 1 คัน

String quintet (สตริงควินเต็ต)
เป็นแชมเบอร์มิวสิกสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายห้าชิ้น

Sturmisch (Ger. ซตูร์มิช)
รุนแรงอย่างกับพายุ

Subdominant (ซับดอมิแนนท์)
ชื่อเรียกประจำขั้นที่สี่ของบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์คอร์ดซับดอมิแนนท์คือคอร์ดที่สร้างบนเสียงประจำขั้นนี้

Subito (It. ซูบิโต)
ทันทีทันใด p subito หมายถึงเบาอย่างทันทีทันใด

Subject (ซับเจ็คท์)
ทำนองหรือความคิดในทางดนตรี แนวความคิดหลักที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ดนตรี

Sub-mediant (ซับมีเดียน)
โน้ตลำดับขั้นที่ 6 ของบันไดเสียง เช่น A เป็นโน้ตลำดับขั้นที่ 6 ของบันไดเสียง C.

Suite (Fr. สวีท)
     1. ดนตรีประเภทบรรเลง ประกอบขึ้นเป็นหลายกระบวน แต่ละกระบวนก็มี คีตลักษณ์ของเพลงเต้นรำที่ต่างกันไป ปกติแล้วจะเชื่อมกระบวนทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยแต่งให้อยู่ในคีย์เดียวกัน คีตลักษณ์ของเพลงเต้นรำแบบสวีทนี้ก็มี allamande, bourree, courante, gavotte, gigue, minuet และ saraband ซึ่งจะปรากฏ อยู่ในบทบรรเลงประเภทสวีทแบบคลาสสิก
     2. กลุ่มบทบรรเลงสั้น ๆ ที่อยู่ในคีตลักษณ์หรือแบบแผนการประพันธ์อะไรก็ได้ส่วนมากมักนำมาจากอุปรากรบัลเล่ต์ ฯลฯ

Symphony (ซิมโฟนี)
บทบรรเลงสำหรับวงดนตรีมีโครงสร้างเหมือนบทบรรเลงประเภทโซนาตาโดยทั่วไปประกอบด้วยสี่กระบวนบทบรรเลงประเภทซิมโฟนีและโซนาตาต่างก็พัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 18 บทบรรเลง ซิมโฟนีได้รับอิทธิพลจากบทบรรเลงโหมโรงอุปรากรแบบอิตาเลียนซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ เร็ว - ช้า - เร็ว แต่ละส่วนนี้ได้พัฒนาไปจนแยกออกได้หลายกระบวนและเมื่อเพิ่มส่วนที่เป็นมินนูเอ็ทเข้าไปแล้วก็จะทำให้บทบรรเลงซิมโฟนีมีสี่กระบวน คือ เร็ว -ช้า - เร็ว - เร็ว

Syncopation (ซิงโคเพชั่น)
การเน้นในส่วนจังหวะรองซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี คือ
     1. ใช้เครื่องหมายโยงเสียงข้ามไปที่ส่วนจังหวะหลัก
     2. ใช้เครื่องหมายเน้นที่จังหวะรองหรือระหว่างจังหวะ
     3. ใช้ตัวหยุด ณ ที่ตัวหยุดจังหวะหลัก
     4. ใช้โน้ตที่มีค่ายาวกว่าที่จังหวะรอง

 

 

 

T

 

 

Tablature (แท็บเลเจอร์)
การบันทึกโน้ตประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับกีตาร์สำหรับผู้ที่ไม่สามารถอ่านโน้ตได้โดยการบันทึกเป็นตัวเลขลงบนเส้น 6 เส้นที่ใช้แทนสายกีตาร์สามารถบอกระดับเสียงและตำแหน่งที่จะเล่นโน้ตตัวนั้น ๆ ได้

Tacet (La. ทาเซ็ท)
เงียบ

Takt (Gr. ทัคท์)
จังหวะ

Takthalten (Gr. ทัคท์คัลเท็น)
อัตราความเร็วเคร่งครัด

Tambourine (แทมโบรีน)
เครื่องดนตรีประเภทดีกระทบประกอบด้วยขอบไม้รูปวงกลม 2 ขอบโดยมีแผ่นโลหะคู่ที่เรียกว่ากระดิ่งสอดอยู่ระหว่างกลาง และปิดทับขอบไม้ด้านหนึ่งด้วยหน้ากลองสามารถตีที่หน้ากลองแต่ละครั้งด้วยข้อนิ้วมือและทำเสียงรัวได้โดยการสั่นที่ตัวแทมโบรินหรือใช้นิ้วหัวแม่มือถูไปรอบริมขอบหน้ากลองก็จะทำให้กระดิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้เคลื่อนไหว

Tam-tam (แทม แทม)
หมายถึง ฆ้อง ประกอบด้วยแผ่นโลหะมีรูปร่างคล้ายชาม และให้ตีด้วยไม้หัวแข็ง

Tango (แทงโก)
การเต้นรำที่มีแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวนิโกรอาฟริกันซึ่งต่อมาได้รับความนิยมในหมู่อเมริกันเชื้อชาติสเปน โดยใช้จังหวะและการเคลื่อนไหวที่มีแบบฉบับการเต้นของสเปน

Tanto (It. ตานโต)
มาก non tanto แปลว่า ไม่มากนัก

Tarantella (It. ตารานเตลลา), tarantelle (Fr. ตารานเตล)
การเต้นรำแบบอิตาเลียนในจังหวะ u มีการเคลื่อนไหวอย่างคงที่รวดเร็ว เชื่อกันว่า ตารานเตลลา ตั้งชื่อตามชื่อแมงมุมมีพิษชนิดหนึ่ง คือ ตารานตูลาซึ่งเมื่อกัดผู้คนเข้าไปแล้วก็ให้รักษาด้วยการเต้นชนิดนี้อย่างไรก็ตามทั้งชื่อตารานเตลลาและตารานตูลาอาจได้ชื่อตามเมือง ตารานโต้ ซึ่งเป็นชื่อเมืองท่าเรือทางตอนใต้ประเทศอิตาล

Tempo (เทมโป)
อัตราความเร็ว เครื่องหมายที่แสดงอัตราความเร็วนั้นได้แก่
     1. ประเภทช้า : largo, grave, lento, adagio
     2. ประเภทเร็วปานกลาง :andante, modorato
     3. ประเภทเร็ว : allegro, vivace, presto

Tempo comodo (เทมโป กอมโมโด)
ความเร็วสบาย ๆ

Tempo giusto (เทมโป จุสโต)
ความเร็วคงที่ตลอด

Tempo ordinario (เทมโป ออร์ดินาริโอ)
ความเร็วสบาย ๆ ความเร็วธรรมดา

Tempo primo (It. เทมโป ปรีโม)
กลับไปที่อัตราความเร็วแรกเริ่ม

Tenerezza (It. เทเนเรสซา)
ความนุ่มนวล

Tenir (Fr. เดอนีร์)
หน่วงไว้, ยึดใว้

Tenor (เทเนอร์)
เสียงระดับสูงสุดของนักร้องชาย

Tenor clef (เทเนอร์เคลฟ)
หมายถึง ซีเคลฟบนเส้นที่สี่ของบรรทัดห้าเส้น โน้ตดนตรีของแตรทรอมโบน และซอเชลโลจะบันทึกลงในเคลฟชนิดนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เส้นน้อยจำนวนมาก

Tenuto (It. เตนูโต)
ยืดออกไป ทำเสียงให้ยาวยืดออกไปจนเตมค่าตัวโน้ตนัน คำย่อคือ ten.

Ternary (เทอนารี)
สามส่วนคีตลักษณ์แบบเทอนารี่นี้ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สามปกติแล้วจะเหมือนกันสำหรับส่วนกลางจะมีทำนองที่แตกต่างออกไป และมักจะอยู่ในคีย์ต่างกันด้วย


 

Ternary form (เทอนารี ฟอร์ม)
รูปแบบของเพลงที่มีโครงสร้างแบบ A B A

Tetrachord (เททราคอร์ด)
เสียงทั้งสี่ตามตำแหน่งในบันไดเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นคู่สี่เพอเฟกต์บันไดเสียงเมเจอร์ประกอบด้วยเททาคอร์ดคล้ายกันสองชุด (ห่างกันเต็มเสียงสองคู่และครึ่งเสียงหนึ่งคู่)

Texture (เทซเจอร์)
ภาพรวม ผลของการเชื่อมโยงกันขององค์ประกอบทางดนตรีต่าง ๆ เช่น เสียงประสาน, ทำนอง, การเรียบเรียงเสียงสำหรับวงดนตรี

Theme (ทีม)
ความคิดทางดนตรีที่สมบูรณ์มักจะใช้เป็นเนื้อหาหลักในการทำแวริเอชั่น

Third (เทิ้ด)
ขั้นคู่ที่ได้จากระยะห่างเสียงแบบไดอาโทนิก หรือขั้นคู่ที่ 3

Thirty-second note (เทอตี้เซ็คกันโน้ต)
คือโน้ตเขบ็ตสามชั้นโน้ตชนิดนี้สามสิบสองตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและโน้ตสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นหนึ่งตัว

Thirty-second rest (เทอตี้เซ็คกัน เรสท์)
การเงียบเสียงที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสามชั้นหนึ่งตัว

Tie (ทาย)
เครื่องหมายโยงเสียงระหว่างโน้ตใกล้เคียงสองตัวซึ่งมีระดับเสียงเดียวกัน โน้ตตัวที่สอง ไม่ออกเสียงอีกต่างหาก แต่จะปฏิบัติต่อจนหมดค่าของตัวโน้ต

Timesignature (ไทม์ซิกเนเจอร์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะซึ่งแสดงถึงจำนวนจังหวะในแต่ละห้อง และชนิดของโน้ตที่นำมานับเป็นหนึ่งจังหวะ ตัวอย่างเช่น k สามจังหวะในหนึ่งห้อง และนำโน้ตตัวดำมานับ เป็นหนึ่งจังหวะ

Timpani (It. ทิมปานี)
กลองทิมปานี มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum มีลักษณะคล้ายกะทะ

Toccata (It. ต้อกคาตา)
บทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด มีทำนองที่รวดเร็ว ,กล้าเสี่ยง ,อิสระ และในแบบฉบับของ เคาน์เทอพอยท์


 

Tonic (โทนิก)
โน้ตตัวแรกของบันไดเสียงเรียกชื่อว่าคอร์ดโทนิก ก็คือทรัยแอ็ดที่สร้างบนโน้ตตัวนี้

Toujours (Fr. ตูชูร์)
เสมอ

Tranquillo (It. ทรานคิวโล)
สงบเงียบอยู่ในภวังค์แห่งความสงบ

Transcription (ทรานสคริปชั่น)
การเรียบเรียงบทประพันธ์เพลงสำหรับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เสียงร้องหรือเครื่องดนตรีของบทประพันธ์ดั้งเดิมบทนั้น

Transition (ทรานซิชั่น)
      1. สำหรับคีตลักษณ์ทางดนตรีแล้วหมายถึงช่วงของดนตรีที่เปลี่ยนจากส่วนหลักไปสู่ส่วนอื่น ๆ ในบทเพลง (ตัวอย่างเช่นจากส่วนเอ๊กซโปซิชั่นไปสู่ดิเวลลอปเม้นต์ ในโซนาตา)
     2. การเปลี่ยนคีย์แบบสั้น ๆ หรือแบบผ่านทาง

Transpose (ทรานสโพส)
แสดงหรือเขียนบทเพลงให้อยู่คีย์อื่น ๆ ต่างจากที่เขียนไว้ให้แล้ว

Transposing instrument (ทรานสโพสซิง อินสตรูเม้นต์)
เครื่องดนตรีประเภทที่ให้ระดับเสียงแตกต่างจากที่เขียนแสดงด้วยโน้ตกล่าวคือโน้ตที่ขียนไว้ให้เครื่องดนตรีเหล่านี้เล่นจะไม่เขียนตรงตามเสียงที่เครื่องดนตรีนั้นทำได้จริง ตัวอย่างเช่น ปี่คลาริเน็ตที่สร้างอยู่ในบีแฟล็ตถ้าหากผู้เล่นใช้การปิดเปิดนิ้วสำหรับโน้ตตัว D จากเครื่องดนตรีก็จะได้เสียงจริงคือเสียง C ที่มีระดับเสียงต่ำกว่า

Traps (แทรปส์)
กลองชุด มีกลอง ฉาบ ฯลฯ ใชในวงดนตรีสำหรับการเต้นรำ

Traurig (Ger. เทราริก)
เศร้า

Treble (เทร็บเบิล)
แนวการขับร้องหรือการบรรเลงในบทประพันธ์ที่มีระดับเสียงสูงสุด เรียกอีกชื่อว่า โซปราโน

Treble clef (เทร็บเบิล เคลฟ)
กุญแจซอล มีสัญลักษณ์จีเคลฟบนเส้น ที่สองของบรรทัดห้าเส้น เทร็บเบิลเคลฟในรูปลักษณ์ปัจจุบันนี้ พัฒนามาจากอักษรภาษาอังกฤษ ตัวจี

Tres (Fr. แตร)
มาก ,อย่างยิ่ง

Triad (ทรัยแอด)
คอร์ดซึ่งประกอบด้วยเสียง 3 เสียง มีชื่อเรียกตามลำดับว่ารู้ท คู่ 3rd และคู่ 5th

Triangle (ทรัยแองเกิล)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยท่อนเหล็กขนาดเล็กดัดโค้งเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปลายข้างหนึ่งเปิด ถือด้วยเชือกและตีด้วยท่อนเหล็กเล็กๆ ทรัยแองเกิ้ลมีเสียงแหลมบาดหูใช้นาน ๆ ครั้ง

Trill (ทริล)
การประดับประดาทางทำนองดนตรีที่ทำด้วยการสลับเปลี่ยนที่อย่างรวดเร็ว ระหว่าง ตัวโน้ตหลักและโน้ตใกล้เคียงที่อยู่เหนือกว่าโน้ตตัวนี้ ในยุคสมัยของบาคและแฮนเดล ทริลมักจะเริ่มที่โน้ต ใกล้เคียง แต่สำหรับยุคต่อมา เช่น ยุคโชแปงและลิสซท์ ส่วนใหญ่แล้วการเล่นทริลจะเริ่มที่โน้ตตัวหลัก

Trio (ทรีโอ)
     1. ดนตรีสำหรับผู้เล่นสามคน
     2. ตอนกลางของบทบรรเลงประเภทมินนูเอ็ต มาร์ช หรือสแกรโซ

Triplet (ทริพเพล็ท)
คือกลุ่มตัวโน้ตสามตัวที่เล่นโดยใช้จำนวนเวลาเท่ากับโน้ตสองตัว ที่เป็นโน้ตประเภทเดียวกัน

Triple time (ทริบเปิ้ลไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทนับสาม ให้ปฏิบัติ สามจังหวะในแต่ละห้อง m,k,j ฯลฯ

Triste (It. ตริสเต, Fr. ตริสต์ )
เศร้าโศก เสียใจ

Tristo (It. ตริสโต)
เศร้า

Trombone (ทรอมโบน)
                 แตรทรอมโบนเป็นเครี่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีท่อแตรแบบกลวง ยาวเท่ากัน ส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยมีลักษณะสำคัญคือใช้ชักเลื่อนท่อแตรให้ยาวหรือสั้นด้วยมือได้ทำให้เล่นได้ครบทุกเสียงตลอดช่วงเสียงของแตรซึ่งผิดกับแตรอื่น ๆ ที่เปลี่ยนความยาวท่อโดยใช้ลูกสูบ (อย่างไรก็ตามบางครั้งเราอาจจะใช้ทรอมโบนชนิดที่มีลูกสูบได้แตรทรอมโบนพัฒนามาจากแตรทรัมเป็ต ขนาดใหญ่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 แตรทรอมโบนที่ใช้ในปัจจุบันนี้ มี 2 แบบ คือ เทเนอร์และเบส แตรทรอมโบนไม่ใช่แตรประเภทต้องย้ายคีย์ ถึงแม้ว่าจะใช้เทเนอร์เคลฟ เนื่องจากในช่วงเสียงสูงต้อง หลีกเลี่ยงการใช้เส้นน้อยก็ตาม

Trop (Fr. โทร)
มาก, มากเกินไป

Troppo (It. ตรอบโป)
มากเกิน Allegro ma non troppo หมายถึงเร็วแต่เร็วไม่มากนัก

Trumpet (ทรัมเป็ต)
แตรทรัมเป็ตเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีท่อแตรแบบกลวงยาวเท่ากันส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยมีลูกสูบสามอันเสียงทรัมเป็ตมีลักษณะสดใสและเสียดแหลมบีแฟล็ตทรัมเป็ตเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องย้ายคีย์

Tuning (จูนนิ่ง)
การตั้งเสียง, เทียบเสียงเครื่องดนตรี

Tuba (ทูบา)
แตรทูบาเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีระดับเสียงต่ำที่สุด
     1.ท่อแตรของทูบามีลักษณะบานออก ส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วย มีลูกสูบ 3 - 4 ท่อ และเป็นเครื่อง ดนตรีที่สืบทอดมาจากเครื่องดนตรีประเภทเป่าเสียงเบสแบบโบราณชนิดหนึ่งที่ชื่อ เชอร์เพนท์ (serpent) ทูบาสร้างในแบบอีแฟล็ตและดับเบิ้ลบีแฟล็ต
     2.แตรซูซาโฟน (เคยมีผู้เรียกว่าเบสสะพาย) คือทูบาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา (ตั้งชื่อเป็นเกียรติยศแก่ จอห์น ฟิลิปส์ ซูซา นักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน) โดยสวมพาดบ่าข้างซ้ายได้ ในขณะที่เล่น ลำโพงแตร ซึ่งมีขนาดใหญ่สามารถถอดเก็บไว้ในกล่องเพื่อการนำพาไปไหนมาไหนได้

TubuIar bells (ทูบิวลาร์ เบลล์)
เครื่องดนตรีประเภทตีประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงแน่นอนลักษณะเป็นท่อสั้น - ยาว ตามระดับเสียงมักใช้ตีประกอบกับวงโยธวาทิตขณะนั่งบรรเลง

Tune (ทูน)
เพลง ,ทำนองเพลง

Tutti (It. ตูตติ)
ทั้งหมด
     1.ส่วนในบทประพันธ์เพลงที่เครื่องดนตรีทุกชิ้นหรือนักร้องทุกคนต้องแสดง
     2.ส่วนในบทบรรเลงเพลงประเภทคอนแชร์โต้ที่ทุกคนในวงดนตรีต้องบรรเลง ยกเว้นผู้บรรเลงเดี่ยว

 

 

 

U

 

Uber (Ger. อูแบร์)
สนุกสนานร่าเริง

Ubermutig (Ger. อูแบร์มูติก)
สนุกสนาน ,ร่าเริง

Ukulele (ยูเคเลลี)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของชาวฮาวายจัดอยู่ในตระกูลกีตาร์มีสายเสียง 4 สายพร้อมขีดแบ่งเสียงหรือเฟรทบนแผงวางนิ้ว

Un, una, uno (It. อุน, อูนา, อูโน)
หนึ่ง

Un peu (Fr. เอิง เปอ)
เล็กน้อย

Una corda (It. อูนาคอร์ดา)
              คือเพดดัลทำเสียงเบา อยู่ตรงส่วนเท้าเหยียบข้างซ้ายของเปียโนมีหน้าที่บังคับกลไกของค้อนเพื่อทำให้เกิดเสียงเบา ในสมัยแรก ๆ เพดดัลจะบังคับกลไกทั้งหมดเคลื่อนที่ทำให้ค้อนตีสายเสียงเพียงเส้นเดียวเท่านั้น แทนที่จะตีสองหรือสามเส้น (una corda หมายถึงเส้นเดียว) หลักสำคัญในการเปลี่ยนกลไกการทำงานนี้ได้นำมาใช้ในแกรนด์เปียโนสมัยใหม่ คำย่อ คือ U.C . Tre corde หมายถึง เส้นสามเส้น หรือไม่ต้องใช้เพดดัลทำเสียงเบานี้

Unison (ยูนิซัน)
เล่นเสียงเดียวกันโดยใช้นักดนตรีหรือนักร้องจำนวนหลายคน คำว่า all' unisono หมายถึงให้เล่นแนวเพลงเดียวกัน แต่สูงขึ้นหนึ่งคู่แปด

Ungefahr (Gr. อุนเกอเฟร์)
โดยประมาณ

Unruhig (Ger. อุนรูฮิก)
เร่าร้อน, ตื่นเต้น

Up beat (อัพบีท)
จังหวะที่ไม่เน้นเสียงแรกเริ่มของวลีหรือบทเพลงมักจะอยู่ที่จังหวะสุดท้ายของห้อง ในการอำนวยเพลงอัพบีทจะบ่งชี้ด้วยการเคลื่อนที่ของมือ

V

 

Va (It. วา)
ดำเนินต่อไป

Valse (Fr. วอลท์ซ)
เพลงวอลท์ซ

Value (แวลู)
ความยาวของเสียง หรือค่าเวลาของตัวโน้ต

Valve (วาว)
                ลูกสูบที่ใช้ในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองเมื่อกดลูกสูบนี้ลงไปแล้วจะสามารถผันลมให้เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในท่อที่ต่อยาวขึ้นทำให้การสั่นสะเทือนของเสียงมีความยาวขึ้นนั่นคือเสียงจะต่ำลงอีกแตรส่วนใหญ่จะต้องติดตั้งลูกสูบนี้จะมีสามอันโดยมาตรฐานทั่วไป
               แต่สำหรับแตรประเภทเสียงต่ำ เช่น บาริโทน ,ยูโฟเนียม และทูบาบางครั้งก็ใช้สี่อันในเครื่องดนตรีทองเหลืองส่วนใหญ่นั้น ลูกสูบที่หนึ่งจะทำให้เสียงต่ำลงหนึ่งเสียงเต็มลูกสูบที่สองจะทำให้เสียงต่ำลงครึ่งเสียงส่วนลูกสูบที่สามจะทำให้เสียงต่ำลงหนึ่งเสียงครึ่งเมื่อผสมผสานการเล่นลูกสูบเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้วก็จะทำให้ผู้บรรเลงปฏิบัติโน้ตโครมาติกภายในพิสัยของเสียงได้ตามต้องการ

Vamp (แวมป์)
1.ให้ด้นเพลงแนวคลอประสาน
2. การขึ้นดนตรีก่อนประมาณสองถึงสี่ห้อง หรือมากกว่านั้นเพื่อเป็นการเตรียมให้ นักดนตรีหรือนักร้องแสดงเดี่ยวได้ ขณะจะเริ่มเพลงหรือระหว่างขึ้นบทใหม่ก็ได้

Variation (แวริเอชั่น)
คีตลักษณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่กำหนดให้ทำนองเพลงหลักคงไว้เป็นหัวใจสำคัญแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงผกผันไป ด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงคีย์บ้างเปลี่ยนจำนวนจังหวะในการนับบ้างเปลี่ยนจังหวะบ้างเปลี่ยนเสียงประสานบ้าง เปลี่ยนความเร็วของจังหวะบ้างหรือเปลี่ยนอารมณ์เพลงบ้าง

Veloce (It. วิโลเช)
เร็วอย่างคล่องแคล่วว่องไว

Vif (Fr. วิฟ)
สนุกสนาน, ร่าเริง

Vigoroso (It. วิโกโรโซ)
มีพลังงานพละกำลังกล้า

Viol (It. วิโอล)
              เครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสายประเภทหนึ่งเล่นด้วยคันชักได้รับความนิยมในระหว่าง ศตวรรษที่ 16และ 17 ปกติแล้วจะมีสายเสียงเส้นบาง ๆ หกเส้น ส่วนหลังเครื่องดนตรีแบนราบมีขีดแบ่งเส้นและช่วงไหล่ของเครื่องดนตรีเอียงลาด ลักษณะเสียงที่ได้จะเบาละเอียดอ่อนเครื่องดนตรีที่สำคัญในตระกูลนี้ได้แก่เทร็บเบิ้ลวิโอล ,เทเนอร์วิโอล และ เบสวิโอล

Viola (It. วิโอลา)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในตระกูลไวโอลินคืออัลโตไวโอลิน,วิโอลามีขนาดใหญ่กว่าไวโอลินเล็กน้อยและเทียบสายต่ำลงมาคู่ห้าเป็นเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ในวงดนตรีประเภทออร์เคสตร้าและวงแชมเบอร์มิวสิกมีลักษณะเหมือนเสียงนาสิกโน้ตดนตรีสำหรับซอวิโอลานี้เขียนอยู่ในอัลโตเคลฟ

Violin (It. ไวโอลิน)
หมายถึงซอไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเล่นด้วยคันชักไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีในวงดนตรีออร์เคสตราที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้เพราะมีเสียงที่ให้ความรู้สึกมากมาย

Violoncello (It. วิโอลอนเชลโล)
              เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่เล่นด้วยคันชักเรียกย่อว่าซอเชลโลมีรูปร่างเหมือนไวโอลินแต่มีขนาดความยาวเป็นสองเท่าของไวโอลินโดยประมาณและมีความหนากว่าเมื่อวัดจากส่วนหน้าไปยังหลังเครื่องเล่นด้วยวิธีการนั่งหนีบระหว่างเข่าโดยมีหมุดยึดไว้กับพื้นเสียงจะต่ำกว่าไวโอลินมาก และมีลักษณะทุ้มลึก ๆ คันชักซอเชลโลมีลักษณะคล้ายกับของไวโอลินแต่มีขนาดสั้นกว่าโน้ตดนตรีของเชลโลเขียนบันทึกลงในเบสเคลฟแต่บางครั้งก็เขียนในเทเนอร์และเทร็บเบิ้ลเคลฟเมื่อต้องขึ้นเสียงสูง ๆ ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงการเขียนเส้นน้อยนั่นเอง

Virginal (เวอร์จินัล)
                  เครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในศตวรรษที่ 16 และ 17 เป็นฮาร์ปซิคอร์ดขนาดเล็กสายเสียงเครื่องดนตรีทั้งหลายตั้งเป็นมุมฉากกับคีย์สำหรับกดและใช้เกี่ยวด้วยคันเบ็ดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า virgulas ซึ่งชื่อนี้อาจจะเป็นที่มาของชื่อเครื่องดนตรีก็ได้มีสายเสียงหนึ่งเส้นสำหรับโน้ตแต่ละตัวเสียงที่ได้เหมือนเสียงของคลาวิคอร์ดคือบางและอ่อนหวานเวอร์จินัลรุ่นแรก เล็กจนสามารถวางเล่นบนหน้าตักได้ต่อมาก็ได้มีการต่อขาเครื่องดนตรีนี้ปกติมีช่วงเสียงสี่คู่แปดอาจเขียนชื่อเป็น

virginal หรือ virginals
หมายถึงเวอร์จินัลหนึ่งเครื่องนั่นเอง

Virtuoso (เวอร์จุโอโซ)
ผู้แสดงที่มีความชำนาญทางเทคนิคมาก

Vivace (It. วิวาเช)
1. อย่างมีชีวิตชีวาสนุกสนาน allegro vivace หมายถึงมีชีวิตชีวามากกว่าหรือเร็วกว่าอัลเลโกร
2. วิวาเชอย่างเดียวหมายถึงมีความเร็วมากกว่าอัลเลโกรแต่ไม่เร็วเท่าเปรสโต

Vivo (It. วิโว)
อย่างมีชีวิตชีวาสนุกสนานร่าเริง

Vla
อักษรย่อของคำว่า viola.

Vocal music (โวคัล มิวสิก)
ดนตรีสำหรับการขับร้องเดี่ยวหรือหมู่

Voce (It. โวเช), Voice (วอยซ์)
1.เสียงดนตรีที่เกิดจากสายเสียงในกล่องเสียง (โวคัลคอร์ด)
2.แนวการปฏิบัติในบทประพันธ์เพลงสำหรับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรี เช่น เสียงร้องแนวเบส ในบทประพันธ์เพลงประเภทขับร้องประสานเสียง (คอรัส)

Voice leading(วอยซ์ ลีดดิง)
การนำเสียงส่วนสำคัญที่ครอบคลุมการเคลื่อนที่ของแนวเสียงแต่ละแนวในดนตรีที่มีแนวทำนองหลายแนว

Voix (Fr. วัว)
เสียง

Volante (It. โวลันเต)
ด้วยความละเอียดอ่อน ,รวดเร็ว

Volento (It. โวลลันโต)
อย่างรวดเร็วดั่งบินไดั

Volta (It. โวลตา)
เวลา

 

 

 

 

 

 

 

W

 

Waltz (วอลท์ซ)
เพลงวอลท์ซเป็นเพลงเต้นรำดั้งเดิมของชาวเยอรมันในจังหวะ k ได้รับความนิยมราวปี ค.ศ. 1800 จากนั้นก็เป็นเพลงเต้นรำมาตลอดสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของเพลงได้จากช้าถึงค่อนข้างเร็ว เพลงวอลท์ซพัฒนามาจากเพลงเลนด์เลอร์ (เพลงเต้นรำชาวนาออสเตรีย) เป็นเพลงเต้นรำแรก ๆ เพลงหนี่งที่คู่เต้นจะโอบกอดกันเต้นไป

Waltzer (Ger.วอลท์เซอร์)
เพลงวอลท์ซ

Wehmutig (Ger. เวมูติก)
เศร้า

Wenig (Ger. เวนิก)
เล็กน้อย

Weniger (Ger. เวนิเกอร์)
น้อยลง

Whole note (โฮล โน้ต)
โน้ตตัวกลมซี่งมีค่าเป็นสี่เท่าของโน้ตตัวดำ

Whole rest (โฮล เรสท์)
     1. จังหวะที่เงียบเสียงนานเท่ากับโน้ตตัวกลม
     2. การหยุดเต็มห้องสำหรับเครื่องหมายกำหนดจังหวะทั้งหลาย ยกเว้นเครื่องหมายกำหนดจังหวะ n

Whole step (โฮล สเต็ป)
ขั้น 1 เสียง ขั้นคู่ที่ประกอบด้วยขั้นครึ่งเสียง 2 ขั้น

Whole tone scale (โฮลโทนสเกล)
บันไดเสียงโฮลโทน บันไดเสียงที่สร้างขึ้นจากตัวโน้ต 6 ตัว และตัวโน้ตแต่ละตัวห่างกันในระยะขั้น 1 เสียง

Wie (Ger. วี)
เหมือนกับ


 

 

 

Wind instrument (วินด์ อินสตรูเม้นต์)
เป็นเครี่องดนตรีที่มีเสียงดนตรีเกิดจากการปิดกั้นแนวการสั่นสะเทือนของลมเครื่องดนตรีชนิดนี้มี 2ประเภทใหญ่ ๆ คือ
     1. ตระกูลเครื่องลมทองเหลือง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลืองหรือโลหะอื่น ๆ ได้แก่บาริโทน, บิวเกิ้ล ,คอร์เน็ต, เฟรนช์ฮอร์น ,เมลโลโฟน ,ทรอมโบน ,ทรัมเป็ต และทูบา
     2. ตระกูลเครื่องลมไม้เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ (ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะทำด้วยโลหะก็ตามได้แก่ บาสซูน, คลาริเน็ต, อิงลิชฮอร์น ,ฟลูท, โอโบ, พิคโคโลทั้งฟลูทและพิคโคโลปัจจุบันนิยมทำด้วยโลหะแต่ก็ยังคงจัดไว้เป็นพวกเครื่องลมไม้ ส่วนออร์แกนและแอ็คคอเดียน อาจพิจารณาจัดไว้เป็น พวกเครื่องลมไม้ก็ได้

Wutend (Ger. วูเต็น)
โกรธ

 

X

 

Xylophone (ไซโลโฟน)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบที่เราเรียกว่า ระนาดฝรั่ง ประกอบด้วยท่อนรางไม้ต่าง ๆ ที่จัดเรียงไว้แบบคีย์บอร์ดของเปียโน มีท่อกลวง (ตัวทำกังวาน) ติดไว้ข้างล่างของรางแต่ละรางเพื่อให้เล่นตีด้วยไม้ที่มีหัวทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ไซโลโฟนมีช่วงเสียงประมาณสี่คู่แปด

 

 

Y

 

Yodel (โยเดล)
แบบการร้องเพลงชนิดหนึ่งที่ไม่มีคำร้อง (ร้องแบบโห่) นิยมกันในหมู่ชาวเขาในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ลักษณะของเพลงคือเปลี่ยนเสียงจากเสียงต่ำในช่วงอกไปยังเสียงฟอลเซทโต(faIsetto :เสียงที่ร้องดัดให้สูงขึ้นกว่าเสียงร้องตามปกติ) อย่างรวดเร็วและสลับไปมา

 

 

 

 

 

Z

 


Zart (Ger. ซาร์ท)
นุ่มนวล

Zeitmass (Ger. ซายท์มาส)
อัตราความเร็ว จังหวะ

Ziemlich (Ger. ซีมลิคช์)
อย่างปานกลาง

Zither (ซิ-เทอร์)
                เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซิเทอร์ประกอบด้วยกล่องไม้ที่ทำเป็นห้องเสียงให้สายเสียงจำนวน27 ถึง 45 เส้นขึงพาดไว้และมีสายเสียงจำนวนสี่ถึงห้าเส้นขึงพาดบนแผงวางนิ้วซึ่งจะเล่นด้วยการดีด โดยใช้แหวนโลหะ(เพลคทรัม) ที่สวมอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือข้างขวาสายเสียงอื่น ก็ถูกดีดด้วยนิ้วมือที่เหลือโดยจัดให้เป็นแนวคลอประกอบเครื่องดนตรีซิเทอร์ได้รับความนิยมมากในแถบบาวาเรียและประเทศออสเตรีย

Zogern (Gr. โซแจร์นด์)
ช้าลงทีละน้อย

Zuruckhaltend (Ger. ซูรุคคัลเทน)
ช้าลง

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 17,479 Today: 5 PageView/Month: 61

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...